ตอนที่ 29 กินอาหาร – ดูหนัง แล้วตั้งคำถาม เรื่องอยู่เรื่องกินในภาพยนตร์
แชร์
275
email-subscribers
domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init
action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /home4-ns1sg/food/domains/food4change.in.th/public_html/wp-includes/functions.php on line 6114jetpack-boost
domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init
action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /home4-ns1sg/food/domains/food4change.in.th/public_html/wp-includes/functions.php on line 6114แชร์
275
275
วันสุดท้ายของเทศกาลดูหนังแล้วเสวนา “กินแหนงแคลงใจ” ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีการเปิดฉายหนังสั้นชุด Good Food ที่ผลิตโดย Media That Matters Film Festival 2 เรื่อง คือ ‘Inch by Inch: Providence Youth Gardens for Change’ และ ‘The Meatrix’ ตามด้วยภาพยนตร์จากญี่ปุ่น ‘Flavor of Happiness’ เรื่องราวของหญิงม่ายชาวญี่ปุ่นที่ประสบปัญหาชีวิต และพบหนทางแห่งความสุขได้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับอาหารจีน แม้ในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นและจีนดูจะเป็นไม้เบื่อไม้เมากันมาตลอด ซึ่งภาพยนตร์เรื่องนี้ได้เรียกเสียงปรบมือดังลั่นห้องฉายหนังก่อนที่จะเริ่มการเสวนา โดยมีคุณภาสกร อินทุมาร นักศึกษาปริญญาเอก สาขาประชากรศึกษา คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ม.มหิดล มาชวนคนในแวดวงหนังสั้นและภาพยนตร์เสวนา 3 ท่าน คือ คุณไกรวุฒิ จุลพงศธร นักเขียนและนักวิจารณ์หนัง คุณชลิดา เอื้อบำรุงจิต มูลนิธิหนังไทย และบรรณาธิการนิตยสารไบโอสโคป คุณสุภาพ หริมเทพาธิป
วงเสวนาได้พาไปสำรวจความเหมือนกันของหนัง-อาหาร และตั้งคำถามกลับกับผู้ร่วมฟังได้ขบคิดต่ออย่างสนุกสนาน ในหัวข้อ “เรื่องอยู่เรื่องกินในภาพยนตร์”
อาหารในหนังไทยไปไกล “ชาตินิยม” ได้หรือเปล่า?
คุณไกรวุฒิ เกริ่นนำว่า ทั้งหนังและอาหาร เราสามารถเลือกเสพได้ทั้งแบบลำพังตัวคนเดียว หรือแบบหมู่คณะ และนำไปสู่ความเป็นชุมชน ทั้ง 2 อย่างนี้ มีระบบการผลิตที่เปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัดในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จนกระทั่งในยุค 1980 ซึ่งเข้าสู่กระแสโลกาภิวัตน์ Globolization ได้ การเข้าถึงอาหารที่ผลิตในระบบโรงงานได้เปลี่ยนไปอย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น มีหนังเกี่ยวกับอาหารมากมายในยุคนี้ คนทำหนังเริ่มออกสำรวจอุดมการณ์ที่ซ่อนอยู่ในการทำอาหารที่หลากหลาย เริ่มมีกระแส National Food – National cinema โดยเน้นให้เห็นความสำคัญของอาหารประจำชาติ การกินอาหารแบบเก่าและความสัมพันธ์ของการกินอาหารภายในครอบครัว การกินอาหารจากมือแม่ มือปู่ และการทำนุบำรุงให้อาหารของเรายังมีชีวิตอยู่ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง
“หนังไทยเวลาพูดเรื่องอาหาร เราจะใส่อุดมการณ์ประจำชาติเข้าไป ว่ามันสุดยอดที่สุด ขณะที่หนัง ‘a Flavor of Happiness’ ที่เพิ่งดูจบไปนั้นมันเกิดขึ้นได้กับหนังไทยของเราไหม?” คุณไกรวุฒิ ได้ให้ตั้งข้อสังเกต
“อาหารแต่ละอย่างกว่าจะออกมา หรือใครก็ตามที่ทำอาหารมันมีขั้นตอนเยอะมาก มันทำให้เราสนใจเรื่องของกระบวนการ มันไม่จำเป็นเสมอไปที่ต้องส่งเสริมความเป็นไทย ต้องไทย-ไทย อย่างเดียว มันกระตุ้นตรงนั้นได้” คุณชลิดาอิงไปถึง ‘Julie & Julia’ หนังที่สร้างความตื่นตาตื่นใจกับกระบวนการปรุงอาหารฝรั่งเศสที่มีขั้นตอนมากมาย
ถ้าเป็นอาหารในหนังต้อง “ไม่ธรรมดา” !?
คุณชลิดา ยังได้ตั้งข้อสังเกตการปรากฏตัวของอาหารในหนังไทยว่าไม่ค่อยมี หรือถ้ามีมันก็จะถูกทำให้ exotic หรือผิดธรรมดาไป หรือเน้นอารมณ์โหยหาอดีต ทั้งๆที่รสชาติและรูปแบบการอาหารเหล่านั้นช่างแสนธรรมดามากในชีวิตวัยเด็ก ซึ่งก็ดีที่คนได้กลับมาทบทวน แต่ขณะเดียวกัน ของเหล่านี้ถูกทำให้สนใจเพราะเป็นของประหลาด อาจเพราะในหนังไทยทั่วๆ ไปไม่ค่อยนำเสนอเกี่ยวกับวิถีชีวิต แต่มักนำเสนอเหตุการณ์เรื่องราวเกิดขึ้นที่ผิดจากธรรมดา
“ก็มี ‘สุดเสน่หา’ ที่เขากินสับปะรดกัน ซึ่งดูแล้วก็เออ… อยากกินสับปะรดจากฉากที่เขาไปปิกนิกกัน ส่วนนักเรียนต่างชาติที่เข้าฝึกมาทำหนังในเมืองไทยเขาจะพยายามผนวกการกินเข้าไป มันมีเสน่ห์และประหลาดสำหรับเขา บางทีก็ใส่ผิดๆ ถูกๆ ลงไป ถ้าเขาไม่ research มากพอ”
หนีความธรรมดา ไปสู่การเหนือความคาดหมาย!!
คุณไกรวุฒิชี้ให้เห็นข้อท้าทายของคนทำหนังที่มีฉากอาหารอย่าง ‘Agrarian Utopia’ ว่า
“อุรุพงษ์ คนทำหนังเรื่องนี้ไปอยู่ในนานานปีกว่า เหมือนทุกคนคาดหวังว่าเขาจะนำเสนอภาพการกินแบบเรียบง่าย แต่ภาพการนำเสนอการกินสิ่งแปลกประหลาดเหล่านั้นกลับวิจิตรมากในแดนอุดมคติ ซึ่งวิธีการนำเสนอแบบนี้อาจจะผิดไปจากการคาดหวังของคน แต่ก็ดีเพราะทำให้เกิดข้อถกเถียงกัน”
“ไม่ธรรมดา แต่ว่า สำเร็จรูป” !?
ในแง่ ‘ธรรมดา’ ของอาหารที่ยังไม่ค่อยปรากฏในหนังไทยนั้น คุณสุภาพ มองว่าอาจจะเป็นเพราะเราต้องการคำตอบสำเร็จรูปจากการเสพหรือเปล่า?
“หนังไทยก็พยายามจะทำเป็นระบบสตูดิโอ อาหารการกินก็พยายามจะยัดเยียดเป็นอุตสาหกรรมอาหารอย่าง ‘โอเคเบตง’ ตอนเปิดเรื่องมีฉากทำอาหารเหมือนโฆษณาดูงดงามมาก เรื่องการกินที่สะท้อนชีวิตจริงๆ และทำให้คนดูดูแล้วเก็บประสบการณ์จากในหนังแล้วเอามาคิดกับตัวเองไม่ค่อยมี เพราะว่าเราคิดว่ามันเป็นเรื่องธรรมดา แต่ถ้าหากเรามองดูการกินของแต่ละคนแต่ละครอบครัวจริงๆ มันไม่เหมือนกัน ทุกคนจะมองว่าอาหารมือแม่อร่อยที่สุด แต่ไม่ค่อยมองว่าที่อร่อยที่สุดของคนอื่นๆ มันประกอบไปด้วยอะไร ยังไงบ้าง แล้วมันมีเงื่อนไขอะไร แล้วมันทำให้เราคิดกับตัวเองได้ยังไง
ใครกำหนดรสนิยม หนัง-อาหาร!?
สำหรับชลิดา วิวัฒนาการของรสชาติของหนังเหมือนก็กับรสชาติของอาหารในยุค Globalization ว่า มาก หลากหลาย ก็จริงแต่ของแท้นั้นหาได้ยาก เช่นเดียวกันกับแวดวงการทำหนังกลุ่มธุรกิจหนังมีการคุยกันว่า เขาอยากจะจบหนังเขาที่แค่นี้ แต่เมื่อลองสอบถามสายหนัง คนที่มีผลต่อการซื้อหนังฉายหนังก็จะบอกว่ามันยังไม่ตอบคนดูว่าหนังจะพูดอะไร อย่าง ‘รถไฟฟ้าฯ’ ก็ต้องมีฉากตอนจบเป็นบทสรุปของตัวเอก หรือบทสรุปของ ‘สิ่งเล็กๆ ที่เรียกว่ารัก’ ซึ่งถ้าไม่มีส่วนนี้ตัวเลขจะหายไปประมาณ 25 %
“ทำไมเราถึงไม่สามารถทำหนังที่บอกแค่นี้พอแล้วอนาคตของตัวละครมันเป็นไงก็ปล่อยให้มันเป็นไป ให้มันแล้วแต่คุณจะคิด สาเหตุที่ต้องทำบทสรุปก็ทำให้คิดต่อว่าเพราะอะไร? หรือเพราะว่าส่วนที่เราไม่ได้บอกแต่พวกที่เซ็นเซอร์หนังมันคิดแล้วต่างจากเราแล้วไม่ปล่อยให้หนังออกฉายก็เลยต้องทำส่วนที่เป็นบทสรุปของหนังเรื่องนั้นขึ้นมา”
“ทุกคนต้องปรับตัวว่าหนังต้องประมาณนี้จึงจะได้ฉาย หลายอย่างก็เหมือนหลอกตัวเอง หลอกฝรั่งเสร็จก็หลอกตัวเองต่อเพราะเมื่อก่อนเรายังรู้จัก อาหารเหนือ อาหารใต้ อาหารอีสาน แต่ตอนนี้ถูกเหมารวมกันหมดว่าเป็นอาหารไทย ยิ่งทำให้มั่วๆ งงๆ เข้าไปใหญ่ แล้วตีขลุมว่า ‘ไทย – ไทย’ แต่ความแท้ก็จะไม่รู้อยู่ตรงไหน แกงก็จะหวานขึ้นเพราะฝรั่งไม่กินเผ็ด ร้านอาหารไทยในต่างประเทศที่ ‘กูรู’ ว่า ‘อร่อยมาก’ ก็จะเป็นแกงที่หวานมาก แล้วก็ไม่มีใครกล้าออกมายืนยันว่ามันไม่อร่อย”
หนัง – อาหาร กำหนดตำแหน่งแห่งที่คนเสพ
ด้านคุณไกรวุฒิ เล่าว่า หนังข่าวสั้นก่อนฉายภาพยนตร์ในยุคที่อังกฤษมีเครื่องมือสื่อสารคือวิทยุและหนังโดยที่ยังไม่มีโทรทัศน์ยุคสงครามโลกนั้น นำเสนอภาพของประชาชนแห่มากินอาหารกันในโรงอาหาร สร้างให้กลายเป็นกระแสกินกันเป็น Community ทั่วทั้งอังกฤษ ตามนโยบายหลักคือการแบ่งอาหารเพื่อควบคุมอาหาร หนังข่าวสั้นทำให้คนอังกฤษเชื่อว่าโดยวิธีกินแบบรวมหมู่นี้คือความเป็นอังกฤษที่จะพาให้ประเทศชาติผ่านยุคแห่งความวิกฤติไปได้ ซึ่งคล้ายกับ ‘King’s Speech’ ที่กำลังจะฉาย หรือในหนังอเมริกา-ยุโรปเมื่อไม่นานมานี้ อย่าง ‘Eat Play love’ ซึ่งตัวละครเป็นผู้หญิงคนหนึ่งที่ไปเรียนรู้เรื่องของอาหารที่เชื่อมโยงคนเข้าด้วยกันด้วยความรู้สึกดี แต่มันกลายเป็นภาพที่ออกแบบเพื่อชนชั้นกลางในอเมริกาหรือยุโรปที่ตื่นเต้นกับอาหารในโรงแรม อาหารของกุ๊กสุดยอด ภาพอาหารถูกออกแบบเพื่อจะทะนุบำรุงความเป็นอาหารของชนชั้นกลางด้วยกันเพื่อที่จะบอกว่าฉันมีอะไร วัฒนธรรม องค์ความรู้ ไม่มีภาพตัวละครชนชั้นล่าง หรือ romanticize ว่าอาหารชนชั้นล่างมันงดงามมาก และเมื่อกลับมาดูการนำเสนออาหารของไทยของ ททท. ซึ่งจะเร้าความวิจิตรบรรจงของอาหารก็เป็นความพยายามที่จะกำกับให้พวกเรารู้สึกถึงความเป็นไทยในทิศทางนั้นโดยไม่รู้ตัว ซึ่งเป็น sense ของกระทรวงวัฒนธรรมที่เชิดชูความเป็นไทยที่กระทรวงวัฒนธรรมเป็นผู้เลือกสรรเองว่าอะไรคือความเป็นไทย
สังคมแห่งความกลัว ยากจะมี Food Inc. ภาคประเทศไทย !!
คุณสุภาพ ได้ฉายให้เห็นข้อจำกัดของการทำที่สะท้อนปัญหาการผลิตอาหาร อย่าง ‘Fast Food Nation’ หรือ ‘Food Inc.’ ในเมืองไทยว่า แม้หนังเหล่านี้ได้พูดออกมาสู่สังคมก็จะทำให้คนได้หูตากว้างขึ้น ได้รู้ว่ามันเกิดอะไรขึ้น แล้วคนดูก็ได้เลือก ส่วนจะเลือกแบบไหนก็เรื่องของคุณ อย่างน้อยได้รู้ว่าไอ้สิ่งที่คุณจะกินนั้นคืออะไร แต่บ้านเราคงเกิดหนังแบบนี้ได้ยากเพราะมันถูกครอบงำด้วยความกลัวจนเกินไป แม้แต่ตัวเองที่ได้มีโอกาคุยกับคนเลี้ยงไก่ก็ยากทำหนังสะท้อนออกมาแต่ก็กลัวถูกฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นล้าน
“สิ่งที่ต้องการมากที่สุดก็คือทำยังไงให้คนผลิตอาหารหรือหนัง ไม่ถูกครอบงำด้วยเงื่อนไขอะไรไม่รู้ที่เขาจำเป็นต้องเบี่ยงเบนความเชื่อของตัวเอง อย่างทำอาหารขายแบบนี้แต่สุดท้ายไม่รอด หรืออยากจะทำหนังแบบนี้ก็ไม่รอด พอไม่รอดต้องไปพึ่งพิงแล้วมีเงื่อนไขอื่นที่จะทำให้ความเชื่อในตัวเองเบื้องต้นที่จะทำมันเปลี่ยนไป สุดท้ายมันจะไม่ไปไหน หนังมันก็จะเหมือนกันไปหมด อาหารก็จะรสเดียวกันไปหมด”
เลือกเสพ หนัง- อาหาร ยังไงไม่ตกหลุม
ในกระแสการผลิตและบริโภค อาหาร หรือหนัง ในยุคปัจจุบัน ที่เน้น mass product โดยมีกลุ่มลูกค้าที่ยอมจ่ายเงินเพื่อเสพนั้น รสนิยมในเรื่องความแท้ และอร่อยของอาหาร ได้เปลี่ยนไปตามสภาพวิถีชีวิตจริงในปัจจุบันที่เราก็กินอาหารกันใน Food Center ของห้างต่างๆ คุณชลิดา ตั้งคำถามกลับที่น่าสนใจว่า พวกเราที่มาร่วมเสวนาอาจจะเป็น generation ท้ายๆ หรือเปล่าที่จะมีประสบการณ์การกินที่พอจะจำแนกได้ว่าอันไหนอร่อย อันไหนแท้ จำแนกความแตกต่างของอาหารพื้นถิ่นของภูมิภาคต่างๆ ได้?
“เราไม่ได้ไม่ชอบหนัง Hollywood ก็ดูได้ แต่บางวันเราก็อยากดูหนัง เราไม่ได้เหยียดหนังอาร์ต มันเหมือนอาหารที่วันนี้เราอยากกินฟาสต์ฟู้ดส์บ้าง กินแฮมเบอร์เกอร์ ก็มีรสชาติที่ต่างกัน แต่จะหน้าตกใจถ้าคนไม่สามารถแยกแยะความแตกต่างของมันได้ ก็ต้องช่วยกันคิดว่าเราจะเก็บและแบ่งปันประสบการณ์เหล่านี้ได้ยังไง
ก่อนจะจบการเสวนา คุณไกรวุฒิยังได้ยกตัวอย่างหนังโฆษณา ‘ค้าบุญ’ เทรนด์ใหม่ของอุตสาหกรรมอาหารข้ามชาติ เพื่อเพิ่มทางเลือกในการตัดสินใจเลือกซื้อ และซื้อแพงกว่าอีกหลายเท่าตัว ซึ่งหลุมพรางเหล่านี้ล้วนแต่เป็นสิ่งที่น่ากลัว
“ ‘ทุกครั้งที่คุณซื้อกาแฟทุกแก้วของเขาแล้ว คุณไม่ได้ซื้อเฉพาะกาแฟแต่นำไปสู่รองเท้าคู่หนึ่งของเด็กโซมาเลีย’ แล้วบริษัทกาแฟข้ามชาตินี้มันต้องการให้เด็กโซมาเลียจนไปเรื่อยๆใช่หรือเปล่า?