ตอนที่ 27 กินเชิงรุกให้ตาสว่าง
แชร์
186
email-subscribers
domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init
action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /home4-ns1sg/food/domains/food4change.in.th/public_html/wp-includes/functions.php on line 6114jetpack-boost
domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init
action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /home4-ns1sg/food/domains/food4change.in.th/public_html/wp-includes/functions.php on line 6114แชร์
186
186
หากจะหวังว่าการกินของเราในมื้อนี้มีความหมายเพื่อให้เกิดการกินในครั้งต่อๆ ไปมีทางเลือกได้มากขึ้น หรือไม่แย่ลงไปกว่าเดิม สิ่งที่น่าจะมองหรือคิดเพิ่มไปจากความคุ้นเคยในการเลือกกินของเรานั้นคืออะไร ในวงเสวนา “วัฒนธรรมอาหารท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์” * เมื่อกลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมา อาจจะเป็นบางส่วนที่เสนอคำตอบให้ได้แลกเปลี่ยนกัน
เริ่มต้นด้วยคำถามท้าท้ายจาก คุณธนาทิพ ฉัตรภูต ผู้ดำเนินรายการผู้หญิง 3 มุม FM 96.5 ที่มาเป็นผู้ดำเนินรายการการเสวนา ว่า “เราจะร่วมกันรณรงค์เพื่อให้อาหารพื้นบ้านเรามีโอกาสในการสร้างกระแสความนิยมเหมือน คริสปี้ครีมที่มีคนยืนเข้าแถวรอซื้อกินแบบนั้นได้หรือไม่อย่างไร?
คุณศุภดา ทองธรรมชาติ แลกเปลี่ยนในเวทีจากประสบการณ์ในฐานะตัวแทนของกลุ่มที่ร่วมกันการเปิดร้านอาหารท้องถิ่นรสมือของชาวบ้าน “ครัวใบโหนด” ซึ่งสร้างขึ้นจากการร่วมแรงร่วมใจกันของชาวบ้านกลุ่มออมทรัพย์ตาลโตนด อ.สิงหนคร จ.สงขลา ซึ่งมีสมาชิกอย่างกว้างขวางในคาบสมุทรสทิงพระ เพื่อให้ เป็นร้านอาหารที่รณรงค์ ฟื้นฟูผักแถวบ้าน อาหารแนวถิ่น แลกเปลี่ยนผ่านการกินอาหารของลูกค้าทั้งจากในหมู่บ้านและมาจากทั่วสารทิศ ว่า “ครัวใบโหนด” เป็น “ครัวชุมชน เพื่อคนทั้งหมด” โดยที่ก่อนหน้านั้นมี การทำงานของ “สาวนุ้ย” กับ “ผู้เฒ่า” ในชุมชน เพื่อทำการสำรวจรวบรวมเมนูอาหารและสมุนไพรผักพื้นบ้าน และทำออกมาเป็นหนังสือ และตีพิมพ์เป็นหนังสือ “ผักแถวบ้าน แกงแถวพื้น” นอกจากนี้ยังได้ทำการสำรวจแหล่งและปริมาณของวัตถุดิบผักพื้นบ้าน ทั้งที่ปลูกแบบปลอดสารเคมีและเก็บหาได้จากที่หลังบ้านและที่สาธารณะ พบว่ามีกว่า 100 ชนิด ที่พร้อมจะส่งทุกวันให้กับครัวใบโหนดเพื่อนำไปประกอบอาหาร เป็นผักเหมือด(ผักกินแกล้มกับน้ำพริก-แกงเผ็ด) และขายผักสด
ก่อนเปิดตัวครัวใบโหนดเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ผู้หญิงในชุมชนกลายมาเป็นแม่ครัวนับสิบคนของครัวใบโหนด ได้ออกตระเวนปรุงอาหารพื้นบ้าน และแลกเปลี่ยนพูดคุยกันกับนักเรียน และครู ในโรงเรียน 8 แห่ง โดยหมุนเวียนไปโรงเรียนละ 1 วัน/สัปดาห์จนครบ 1 เทอม จนเกิดเมนูผักพื้นบ้านใหม่ๆ ที่ผู้ใหญ่ทำได้และเด็กกินดีขึ้นมา
“ผู้หญิง ผู้ครัวในชุมชนกลายเป็นหมอที่อยู่ในบ้าน ทำอาหารพื้นบ้านที่เป็นสมุนไพรดูแลคนในครอบครัว”
“… แต่พอพูดถึงครัวใบโหนด สัญลักษณ์อีกอย่างที่คนในชุมชนคิดถึงคือ “ซาเล้ง” ที่วิ่งไปรับผักเก็บผักจากคนเก็บผักส่งให้กับรถ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนเฒ่าคนแก่ที่ภูมิใจในการเก็บผักของตัวเอง และมีลูกหลานมาช่วยเก็บผัก ความรู้ก็ได้ถ่ายทอดไปสู่คนอีกรุ่น คนขับซาเล้งก็ภูมิใจ เป็นความผูกพันที่เกิดขึ้นในทุกๆวัน ส่งผักกันทุกวัน”
จรงศักดิ์ รองเดช ผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์ “ภัตตาคารบ้านทุ่ง” กล่าวรับลูกหลังฟังศุภดาว่า ครัวใบโหนดเป็นโมเดลที่น่าขยายต่อ แต่ถ้าเราจะต่อสู้กันในระดับชุมชนคงไม่พอ เราสามารถขับเคลื่อนอาหารพื้นบ้านของเราให้เป็นที่รับรู้สู้ได้ในกระแสโลก โดยนำความรู้ด้านการการตลาดและโฆษณา และเทคโนโลยีมาใช้เป็นเครื่องมือในการนำเสนออาหารพื้นบ้านผ่านกระบวนการเรียนรู้ระหว่างการเตรียมวัตถุดิบและปรุงออกมาเป็นจานผ่านวัฒนธรรมอาหารพื้นบ้าน เพื่อกระตุ้นให้คนในสังคมเห็นคุณค่าของวัฒนธรรมอาหารท้องถิ่น ท่ามกลางกระแสวัฒนธรรมอาหารโลกาภิวัตน์ที่อาหารที่อยู่ในสายธารอุตสาหกรรมต้องเร่งให้โตเร็วทันใจผู้ผลิต และมีผลต่อการดึงดูดให้คนจ่ายเงินเร็วผ่านการโฆษณาผ่านสื่อ อาหารความเร็วสูงทำลายสุขภาพได้เร็ว โดยนำเอาความที่เกิดเป็นคนบ้านนอก และคนจนมาต่อสู้ และนำเสนอเมนูพื้นบ้านให้น่าสนใจ นำเสนอความแปลกใหม่ ผ่านกระบวนการเรียนรู้ระหว่างการเตรียมวัตถุดิบและปรุงออกมาเป็นจานผ่านวัฒนธรรมอาหารพื้นบ้าน และเชื่อว่าอาหารพื้นบ้านสามารถนำวัตถุดิบใหม่ๆ มาปรุงในสไตล์อาหารท้องถิ่น-อาหารพื้นบ้านได้
“การรณรงค์สร้างกระแสอาหารท้องถิ่นต้องใช้หลักการโฆษณา และเทคโนโลยีมารับใช้การทำดี ท่านพุทธทาสท่านว่า ธรรมะสามารถโฆษณาได้ เป็นการตลาดที่เอื้อต่อการทำความดี ใช้เทคโนโลยีที่เอื้อให้ทำได้อย่างเท่าทัน เพื่อมากระตุ้นผู้ดูให้เกิดการรับรู้ เห็นคุณค่าและภูมิใจกับมันคุณค่าอาหารไทย”
แก้วตา ธัมอิน ผู้ประสานงานโครงการกินเปลี่ยนโลก บอกว่าที่ออกมารณรงค์เพราะเราอยากจะเลือกกินอย่างที่เราต้องการได้จริงๆ อาหารฟาสต์ฟู้ดส์ ร้านอาหาร ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านค้าที่ทันสมัย หรือชั้นวางสินค้าในซุปเปอร์มาร์เก็ต ที่นำเสนอให้เรากินเป็นเพียงแค่เรามีเงินจ่ายก็เลือกซื้อกินได้แต่มันไม่จริง เพราะการผลิตอาหารถูกผลิตให้กลายเป็นอาหารบังคับเลือกของคนกินไปแล้ว ภายใต้การคิดของทุนไม่กี่รายแม้จะมีสินค้าหลากหลายยี่ห้อก็ตาม ซึ่งมันแสดงให้เห็นว่าเราสูญเสียอำนาจเหล่านี้ไปหมดแล้ว
“ยุคนี้เราทำมาหาเงิน ไม่ได้หากิน รูปแบบการผลิตอาหารที่เราไม่สามารถเลือกได้นี้ ได้ดึงเงินออกจากกระเป๋าเราที่เป็นทั้งคนกิน และผู้ผลิต แล้วไปอยู่กับคนอื่นมากกว่า ซึ่งคือความไม่เป็นธรรม ซึ่งถ้าเราใส่ใจในการกินจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง 3 สิ่ง คือ เปลี่ยนแปลงเรื่องสุขภาพ เปลี่ยนสิ่งแวดล้อม และเปลี่ยนแปลงโครงสร้างความไม่เป็นธรรมในการผลิตและกระจายอาหาร”
กิจกรรมที่ผ่านมาของกินเปลี่ยนโลกจึงเป็นการแสวงหาและชักชวนคนที่ชอบกินเหมือนๆ กันมาแลกเปลี่ยน พูดคุย ทำอาหารกินกัน และชวนกันตั้งคำถามเพื่อที่จะเรียนรู้อาหารที่เรากิน เพราะเชื่อว่าถ้าเราเลือกกินอาหารมีกระบวนการผลิตที่ดี ไม่ใช้สารเคมี ก็จะเปลี่ยนสุขภาพเราได้ เปลี่ยนสิ่งแวดล้อมได้ ซึ่งมีการฉายหนังขบวนการผลิตอาหารอุตสาหกรรม การเปิดตัวหนังสือ ชวนคนกินมาเจอคนปลูกผักอินทรีย์ สร้างช่องทางให้คนกินกับคนปลูกรู้จักกัน เพื่อทำความเข้าใจในปัญหาขบวนการผลิตอาหาร เสนอให้คนทำอาหารกินเองบ้านสัก 1 ครั้งในสัปดาห์
“ตอนนี้ก็มีคนกลุ่มหนึ่งที่คิดเหมือนๆ กันมาทำกิจกรรมร่วมกัน แต่จุดท้าทายของเราก็คือทำอย่างไรเรื่องราวเหล่านี้จะเป็นที่สนใจของคนกลุ่มใหม่ๆ ในกลุ่มเด็กแนวๆ”
ศ. ดร.อานันท์ กาญจนพันธ์ อาจารย์ประจำคณะสังคมศาสตร์ ม.เชียงใหม่ ได้มาสรุปประเด็นปิดท้ายการเสวนาครั้งนี้ อย่างท้าทายว่าให้เปลี่ยนหัวข้อสนทนาใหม่ เป็น “เรื่องกินนั้นสำคัญไฉน?” เพราะต้องมีการตั้งคำถามกับการกิน และถ้าหากตอบไม่ได้ก็ไม่ต้องกิน เราต้องกินเพื่อให้เกิดพลังอำนาจต่อรอง กินสะเทือนโลกและกินให้หูตาสว่าง
“ที่ครัวใบโหนดพูด แสดงให้เห็นว่าถ้าเรามีการกินที่รวมตัวกัน เป็นการกินเพื่อสร้างอำนาจ เพื่อต่อรองและสร้างทางเลือก และที่เสนอเรื่องให้มีคนการปลูกผักกินเองในเมืองเพราะมีที่นั้น ก็ควรจะมีการพาคนเมืองไปรู้จักคนปลูก คนผลิต เพื่อที่จะเข้าใจที่มาอาหารได้มากขึ้น”
อาจารย์อานันท์ยังให้ความเห็นว่าวัฒนธรรมอาหารโลกาภิวัตน์มี 2 ด้าน ด้านที่เป็นการกินแบบครอบงำ กับด้านที่กินเพื่อสะเทือนโลกและกินให้หูตาสว่าง
ด้านการกินแบบถูกครอบงำ เป็นการกินเชิงตั้งรับ เป็นการกินแบบสำเร็จรูป มีคำตอบของการกินให้เราโดยเราไม่ต้องคิด ไม่ต้องรู้อะไรมากกว่าที่จะกินๆ เข้าไป ทำให้คนกินไม่สนใจเบื้องหลังการกิน ซึ่งทำให้เกิดปัญหาสำคัญคือลดความหลากหลายลงไป ทั้งในเรื่องของการรับรู้รส ชนิดและสายพันธุ์พืช/อาหาร การกินถูกลดรูป ลดรส ทั้งที่ความจริงมันมีรสชาติที่หลากหลาย คำบางคำที่ใช้เรียกรสบางคำหายไป เป็นการกินแบบลวกๆ รวบรัด และไม่ละเอียดอ่อน ซึ่งเราสู้ได้ เราต้อง “กินเชิงรุก” คือไม่ยอมให้ใครมาทำให้ใครมาบังคับให้เราเลือกรสได้อย่างจำกัด และต้องเข้าใจความหลากหลายของพืช/อาหาร ต้องกินแล้วโยงไปให้ถึงเบื้องหลังให้เห็นถึงความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งเป็นฐานทรัพยากรอาหาร หรืออาจเรียกได้ว่า ”เป็นการกินอย่างมีบริบท” คือกินอย่างเชื่อมโยงรู้ว่าของที่กินมาจากไหน อยู่ในบริบทไหน กินแบบตั้งคำถามไม่ใช่มีคำตอบยัดเยียดให้เราล่วงหน้าตามที่ตลาดเป็นตัวกำหนด
“อาหารพื้นบ้านมันไม่สำเร็จรูปนะครับ มันชิมกันแหลกเลยนะครับ หมายความว่าแต่ละคนนี่มีสูตรของตัวเอง อันนี้เราเรียกทุกคนมีจินตนาการครับ ดังนั้นชาวบ้านนี่ทำอาหารเก่งเพราะมีจินตนาการดีนะครับ ดังนั้นจึงไม่ใช่แค่เป็น “กุ๊ก” อันนี้มันคือ ‘ผู้นำ’ “
“หากเรามีความรื่นรมย์กับรสชาติที่แตกต่าง ซึ่งเกิดจากความหลากหลายของอาหารที่มีอยู่ในแต่ละที่ แต่ละชุมชน แต่ละคนที่ทำ ซึ่งการกินแบบนี้จะทำให้เราเข้าใจและรักษาสิทธิของคนกินที่เคยกินสิ่งนั้นๆ เช่นถ้าใครเคยได้กินข้าวไร่ของคนบนดอยซึ่งอร่อยมากนั้น จะเข้าใจได้ว่าการคัดค้านนโยบายรัฐซึ่งที่ระบุว่าถ้าปลูกข้าวกินเองไม่ได้ ห้ามปลูก แต่ถ้าปลูกอะไรที่ไม่ได้กินแต่ขายได้อย่างยางพาราแบบนี้เป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ อย่างคุณไม่กินแฮมเบอร์เกอร์เพราะรักษาสุขภาพ แต่ถ้าเหตุผลของผมที่ไม่กินคือ เนื้อวัวที่ใช้ทำแฮมเบอร์เกอร์มันทำลายป่าอะเมซอนทั้งผืน เพราะมันเอาถางป่าอะเมซอนไปเลี้ยงวัว อย่างนี้ผมว่าเป็นการกินเชิงรุก การกินเชิงรุกหรือการกินแบบมีบริบทนี้จึงการเป็นการกินสะเทือนโลก กินแล้วเชื่อมโยงกับที่มาของอาหารที่กินก็จะทำให้หูตาสว่างขึ้นด้วย”
หมายเหตุ * ในเวทีสมัชชาความมั่นคงทางอาหารประจำปี 2553 “ความมั่นคงทางอาหารบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพ” วันศุกร์ที่ 15 – เสาร์ที่ 16 ตุลาคม 2553 ณ อาคารพิทยพัฒน์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จัดโดยแผนงานฐานทรัพยากร มูลนิธิชีววิถี
สำหรับผู้สนใจ ครัวใบโหนด ร้านตั้งอยู่บนถนนเส้นทางระหว่าง สงขลา-ระโนด ขาออก ช่วง หลักกิโลเมตรที่ 115 ห่างจากตัวเมืองสงขลาประมาณ 20 กม. ติดต่อคุณศุภดาได้ที่ โทร. 089-870-5529