logo-2014

  • หน้าบ้าน
    • เกี่ยวกับเรา
    • FB@food4change
    • แผนผังเว็บไซต์
  • กิจกรรมของเรา
    • ข่าวกิจกรรม
    • เก็บเรื่องมาเล่า
    • เก็บข่าวมาฝาก
    • เก็บภาพมาฝาก
  • สื่อรณรงค์
    • รายการเชฟน้อยกินเปลี่ยนโลก
    • น้ำพริกเปลี่ยนโลก
    • นิทรรศการ/แผ่นพับ
    • ทำกินเองแบบสบายกระเป๋า โดย เชฟกัสซี่ อังก์
    • เทศกาลกินเปลี่ยนโลกครั้งที่ 3
  • ข่าว/บทความ
    • กิจกรรมน่าไปร่วม
    • ข่าวคราวอาหารการกิน
      • ข่าวดี
      • ข่าวร้าย
    • บทความ
    • Global food movement
    • City farm
    • ถนนคนเดินช้า
    • สาระบันเทิง
      • หนังสือน่าอ่าน
      • เพลงน่าฟัง
      • หนังน่าดู
  • คอลัมนิสต์
    • ของกินบ้าน ๆ
      • ครัวใบโหนด คาบสมุทรสทิงพระ
      • ครัวกินดีมีสุข พัทลุง
      • ผักดองของอร่อย
      • อาหารพื้นเมืองรสมือแม่(แม่สอด)
      • เมนูจากอ่าวพังงา
      • แนวกินอีสานมั่นยืน อุบลฯ
      • บ้านอื่น บ้านใกล้ บ้านไกล
    • Cook It Yourself
      • แม่สาย
      • แก้วตา ลักปลาแดก
      • นิมล
      • น้าโรจน์
      • คุณเชฟรับเชิญ
    • ปลูกความหลากหลายให้งอกงาม
    • คนช่างเลือก
  • หาของกิน
    • Growing Diversity Shop&cafe by Food4change
    • ตลาดเขียว ตลาดเกษตรกร
  • ติดต่อเรา

logo-2014

03 Dec2010

วิจัยเสี่ยงมะเร็ง!ผัก‘ไฮโดรโปนิก’เหตุใส่ปุ๋ยหนักมือ

Written by ไทยโพสต์.

Twitter

hydroมก.เผยงานวิจัยพบการสะสมไนเตรตในผักไฮโดรโปนิก โดยเฉพาะผักคะน้ามีค่าสูง เกินมาตรฐาน เตือนผู้บริโภคระวังภัยเงียบที่แฝงในผักอาจก่อโรคมะเร็งโดยไม่รู้ตัว แนะผู้ปลูกผักอย่าใส่ปุ๋ยมากเกินความจำเป็น

น.ส.พัชราภรณ์ ภู่ไพบูลย์ นักวิจัยจากฝ่ายเครื่องมือและวิจัยทางวิทยาศาสตร์ สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดเผยว่า ตนและคณะวิจัยประกอบด้วย น.ส.วาสนา บัวงาม และนางศิริวัลย์ สร้อยกล่อม ร่วมกันศึกษาการสะสมไนเตรตในพืชผักที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เนื่องจากมี น้อยคนที่จะทราบว่าในพืชผักยังมีธาตุอาหารชนิดหนึ่งที่จำเป็นต่อการเจริญ เติบโต คือ ไนโตรเจน ซึ่งพืชจะนำไนโตรเจนไปใช้ในรูปของไนเตรต และหากมีไนโตรเจนมาก เกินความต้องการของพืชอาจทำให้เกิดการสะสมไนเตรตในดินและพืชมากขึ้น เมื่อรับประทานเข้าไปอาจจะทำให้ไนเตรตไปรวมตัวกับสารเหนี่ยวนำที่ทำให้เกิด มะเร็ง ดังนั้นผู้บริโภคผักที่มีปริมาณไนเตรตสะสมอยู่สูงจึงมีแนวโน้มที่จะเป็นโรค มะเร็ง เช่น มะเร็งลำไส้ นับเป็นภัยเงียบต่อสุขภาพผู้บริโภคโดยตรง

น.ส.พัชราภรณ์ระบุว่า ผลการศึกษาการสะสมไนเตรตในผักคะน้า ผักกาดหอม และผักบุ้ง ที่จำหน่ายทั้งในตลาดสดและศูนย์การค้า โดยแบ่งผักออกเป็นประเภทผักไฮโดรโปนิก ผักอินทรีย์ ผักปลอดสารพิษ และผักที่ปลูกโดยใช้ปุ๋ยเคมี นำมาวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์พบว่า ผักที่ปลูกในน้ำยาไฮโดรโปนิกมีแนวโน้มการสะสมไนเตรตสูงสุด เพราะวิธีปลูกผักแบบไฮโดรโปนิกมีการเติมน้ำยาให้พืชเจริญเติบโตมากเกินความ จำเป็นหรือมากเกินความต้องการตามธรรมชาติของผัก โดยผักคะน้าไฮโดรโปนิกมีค่า เฉลี่ยของไนเตรตสูงที่สุด 4,529 มิลลิกรัมต่อ 1 กิโลกรัมน้ำหนักสด

รองลงมาคือ ผักบุ้ง มีปริมาณไนเตรต 3,978 มิลลิกรัม และผักกาดหอม มีปริมาณไนเตรต 1,729 มิลลิกรัม โดยค่ามาตรฐานที่สหภาพยุโรปกำหนดไว้ในผักรับประทานใบให้มีค่าไนเตรตไม่เกิน 2,500 มิลลิกรัมต่อ 1 กิโลกรัม จะเห็นว่าผักคะน้าและผักบุ้งไฮโดรโปนิกมีปริมาณไนเตรตเกินมาตรฐาน ส่วนในประเทศไทยยังไม่มีข้อกำหนดมาตรฐานค่าไนเตรตในพืชผัก ดังนั้นจึงขอให้เกษตรกรและผู้ปลูกผักไฮโดรโปนิกควรลดปริมาณการใส่น้ำยาหรือ เติมน้ำเปล่าให้มากขึ้น  ส่วนการปลูกผักแบบอื่นๆ ก็ไม่ควรใส่ปุ๋ยมากเกินไป

"ผลการศึกษาดังกล่าว เราได้นำเสนอบนเวทีการวิชาการประจำปีของมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ และยังได้ศึกษาเพิ่มเติมเพื่อหาแนวทางในการลดไนเตรตในพืชผักก่อนการบริโภค โดยนำผักคะน้าและผักบุ้งไปต้มน้ำเดือดหรือทำการนึ่งเป็นเวลา 10 นาที ซึ่งสามารถช่วยลดค่าไนเตรตในผักบุ้งและผักคะน้าลดลง 47%" น.ส.พัชราภรณ์เผย

นอกจากนี้ การแช่ผักคะน้าและผักบุ้งในน้ำ 1 วัน การแช่ในด่างทับทิม และการแช่ในน้ำเกลือ ก็มีแนวโน้มที่จะช่วยทำให้ค่าไนเตรต-ไนโตรเจนลดลงด้วยเช่นกัน จึงขอแนะนำให้ผู้บริโภคควรทำความสะอาดพืชผัก ผลไม้ทุกชนิด ทั้งประเภทพืชที่ปลูกแบบปลอดสารเคมี ปลูกแบบชีวอินทรีย์ ปลูกแบบไม่ใช้ดิน ก่อนนำมารับประทาน ก็จะเป็นการลดความเสี่ยงของภัยเงียบจากพิษสะสมที่เกิดจากไนเตรตในพืชได้

ที่มา: ไทยโพสต์  2 ธันวาคม 2553

KA Facebook Fanbox 1.1

ThaiPan

  • ผลการสุ่มตรวจผักประจำปี 2563 ของไทยแพน ตอกย้ำว่าผักไฮโดรโปนิกส์ไม่ได้ปลอดภัยกว่า
  • ข่าวร้ายปลายปี 2563 ไทยแพนพบผักผลไม้ 58.7% พบสารพิษตกค้างเกินมาตรฐาน
  • ไทยแพน..ร้องสอดเพื่อค้านซินเจนทาฟ้องเลิกพาราควอต

มูลนิธิชีววิถี(BioThai)

  • เก็บพันธุ์พืชไปปลูกต่อคืออิสรภาพของเกตรกรรายย่อย
  • จากข้าว/มัน/ไก่ สู่..สวรรค์ของผลไม้เมืองร้อน
  • เปิดโปง UPOV ปกปิดภาวะพึ่งพาในอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ของเวียดนาม

why food4change

เรื่องล่าสุด

  • ปลูกผักยืนต้น ดักฝุ่นPM2.5
  • ตลาดสด ตลาดนัด ความสำคัญต่อปากท้องของคนไทย
  • ปักหมุดตลาดเขียว ตลาดที่ไว้ใจใกล้บ้าน(กรุงเทพฯ - ปริมณฑล)
  • 5 เรื่องน่ากลุ้มใจในผลตรวจผัก-ผลไม้ ปี62 ของไทยแพน
  • ซีอิ๊วใบหม่อน เครื่องปรุงปลอดภัย ทำได้เอง

เรื่องนิยม

  • วิจัยเสี่ยงมะเร็ง!ผัก‘ไฮโดรโปนิก’เหตุใส่ปุ๋ยหนักมือ
  • ปลูกผักสวนครัว ทำเองได้ไม่ยาก
  • ปลาร้าสับ(ผัด)
  • ทำเส้นขนมจีน 3 สูตรเด็ด แบบมืออาชีพ
  • ถั่วมะแฮะ พืชที่มีค่ามากกว่าบำรุงดิน

web logo 60x49xlogo foodresouce
สนับสนุนโดย..แผนงานขับเคลื่อนความมั่นคงทางอาหารเพื่อสังคม

Powered by Colorpack Creations Co.,LTD.
  • หน้าบ้าน
    • เกี่ยวกับเรา
    • FB@food4change
    • แผนผังเว็บไซต์
  • กิจกรรมของเรา
    • ข่าวกิจกรรม
    • เก็บเรื่องมาเล่า
    • เก็บข่าวมาฝาก
    • เก็บภาพมาฝาก
  • สื่อรณรงค์
    • รายการเชฟน้อยกินเปลี่ยนโลก
    • น้ำพริกเปลี่ยนโลก
    • นิทรรศการ/แผ่นพับ
    • ทำกินเองแบบสบายกระเป๋า โดย เชฟกัสซี่ อังก์
    • เทศกาลกินเปลี่ยนโลกครั้งที่ 3
  • ข่าว/บทความ
    • กิจกรรมน่าไปร่วม
    • ข่าวคราวอาหารการกิน
      • ข่าวดี
      • ข่าวร้าย
    • บทความ
    • Global food movement
    • City farm
    • ถนนคนเดินช้า
    • สาระบันเทิง
      • หนังสือน่าอ่าน
      • เพลงน่าฟัง
      • หนังน่าดู
  • คอลัมนิสต์
    • ของกินบ้าน ๆ
      • ครัวใบโหนด คาบสมุทรสทิงพระ
      • ครัวกินดีมีสุข พัทลุง
      • ผักดองของอร่อย
      • อาหารพื้นเมืองรสมือแม่(แม่สอด)
      • เมนูจากอ่าวพังงา
      • แนวกินอีสานมั่นยืน อุบลฯ
      • บ้านอื่น บ้านใกล้ บ้านไกล
    • Cook It Yourself
      • แม่สาย
      • แก้วตา ลักปลาแดก
      • นิมล
      • น้าโรจน์
      • คุณเชฟรับเชิญ
    • ปลูกความหลากหลายให้งอกงาม
    • คนช่างเลือก
  • หาของกิน
    • Growing Diversity Shop&cafe by Food4change
    • ตลาดเขียว ตลาดเกษตรกร
  • ติดต่อเรา