เกี่ยวกับเรา
กินเปลี่ยนโลก เราชักชวนให้ทุกคนลองเปลี่ยนสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ในชีวิตประจำวัน เพื่อที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงที่มีพลัง
โดยการมองย้อนกลับไปยังที่มาของอาหาร ไม่ว่าจะเป็นการปลูกเลี้ยง ขนส่ง แปรรูป ขาย ตลอดจนสิ่งที่เกิดตามมา หลังจากเรากินเข้าไปแล้ว เช่น ปัญหาสุขภาพ ปัญหาสิ่งแวดล้อม ไปจนถึงความเหลื่อมล้ำ ความอยุติธรรมในสังคม
ถ้าไม่เปลี่ยนตอนนี้
ในอนาคตเราอาจไม่
เหลือทางเลือก
อีกต่อไป
บรรษัทเกษตรและอาหาร กับ ยุทธศาสตร์ควบคุมระบบอาหารโลก การร่วมทุนที่มีขนาดใหญ่มาก ดำเนินธุรกิจแบบครบวงจร ทำให้ต้นทุนต่ำ กำไรสูง ไม่ใส่ใจว่ากระบวนการผลิต สกัด จำหน่ายและกำจัดของเสียจะเป็นอย่างไร การปลูกพืช เชิงเดี่ยว และ GMOs ได้ทำลายความหลากหลายของพันธุ์พืชอาหาร เกษตรกรถูกบีบให้ปลูกพืชปรับปรุงพันธุ์ที่บรรษัทเป็นเจ้าของโดยมีกฏหมายเป็นเครื่องมือ เราซื้ออาหารคุณภาพแย่ในราคาแพงขึ้น ขณะที่เกษตรกรได้รับส่วนแบ่งต่ำลงเรื่อยๆ ทรัพยากรธรรมชาติถูกผลาญมาเป็นแหล่งพลังงานในการขนส่ง แปรรูป บรรจุภัณฑ์ ในอุตสาหกรรมอาหารขนาดใหญ่ โดยที่เรากลายเป็นแค่ “ผู้บริโภค” ซึ่งถูกกำหนดความต้องการโดยโฆษณาชวนเชื่อ มากำหนดอนาคตให้อาหารการกินของเรากันเถอะ
ทุกคนสามารถเปลี่ยนโลก
ให้น่าอยู่ขึ้น ระบบอาหารการกิน
เราดีขึ้นได้ในทุกมื้อ เพียงแค่…
เปลี่ยนเป็นถามที่มา
ซื้อสมาร์ทโฟนสักเครื่องเรายังซักอย่างละเอียด จะไม่ลองพิถีพิถันกับสิ่งที่เราจะกินเข้าไป ดูหน่อยเหรอ เช่น พันธุ์อะไร ปลูกที่ไหน ใครปลูก ฉีดยาฆ่าแมลงไหม ถ้าสดดี ดูยังไง ทุกคำถามสร้างการเรียนรู้ กินทุกครั้งสร้างการเปลี่ยนแปลง
เปลี่ยนไปอุดหนุน
ร้านค้ารายย่อย
ค้าปลีกที่เราเห็นกันว่ามีหลายแบรนด์ ความจริงแล้วมีเจ้าของเดียวที่ผูกขาดและกินรวบส่วนแบ่งการตลาดถึง 83% เดินออกจากห้างค้าปลีก
รายใหญ่ ให้ร้านทางเลือก ร้านโชว์ห่วยลืมตาอ้าปาก
เปลี่ยนไปเดินตลาดสด
ตลาดสดนั้นเต็มไปด้วยบทสนทนาและของแถม
เราอาจซื้อผักโดยได้ของแถมเป็นสูตรอาหารที่แม่ค้า
แนะนำให้ เพราะตลาดสด เต็มไปด้วยผู้คน
เป็นวิถีชีวิต เป็นชุมชน แวะอุดหนุนคุณป้า คุณยาย
ก่อนที่ตลาดจะวายไปจากเมืองไทย
เปลี่ยนเป็นไม่กินจีเอ็มโอ
เป็นที่สนใจกันอย่างกว้างขวางถึงผลกระทบที่พืชตัดต่อพันธุกรรมปนเปื้อน และทำลายความหลากหลายของพืชอาหารดั้งเดิม และสร้าง ผลกระทบต่อสุขภาพของ ผู้บริโภค กว่า 20 ประเทศในยุโรป ไม่ปลูกพืช จีเอมโอ และมาตรการของสหภาพยุโรป ไม่อนุญาติให้นำเข้าสินค้าอาหาร ที่ปนเปื้อน GMOs เราเองไม่จำเป็นป้อนอาหารเสี่ยงๆให้ร่างกาย เลือกอาหารปลอดGMOs เพื่อรักษาความหลากหลายพืช ผัก ผลไม้ ข้าว ปลา ระบบนิเวศสมดุลย์ดี
เปลี่ยนเป็นไม่เอาสารเคมี
อาหารที่ผลิตแบบเชิงเดี่ยวใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมีปราบวัชพืช กำจัดโรค-แมลง ฯลฯ
เข้มข้น เป็นอันตรายต่อทั้งคน และระบบนิเวศน์ มนุษย์ตายผ่อนส่งด้วยโรคไม่ติดต่อ สิ่งมีชีวิตเล็กๆ ตั้งแต่จุลินทรีย์ แมลง รวมถึงวัชพืช ที่มีประโยชน์ถูกทำลาย จนระบบนิเวศน์เสียสมดุลย์
เปลี่ยนมากินตามฤดูกาล
การผลิตผัก ผลไม้นอกฤดูนั้นจำเป็นต้องดัดแปลงธรรมชาติ อาจจะด้วยใช้สารเคมีเร่งการควบคุมน้ำ ใช้น้ำมากกว่าปกติในฤดูแล้ง ใช้พลังงาน ในการจัดการมากขึ้น และก็อาจจะไม่อร่อย เท่าการกินตามฤดูกาลอีกด้วย
เปลี่ยนเป็นไม่กิน
อาหารสำเร็จรูป อาหารแช่แข็ง
เรารู้อยู่แล้วว่ายิ่งเก็บไว้นานคุณค่าทางอาหารก็ยิ่งลดลง แถมยิ่งเก็บนานเท่าไหร่ก็ยิ่งผลาญพลังงานมากเท่านั้น กินของสดใหม่กันเถอะ
เปลี่ยนมาเลือกสินค้า ที่ไม่ใช้แรงงานทาส
เราเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นได้ เพียงแค่ ถ้าเรารู้ว่าสินค้า อาหารใด ที่บังคับใช้แรงงานคนเล็กคนน้อย จ่ายค่าแรงงานไม่ยุติธรรม มีการค้ามนุษย์ เราต้องแสดงจุดยืน ปฏิเสธที่จะบริโภค และบอกต่อ
เปลี่ยนมาหิ้ว
กล่องข้าว ขวดน้ำ
ขยะพลาสติกกำลังจะล้นโลกแล้ว และเวียนกลับมาทำร้านเรา ในรูปแบบไมโครพลาสติก ที่เราแทบจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ มาช่วยกัน ลดการใช้แล้วทิ้ง เพิ่มการใช้ซ้ำ ใช้หีบห่อที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ หิ้วตะกร้าถุงผ้าไปตลาด สร้างความเคยชินที่เป็นมิตรกับโลก
เปลี่ยนมากิน
อาหารท้องถิ่น
การกินอาหารท้องถิ่นเป็นการสืบทอดความรู้ ภูมิปัญญา ทั้งการผลิต แปรรูป การปรุง การกิน ที่ง่ายที่สุด ไม่ต้องพึ่งพาพิพิธภัณฑ์
เปลี่ยนมาปลูกกินเอง
พืชผักบางชนิดก็ปลูกไม่ยาก เช่น โหระพา กระเพรา สะระแหน่ พริก ตะใคร้ ใบเตย ฯลฯ หรือลองปล่อยให้ถั่วพลู บวบ เลื้อยตามรั้ว จัดวางตัดแต่งดีๆ เป็นสวนสวยกินได้ ปลอดภัย ลดรายจ่ายไปในตัว
เปลี่ยนมาทำกินเอง
การทำอาหารกินเองนั้นดีหลายอย่าง นอกจากสะอาดปลอดภัย ถ้าทำเป็นประจำน่าจะประหยัดค่าอาหารได้ด้วย การพัฒนาทักษะ การทำอาหารจะพาเราไปสู่ความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องกินมากมาย
เปลี่ยนเป็นไม่ปรุงมากเกินไป
ปลดปล่อยตัวเองให้เป็นอิสระจากเครื่องปรุงรสสังเคราะห์ กลับมาเรียนรู้ รับรสธรรมชาติ เพื่ออร่อยอย่างปลอดภัย การปรุงหนัก ทั้งหวาน เค็ม เป็นภาระของร่างกาย อันตรายกับสุขภาพเราเอง
เปลี่ยนมาแบ่งปันกัน
กินกับเพื่อนบ้าน
เราสามารถเปลี่ยนแปลงชุมชนให้น่าอยู่ ด้วยการแบ่งบัน อาหารที่เราทำเอง ลองตักแจกจ่ายบ้านข้างเคียง นอกจากแบ่งปันอาหารแล้ว อย่าลืมแบ่งปันเรื่องราวการกินที่สามารถเปลี่ยนแปลงโลกกันด้วยนะ