ผ้าป่าเมล็ดพันธุ์พื้นบ้าน : การแบ่งปันความมั่งคั่งทางอาหารท่ามกลางวิกฤติ
แชร์
254
email-subscribers
domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init
action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /home4-ns1sg/food/domains/food4change.in.th/public_html/wp-includes/functions.php on line 6114jetpack-boost
domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init
action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /home4-ns1sg/food/domains/food4change.in.th/public_html/wp-includes/functions.php on line 6114แชร์
254
254
ในยามปกติพืชผักสวนครัวรอบบ้านนอกจากจะเป็นตู้กับข้าวชั้นดีแล้วยังช่วยลดรายจ่ายที่เกี่ยวกับอาหารของแต่ละครัวเรือนได้มากโข ตะไคร้ ข่า กระชาย มะกรูด พริก กะเพรา โหระพา แมงลัก เป็นเครื่องแกง แต่งรสอาหารที่มักจะปลูกไว้รอบบ้านแม้จะดูเล็กๆ น้อยๆ แต่ถ้าต้องหาซื้อทุกทีที่จะต้มจะแกงแม้จะ 5 บาท 10 บาท ก็เป็นเงินไม่น้อยทีเดียว เพราะอย่างนี้จึงมักปลูกติดสวนเอาไว้ นอกจากนั้นมักมีผักพื้นบ้านที่ปลูกง่ายไว้เก็บกิน อย่างมะเขือ ถั่วพู ถั่วผักยาว ดอกแค ฯลฯ ปลูกแซมตามสวนตามบ้านเสมอ หรือไม่ก็จำพวกเกิดเองตามริมรั้วรอบบ้านอย่าง ตำลึง ที่นิยมกินกันทั่วไปอีกทั้งไม่ต้องลงแรงดูแลรักษา
สังคมน้ำขัง (เมื่อก่อนน้ำเคยหลาก) อย่างพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่นครสวรรค์ลงมาจรดปากน้ำ แม้ทางปลายน้ำภาพที่เราคุ้นตาจะเปลี่ยนเป็นเมืองไปมากแล้ว แต่ความเป็นสังคมเกษตรไม่เคยหมดสิ้นไปจากเราอย่างสิ้นเชิง ชานเมืองรอบด้านของพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล ยังมีชุมชนเกษตรจำนวนมากยังคงทำการผลิตอยู่และเหล่านั้นคืออาหารที่เลี้ยงปากท้องคนกรุง น้ำท่วมยาวนานกว่า 3 เดือน นอกจากผลผลิตทางการเกษตรอันเป็นแหล่งรายได้สำคัญของชาวนา ชาวสวน จะเสียหายทั้งหมด การกินการอยู่โดยไม่มีทางหารายได้ให้เพิ่มพูนเป็นเวลาหลายเดือนจึงเป็นภาระหนักของทุกครอบครัว จนกระทั่งน้ำลดก็มีแต่เรื่องต้องจ่ายออกมากมาย ทั้งซ่อมแซมบ้านช่อง ลงทุนทำการผลิตรอบใหม่ที่ต้องซื้อทุกอย่าง ตั้งแต่เครื่องมือเครื่องใช้ที่เสียหายไปกับน้ำท่วม ปุ๋ย สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ไปจนถึงเมล็ดพันธุ์
เครือข่ายอิสรภาพทางพันธุกรรม คือคนกลุ่มเล็กๆ ที่เกาะเกี่ยวกันผ่านการปลูกผัก ปลูกข้าว มาเจอกันแลกเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์ที่ได้จากการปลูกและเก็บรักษารุ่นต่อรุ่น แลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับการปลูก กิน และคุณค่าที่ควรรักษาอาหารท้องถิ่นเอาไว้ ก่อนหน้านี้ตั้งใจจะมีคาราวานเล่าเรื่องเมล็ดพันธุ์พื้นบ้าน ไปตามชุมชนที่ทีเพื่อนมิตรทำงานอยู่ โดยอาศัยช่วงปลายปีหลังเก็บเกี่ยว แต่เกิดน้ำท่วมใหญ่จนหลายพื้นที่เสียหายหนัก จึงคิดหาทางแบ่งเบากันตามกำลัง ผ้าป่าเมล็ดพันธุ์พื้นบ้านจึงเริ่มต้นขึ้น
เริ่มแรกเพียงแต่หาทางช่วยกันลดภาระค่าใช้จ่ายเฉพาะหน้า คนในพื้นที่น้ำท่วมเองก็ต้องการอะไรที่ปลูกได้ไวเก็บกินได้เร็ว เพราะเบื่อมาม่า ปลากระป๋องกันเต็มกลืน ชนิดที่เด็กเห็นปลากระป๋องแล้วร้องไห้โห เมล็ดพันธุ์ผักพื้นบ้านจากพื้นที่อื่นๆ ที่ไม่ประสบกับน้ำท่วมรวมรวมกันมามากมาย ถั่วเขียวสำหรับเพาะงอก ผักกาดพื้นเมืองต่างๆ ผักบุ้ง ต้นกล้าพริก มะเขือ หน่อกล้วย หัวมันต่างๆ ข่า ตะไคร้ ผักประจำสวนประจำครัวมากมายนับได้มากกว่า 50 ชนิด ครั้งแรกที่จัดเป็นผ้าป่าเรานำเมล็ดพันธุ์ไปมอบให้พี่น้องเครือข่ายโรงเรียนชาวนานครสวรรค์ เมื่อวันที่ 12-13 ธันวาคม 54 ที่ผ่านมา ภาพที่เราเห็นคือพอน้ำลดเห็นดินตรงไหนก็ไม่รีรอปลูกอะไรได้ก็ลงมือทันที วันที่ 31 ธ.ค.54 – 1 ม.ค.55 ทางโครงการข้าวปลาอาหารอีสานมั่นยืน อุบลราชธานี ก็จักงานบุญกุ้มข้าวใหญ่ และได้นำเมล็ดพันธุ์ผักที่มีไปมอบให้พี่น้องในพื้นที่ลุ่มน้ำชี-มูลซึ่งก็ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมเช่นกัน ล่าสุดเมื่อวันที่ 5 ม.ค.55 เราก็ได้ระดมต้นกล้าผัก และเน้นไปที่ข่า ตะไค้ กระชาย ขมิ้นขาว และเมล็ดผักสวนครัวอีกจำนวนหนึ่ง เพื่อมอบให้พี่น้องแถบชุมชนคลองลัดมะยม คลองบางระมาด คลองบางเชือกหนัง ตลิ่งชัน และยังมีอีกหลายพื้นที่ที่เราพอเชื่อมร้อยระดมความเอื้อเฟื้อนี้ไปถึงได้ เช่น พื้นที่คลองโยง คลองมหาสวัสดิ์ และชุมชนเครือข่ายของโครงการสาวนผักคนเมืองในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล
ทำไมถึงย้ำแล้วซ้ำอีกว่าต้องเป็นเมล็ดพันธุ์พื้นบ้าน ไม่ว่าจะเป็นข้าว ผัก เราก็อยากจะให้เป็นพืชผักพื้นบ้าน ให้เป็นพันธุ์แท้ เก็บเมล็ดพันธุ์เองได้ เพราะค่าเมล็ดพันธุ์นั้นเรียกได้ว่าแพงลิบ มูลนิธิชีววิถี ศึกษาต้นทุนการผลิตของเกษตรกรเมื่อปี 52 พบว่าเป็นค่าเมล็ดพันธุ์ถึงร้อยละ 37 ของต้นทุนการผลิตทั้งหมด ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงที่สุดสูงกว่าค่าปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลงรวมกันซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 33 ของต้นทุนการผลิตทั้งหมดเท่านั้น ดังนั้นหากจะหาสาเหตุของการลืมตาอ้าปากไม่ได้เสียทีของเกษตรกร ก็น่าจะพอสรุปได้ว่าเพราะเราละเลยการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ ละทิ้งความรู้ในการคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์ จนสุดท้ายเรากำลังละทิ้งเมล็ดพันธุ์ไปโดยไม่ช่วยกันรักษาไว้เพื่อเป็นสมบัติของทุกคน แต่ปล่อยให้บรรษัทเกษตรครอบครองสิทธิบัติตลอดจนสิทธิในการพัฒนาและค้าเมล็ดพันธุ์
เมล็ดพันธุ์พื้นบ้านยังไม่สูญหายไปไหน ยังมีผู้คนเห็นความสำคัญเก็บรักษาความมั่งคั่งความหลากหลายของพืชผักไว้ เมื่อถึงยามวิกฤติดินฟ้าอากาศแปรปรวนหลายพื้นที่ผลผลิตเสียหายหนัก เป็นหนี้เป็นสิน ข้าวยากหมากแพง หากจะลงทุนเริ่มเพาะปลูกกันใหม่พันธุ์ข้าวปลูกในตลาดก็ราคาแพงระยับ มีแต่พี่น้องทางไกลเคยช่วยเหลือแบ่งปันกัน ขนข้าวขนผักมาสู่ ก็ล้วนแต่เป็นผักเป็นข้าวพื้นบ้านไม่มีราคาค่างวดในสังคมจีดีพีแต่ทำให้อิ่มท้องได้แน่นอน อาจจะได้รสหลากหลายกว่าด้วย
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเราก็ไม่สามารถมองข้ามชีวิตจริงอีกด้านไปได้ พี่น้องทำนายังต้องการพันธุ์ข้าวจำนวนมาก พี่น้องทำสวนต้องการพันธุ์ผักจำนวนมาก และหนทางเดียวที่มีตอนนี้คือการซื้อหาเมล็ดพันธุ์ที่ตอบสนองต่อตลาด ปลูกแล้วต้องได้ขาย เพราะฉะนั้นก้าวต่อไปเราจะสามารถรุกคืบอย่างไรเพื่อให้มีเมล็ดพันธุ์ดี ราคาไม่สมเหตุสมผล เก็บพันธุ์ได้ หรือมีเกษตรกร ชุมชนที่มีศักยภาพในการผลิตเมล็ดพันธุ์ เพื่อสร้างทางเลือก การแข่งขันทางการตลาด ลดการผูกขาดปัจจัยการผลิต เพื่ออิสรภาพที่แท้จริงของทั้งเมล็ดพันธุ์และชีวิตชาวนา ชาวสวน ชาวไร่รวมไปถึงคนกิน