logo-2014

  • หน้าบ้าน
    • เกี่ยวกับเรา
    • FB@food4change
    • แผนผังเว็บไซต์
  • กิจกรรมของเรา
    • ข่าวกิจกรรม
    • เก็บเรื่องมาเล่า
    • เก็บข่าวมาฝาก
    • เก็บภาพมาฝาก
  • สื่อรณรงค์
    • รายการเชฟน้อยกินเปลี่ยนโลก
    • น้ำพริกเปลี่ยนโลก
    • นิทรรศการ/แผ่นพับ
    • ทำกินเองแบบสบายกระเป๋า โดย เชฟกัสซี่ อังก์
    • เทศกาลกินเปลี่ยนโลกครั้งที่ 3
  • ข่าว/บทความ
    • กิจกรรมน่าไปร่วม
    • ข่าวคราวอาหารการกิน
      • ข่าวดี
      • ข่าวร้าย
    • บทความ
    • Global food movement
    • City farm
    • ถนนคนเดินช้า
    • สาระบันเทิง
      • หนังสือน่าอ่าน
      • เพลงน่าฟัง
      • หนังน่าดู
  • คอลัมนิสต์
    • ของกินบ้าน ๆ
      • ครัวใบโหนด คาบสมุทรสทิงพระ
      • ครัวกินดีมีสุข พัทลุง
      • ผักดองของอร่อย
      • อาหารพื้นเมืองรสมือแม่(แม่สอด)
      • เมนูจากอ่าวพังงา
      • แนวกินอีสานมั่นยืน อุบลฯ
      • บ้านอื่น บ้านใกล้ บ้านไกล
    • Cook It Yourself
      • แม่สาย
      • แก้วตา ลักปลาแดก
      • นิมล
      • น้าโรจน์
      • คุณเชฟรับเชิญ
    • ปลูกความหลากหลายให้งอกงาม
    • คนช่างเลือก
  • หาของกิน
    • กินเปลี่ยนโลก SHOP
    • ตลาดเกษตรกร
    • ตลาดสด
    • ร้านอาหาร
    • ร้านค้า
    • Community-Supported Agriculture (CSA)
  • ติดต่อเรา

logo-2014

30 May2010

ตอนที่ 24 ความรู้ก้นครัวจากถั่วพื้นบ้าน

Written by บุณย์ตา วนานนท์.

Twitter
เมนูถั่วจากแม่สอดแผนงานฐานทรัพยากรอาหารของมูลนิธิชีววิถี ได้คณะศึกษาวิจัยกลุ่มหนึ่งมาช่วยศึกษารวบรวมความรู้ที่สั่งสมและแทรกซึมอยู่ในก้นครัวและแปลงไร่นาของชาวบ้าน ซึ่งคราวนี้โฟกัสประเด็นไว้ที่ถั่วพื้นบ้าน ที่มีกินกันอยู่ในครัวเรือนและไม่แน่ใจว่าในอนาคตอันไม่ใกล้ไม่ไกลถั่วพื้นบ้านเหล่านี้จะมีให้เรากินกันอยู่หรือไม่

ถั่ว หรืออาหารชนิดหนึ่งใดก็ตาม หากขาดหายไปจากสำรับที่เคยกิน  ต่อการสูญหายไปนั้นมากมาย ...

ในแวดวงเกษตรกรรมยั่งยืน ถั่วเป็นโรงงานปุ๋ยอินทรีย์ที่ยืนต้นผลิตความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน ให้เศษซากอินทรียวัตถุที่ช่วยปรับโครงสร้างของดินให้ดีขึ้น  ถั่วบางชนิดตรึงไนโตรเจนและคาร์บอน (ซึ่งเป็นก๊าซที่ก่อปัญหาภาวะโลกร้อนโดยตรง)  ที่ปลูกง่าย โตไว ต้นทุนต่ำ และเหมาะกับระบบการปลูกแบบหมุนเวียนเพื่อตัดตอนการแพร่ระบาดของโรคแมลง  แถมชาวบ้านยังเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ปลูกไว้ใช้กันเองได้

คณะศึกษาถั่วพื้นบ้านชุดนี้ เป็นกลุ่มเพื่อนๆ ที่มีความหลากหลายในอาชีพการงานและความสนใจ 9 คน ทำความเข้าใจร่วมกันเรื่องวัตถุประสงค์ในการศึกษาถั่วบ้านๆ ครั้งนี้ว่า ยังพอจะมีถั่วพื้นบ้านอะไรหลงเหลือไว้ในวิถีการกินการปลูกในชุมชน 9 แห่ง ทั่วประเทศไทยที่มีความแตกต่างกันไปอย่างหลากหลายตามความสนใจของผู้ศึกษา  เพื่อให้รู้ที่มาของการมีอยู่ และสาเหตุของการสูญหายไป เพื่อสืบค้นต่อยอดวิธีที่จะเรียนรู้ทำความเข้าใจ ปรับแปลงกระบวนท่าและลีลาของการรณรงค์บนฐานวิจัยที่จะนำไปใช้เพื่อให้ถั่วบ้านๆ เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในวงกว้างมากยิ่งขึ้น  ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของโลกสมัยใหม่ เพื่อให้มีถั่วพื้นบ้านที่หลากหลายได้เลือกกินได้มากกว่าจะคล้ายเป็นภาวะจำยอมที่คุ้นเคยให้เลือกกินถั่วอยู่แค่ 3 – 4 ชนิด  แถมถั่วเศรษฐกิจที่มีการเมืองหนุนหลังอย่าง ถั่วเหลืองก็ถูกปรับแปลงไปเป็นถั่วจีเอ็มโออีกนั่น

กำพลจรรยาจิต

นักวิจัยอยู่ในต่างจังหวัด ในสภาพนิเวศน์วัฒนธรรมที่แตกต่างกัน 9 แห่ง ไล่ลงมาจากภาคเหนือ อีสาน ตะวันตก จรดใต้  ตั้งแต่ เชียงใหม่ ตาก นครสวรรค์ อุทัยธานี  มหาสารคาม สุรินทร์ ยโสธร นครพนม ชุมพร   สุราษฎร์ธานี  สงขลา   ปัตตานี และสตูล  โดยมีหัวหน้าวิจัยทำหน้าที่ทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้องกับเรื่องถั่วๆ ทั้งด้าน และสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ  ส่วนข้อมูลที่คณะทำงานต้องช่วยกันหา มีตั้งแต่ ตำรับเมนูถั่วของแต่ละที่  วิธีกิน วิธีปลูก คุณค่าโภชนาการแบบสมัยใหม่และความรู้องค์รวมของหมอพื้นบ้าน  การมีอยู่ การหายไป และการเดินทางของถั่วจากแหล่งที่ปลูกและเติบโตมาสู่มือคนกิน  และเศรษฐศาสตร์ - การเมืองเรื่องถั่วๆ

ฉูปู้ หัวหน้าคณะศึกษาถั่วพี่ยาย

จากผลการศึกษาระยะสั้น ซึ่งเริ่มตั้งแต่ มกราคม 53  จนถึงวันนำเสนอผลการศึกษาวิจัยเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 53  นั้น พอให้เห็นภาพหวังอันทะเยอทะยานเกินตัวนี้ของคณะศึกษา ลางๆ   ว่ายังพอมี ถั่วพื้นบ้านมากกว่า 27 สายพันธุ์ ที่ปลูกและกินกันอยู่  บางถั่วพื้นบ้านยังมีกินมีปลูกและเป็นพืชเศรษฐกิจ อย่างถั่วเหลือง(อินทรีย์) ถั่วแดง ถั่วเขียว ถั่วพุ่ม ถั่วพู  และยังมีถั่วอีกหลายชนิดที่แปลกทั้งชื่อ รูปร่างหน้าตา และวิธีนำไปกิน เช่น  ถั่วแปบ(หลากสี)  ถั่วอ้น  ถั่วบะบอย ถั่วปี๋ ถั่วเงาะ ถั่วไข่จิ้งหรีด และ อีกสารพัดถั่ว

ถั่วของพี่ยายถั่วเน่าถั่วปากอ้า

ในวันเสนองานศึกษาทั้งคณะศึกษาและผู้ที่มาร่วมฟัง และแลกเปลี่ยน ต่างรู้สึกว่าเรายังมีหวังกับบรรดาถั่วๆ ที่แอบซ่อนตัวอยู่ในครัวและหัวไร่ปลายนา  เหมือนเมื่อครั้งหนึ่งที่เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกเคยนั่งประชุมปรึกษาและออกค้นคว้ารวบรวมข้าวพื้นบ้านเมื่อสัก 10 กว่าปีก่อน  ที่ในตอนเริ่มแรก เราไปพบไปเจอข้าวพื้นบ้านแปลกๆ ที่ยังมีกินมีปลูก และเมื่อทอดเวลาทำงานเพื่อค้นหา แลกเปลี่ยนพันธุ์ข้าว และเก็บข้อมูลจากการปลูกทดลองในระบบเครือข่าย ปัจจุบันเราพบว่ามีข้าวพื้นบ้านยังอยู่เพิ่มขึ้นจากตอนแรกที่หาเจอแค่ 60 กว่าสายพันธุ์เป็น กว่า 130 สายพันธุ์ ซึ่งตอนนี้ก็ยังมีเครือข่ายชาวนาที่ช่วยกันปลูกและศึกษากระจายกันอยู่ทั่วประเทศไทย

ถั่วแปบบ่แซโตวบ้าบิ่นอิสลาม

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลทั้งหลายที่ได้กรุณาสละเวลา บอกเล่า แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และประสบการณ์ให้กับคณะทำงาน ซึ่งรวมไปถึงมื้ออาหารจานถั่วในครัวของแต่ละท่านในการเก็บข้อมูลภาคสนาม   ขอบคุณที่พวกเขายังเก็บรักษาความรู้และพันธุกรรม  วิถีการกินการใช้เอาไว้  ซึ่งทีมกินเปลี่ยนโลกจะติดตามข้อมูลผลการศึกษานี้มาเล่ามาแลกเปลี่ยนกันอีกที ... โปรดติดตามค่ะ

แปจ่อแปจ่อเขียวแปจ่อหล่อ

 

 

KA Facebook Fanbox 1.1

ThaiPan

  • แถลงการณ์ กรณีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และคณะกรรมการวัตถุอันตรายไม่แบนพาราควอต
  • ทบทวนมติ การแบนพาราควอตให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน
  • ฟังชัดๆ ผู้ตรวจการแผ่นดินซึ่งมีอำนาจตามรัฐธรรมนูญ มีมติการใช้พาราควอต คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซต ภายในหนึ่งปี

มูลนิธิชีววิถี(BioThai)

  • ร่างพรบ.เกษตรกรรมยั่งยืน
  • แถลงการณ์ เครือข่ายสนับสนุนการแบนสารพิษร้ายแรง หลัง รมต.เกษตรรับข้อเรียกร้อง
  • แถลงการณ์เครือข่ายสนับสนุนการแบนสารพิษที่มีอันตรายร้ายแรง 369 องค์กร

why food4change

เรื่องล่าสุด

  • บันทึกวงพูดคุย ว่าด้วยผักยืนต้นฯ
  • ผักยืนต้น กินผักอายุยืนโลกอายุยาว
  • น้ำยาไก่บ้านฟักทอง สูตรดั้งเดิมบ้านน้อยนาดี
  • ทำไมคุณคิดว่า ผักไฮโดรโปนิกส์ "ปลอดสารฯ"
  • สาคูแท้ๆ แห่งควนขนุน

เรื่องนิยม

  • วิจัยเสี่ยงมะเร็ง!ผัก‘ไฮโดรโปนิก’เหตุใส่ปุ๋ยหนักมือ
  • ปลูกผักสวนครัว ทำเองได้ไม่ยาก
  • ปลาร้าสับ(ผัด)
  • ถั่วมะแฮะ พืชที่มีค่ามากกว่าบำรุงดิน
  • ถั่ว เขียว ถั่วแดง ดับพิษร้อน บำรุงกำลัง

web logo 60x49xlogo foodresouce
สนับสนุนโดย..แผนงานขับเคลื่อนความมั่นคงทางอาหารเพื่อสังคม

Powered by Colorpack Creations Co.,LTD.
  • หน้าบ้าน
    • เกี่ยวกับเรา
    • FB@food4change
    • แผนผังเว็บไซต์
  • กิจกรรมของเรา
    • ข่าวกิจกรรม
    • เก็บเรื่องมาเล่า
    • เก็บข่าวมาฝาก
    • เก็บภาพมาฝาก
  • สื่อรณรงค์
    • รายการเชฟน้อยกินเปลี่ยนโลก
    • น้ำพริกเปลี่ยนโลก
    • นิทรรศการ/แผ่นพับ
    • ทำกินเองแบบสบายกระเป๋า โดย เชฟกัสซี่ อังก์
    • เทศกาลกินเปลี่ยนโลกครั้งที่ 3
  • ข่าว/บทความ
    • กิจกรรมน่าไปร่วม
    • ข่าวคราวอาหารการกิน
      • ข่าวดี
      • ข่าวร้าย
    • บทความ
    • Global food movement
    • City farm
    • ถนนคนเดินช้า
    • สาระบันเทิง
      • หนังสือน่าอ่าน
      • เพลงน่าฟัง
      • หนังน่าดู
  • คอลัมนิสต์
    • ของกินบ้าน ๆ
      • ครัวใบโหนด คาบสมุทรสทิงพระ
      • ครัวกินดีมีสุข พัทลุง
      • ผักดองของอร่อย
      • อาหารพื้นเมืองรสมือแม่(แม่สอด)
      • เมนูจากอ่าวพังงา
      • แนวกินอีสานมั่นยืน อุบลฯ
      • บ้านอื่น บ้านใกล้ บ้านไกล
    • Cook It Yourself
      • แม่สาย
      • แก้วตา ลักปลาแดก
      • นิมล
      • น้าโรจน์
      • คุณเชฟรับเชิญ
    • ปลูกความหลากหลายให้งอกงาม
    • คนช่างเลือก
  • หาของกิน
    • กินเปลี่ยนโลก SHOP
    • ตลาดเกษตรกร
    • ตลาดสด
    • ร้านอาหาร
    • ร้านค้า
    • Community-Supported Agriculture (CSA)
  • ติดต่อเรา