ตอน 26 – แมลงที่รัก
แชร์
216
email-subscribers
domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init
action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /home4-ns1sg/food/domains/food4change.in.th/public_html/wp-includes/functions.php on line 6114jetpack-boost
domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init
action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /home4-ns1sg/food/domains/food4change.in.th/public_html/wp-includes/functions.php on line 6114แชร์
216
216
ปัญหาของคนปลูกผัก ไม่ว่าจะเป็นการปลูกเพื่อกินเองในบ้านหรือปลูกขายก็คือ โรค และแมลงที่มารบกวนต้นผักนั่นเอง ท่านที่เริ่มปลูกผักอินทรีย์กินเองก็อาจจะกำลังหาทางออกกับปัญหานี้
ในวันเปิดตลาดนัดสีเขียวในโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ รังสิต นั้นมีบู้ทเรียนรู้ชีวิตแมลงของลุงเทพ เกษตรกรผู้ปลูกผักผสมผสาน เจ้าของ “ศูนย์พัฒนาถ่ายทอดการเกษตรเพื่อสิ่งแวดล้อมและนิเวศน์ที่ยั่งยืน” จากบ้านระแหง อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี ที่จำลองการเรียนรู้แมลงมาให้ผู้สนใจได้เรียนรู้และเชื่อมั่นในวิถีการผลิตที่ปลอดสารเคมีนั้นทำได้จริงๆ
ก่อนหน้านี้ 12 ปี ความรู้เรื่องการจัดการแมลงแบบทางเลือก (Alternative Pest Management : APM) ซึ่งเป็นการนำองค์ความรู้ด้านนิเวศเกษตรมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับเกษตรกรที่ต้องการเลิกใช้สารเคมีการเกษตรอย่างเด็ดขาดนั้นถือว่าเป็นความรู้ที่อยู่ในวงจำกัดสำหรับผู้ที่สนใจใคร่รู้และปฏิบัติกันอย่างจริงๆ ขณะที่กระแสของการจัดการแมลงแบบผสมสาน (Integrated Pest Management : IPM) ซึ่งนำวิทยาการควบคุมแมลงอย่างหลากหลายแต่สุดท้ายก็ยังอนุญาตให้ใช้สารเคมีกำจัดแมลงได้ในตอนท้ายเมื่อพิจารณาจากเงื่อนไขว่ามีการแพร่ระบาดจนเกินควบคุมได้ยังคงเป็นกระแสที่นักวิชาการเกษตรสมัยใหม่ทั่วไปส่งเสริมให้เกษตรกรใช้
เรียกได้ว่า APM นั้นหักดิบ ส่วน IPM นั้นเป็นการอดยา(ฆ่าแมลง)โดยสมัครใจ
ผลิตภัณฑ์ที่มาจากแปลงเกษตรในระบบ APM นั้นมีโอกาสพัฒนาไปสู่มาตรฐาน “สินค้าเกษตรอินทรีย์” ได้ในเบื้องปลายของเป้าหมาย ส่วน IPM นั้นได้แต่อยู่ใน quite list ของสินค้าปลอดภัยสารเคมีการเกษตร เพราะเมื่อจะต้องเก็บเกี่ยวออกจำหน่าย ต้องผ่านระยะเวลาในการฉีดพ่นที่เป็นอันตรายไปแล้วเสียก่อน
ขั้นตอนของการควบคุมแมลงแบบ IPM กับ APM หากดูเผินๆ แล้วเหมือนจะเหมือนกันในเบื้องต้นแล้วแตกแขนงออกเป็น 2 เส้นในตอนท้าย คือตัดสินใจใช้หรือไม่ใช้ยาฆ่าแมลงเมื่อมีการแพร่ระบาดของแมลงรุนแรง หากแท้จริงแล้วแก่นแกนของความคิดที่แตกต่างของทั้งสองนั้นมีต่างกันอย่างสุดขั้ว
ระบบการจัดการแบบ IPM นั้นเน้นการดูชนิดและจำนวนแมลงศัตรูพืชและแมลงที่รัก ให้อยู่ในสมดุล โดยมีตัวช่วยทางเทคนิค เช่น แถบล่อแมลง สมุนไพรกำจัดแมลง เขตกรรม การปลูกพืชผสมสานและพืชหมุนเวียน การเพิ่มแมลงที่รัก และจุลินทรีย์ชีวภาพเพื่อควบคุมโรคแมลง และอนุญาตให้ใช้ปุ๋ยเคมีได้ในปริมาณที่เหมาะสม รวมทั้งฉีดพ่นสารฆ่าแมลงได้เมื่อแมลงศัตรูพืชระบาดมาก จนนักเกษตรอินทรีย์หลายคนค่อนขอดในใจว่ายังไงก็เข้าไปสู่ loop ของการใช้สารเคมีแบบยั่งยืนอยู่ดี
ส่วน APM นั้นเชื่อมั่นในสมดุลของสรรพชีวิตในระบบนิเวศเกษตร โดยเน้นบทบาทสำคัญของสิ่งมีชีวิตทั้งที่อยู่ในดิน ตัวพืชผักที่ปลูก ผลผลิต และ สิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวโยงกับพืชผักเหล่านั้น
พืชผักที่ปลูกจะมีความแข็งแรงสมบูรณ์และให้ผลผลิตที่ดีได้นั้น ต้องอาศัยการมีผืนดินอุดมสมบูรณ์และมีสมดุลให้หยั่งราก แม้พืชผักที่ปลูกนั้นจะถูกโรคแมลงรบกวนบ้างก็เป็นเพียงส่วนน้อย และใช้วิธีการต่างๆ เช่น การเขตกรรม การปลูกพืชหมุนเวียน การปลูกพืชสลับและหลากหลาย การปลูกพืชล่อ-ไล่แมลง และสมุนไพรควบคุมแมลงเมื่อมีการแพร่ระบาด
การฝึกสังเกต และทำความรู้จักพฤติกรรมของแมลงในระบบนิเวศน์เกษตร ซึ่งมีทั้งแมลงที่เป็นศัตรูพืช (กัดกินและพาหะนำโรค) กับแมลงที่เป็นตัวดี แมลงที่รักเหล่านี้จะมีพฤติกรรมคอยควบคุมแมลงศัตรูพืช ซึ่งมี 2 ประเภท คือทั้งชนิดที่เป็นตัวห้ำ (ล่า – จับกิน) และตัวเบียน (คอยรบกวนการมีชีวิตของแมลงศัตรูพืช) จึงเป็นเพียงความรู้ขั้นพื้นฐานที่จะนำนักการเกษตรและเกษตรเข้าไปเรียนรู้สมดุลของธรรมชาติเหนือผืนดินรอบๆ พืชผักที่ปลูก
ลุงเทพ – ประธานกลุ่มเกษตรปลอดสารเคมี ต.ระแหง อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี และเจ้าของ “ศูนย์พัฒนาถ่ายทอดการเกษตรเพื่อสิ่งแวดล้อมและนิเวศน์ที่ยั่งยืน”
ตัวอย่างแมลงที่รัก ที่ลุงเทพนำมาให้เรารู้จัก ตัวห้ำอย่างมวนเพชฌฆาต นั้นจับกินหนอนทุกชนิดที่รบกวนพืชผัก ส่วนแมลงช้างปีกใสดูช่างบอบบางนั้น เป็นนักล่ากินเพลี้ยตัวฉกาจ ซึ่งตัวห้ำและตัวเบียนเหล่านี้นั้นจะชอบอาศัยอยู่ในสภาพอากาศที่โปร่งโล่ง ผิดกับบรรดาหนอนและไข่แมลงที่ชอบการซ่อนซุกตัวอยู่ตามโคนต้นหรือซอกใบ หากบรรยากาศโดยรอบของพืชผักที่ปลูกไม่ถูกรบกวนด้วยการฉีดพ่นยาฆ่าแมลง ซึ่งมักมีประสิทธิภาพดีอย่างมากต่อแมลงตัวห้ำและตัวเบียน และด้อยประสิทธิภาพต่อแมลงศัตรูพืชโดยเปรียบเทียบแล้ว ดุลยภาพในการควบคุมโรคแมลงโดยแมลงในธรรมชาติด้วยกันเองก็จะสามารถดำเนินไปได้
มวนมวนเพชฌฆาต (Eocanthecona furcellata (Holff)) มช้ปากที่เป็นแท่งยาวแหลมคมเจาะผนังลำตัวหนอนแล้วปล่อยสารให้เป็นอัมพาต ขยับตัวไม่ได้แล้วจึงค่อยดูดดกินของเหลวในตัวหนอนจนแห้งเหี่ยวตาย กินหนอนทุกชนิด ทั้งหนอนกระทู้ผัก หนอนกระทู้หอม หนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนแก้วส้ม และหนอนบุ้งต่างๆ
แมลงช้างปีกใส หรือชื่อสามัญว่า Green lacewings (mallada basalis (Walker)) เจ้าตัวนี้เป็นตัวห้ำตอนเป็นตัวอ่อนเท่านั้น โดยมันจะใช้ฟันกรามที่โค้งยาวไปด้านหน้าทำลายเหยื่อและดูดกินของเหลว ส่วนตอนที่โตเต็มวัยแล้วจะกินน้ำหวานและน้ำเป็นอาหารโดยไม่ทำลายพืช หากมีการฉีดพ่นสารเคมีกำจัดแมลงในอากาศ ตัวเต็มวัยมันจึงตายได้ง่ายกว่าแมลงศัตรูพืชโดยไม่ทันแพร่พันธุ์
แต่….ก็มีเงื่อนไขที่สำคัญกว่านี้ด้วย
เงื่อนไขที่สำคัญกว่าสมดุลของจำนวนแมลงที่รักกับแมลงศัตรูพืช ซึ่งกลายมาเป็นศัตรูของเราไปโดยปริยายนั้นก็คือ การสร้างความแข็งแรงให้กับพืชผักตั้งแต่เริ่มลงเมล็ดหว่านไปในดิน
การปรับปรุงดินและการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตในแต่ละช่วงจึงเป็นหัวใจสำคัญของการปลูกพืชในระบบการจัดการแบบ APM ซึ่งเป็นหลักการเดียวกันกับการทำเกษตรอินทรีย์ ที่เน้นการจัดสมดุลของระบบการเกษตรและส่งเสริมการหมุนเวียนการใช้ปัจจัยการผลิตภายในแปลงของเกษตร หาใช่แค่เฉพาะการไม่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช!
การรักษาดุลภาพของระบบนิเวศน์ใต้ดินของต้นพืชนั้น คือการรักษาความชุ่มชื้นในเนื้อดิน การคงสภาพเอื้อให้เหล่าสิ่งมีชีวิตทั้งที่เป็นจุลินทรีย์ที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า และสิ่งมีชีวิตเล็กๆ น้อยๆ นั้นอยู่ได้ และทำหน้าที่ในระบบนิเวศน์ได้ เพื่อการหมุนเวียนของอากาศและอาหารที่เหมาะต่อการมีชีวิตทั้งตัวต้นพืชเองและสรรพชีวิตในดิน
การใส่ปุ๋ยเคมี ซึ่งดูเผินๆ เสมือนว่าจะไม่เป็นพิษเป็นภัยอะไรต่อต้นพืชนั้น แท้จริงแล้วคือการไปปรับเร่งกระบวนการดูดสารอาหารในดิน และก่อกวนสมดุลของสรรพชีวิตในดินอย่างมาก แม้ภาพสะท้อนที่เห็นจากต้นพืชผักที่ปลูกโดยใช้ปุ๋ยเคมีผสมปุ๋ยอินทรีย์-ปุ๋ยชีวภาพจะมีลักษณะอวบ งามและโตดีกว่า แต่นั่นก็เหมือนกับคนที่ถูกเร่งให้กินให้โตเกินพอดี ย่อมเป็นเป้าหมายที่แมลงศัตรูพืชจะเข้ารบกวนได้ง่ายกว่า
จากประสบการณ์ของเกษตรกรที่ใช้ระบบ APM นั้นพบว่า ในช่วง 1 – 2 ปีแรก อาจจะจำเป็นที่ต้องเลือกใช้สมุนไพรควบคุมแมลง ซึ่งสมุนไพรเหล่านั้นจะออกฤทธิ์โดยตรงต่อแมลงศัตรูพืชแต่ไม่ทำลายแมลงที่รักของเรา ทั้งนี้เพราะการช่วยจัดสมดุลให้กับบรรยากาศบนดินรอบต้นพืช ไม่ให้แมลงศัตรูพืชมีมากจนแพร่ระบาด ขณะเดียวกันก็เร่งปรับปรุงโครงสร้างของดินด้วยปุ๋ยมีชีวิตอย่างปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยหมักและการคัดเลือกชนิดและพันธุ์พืชให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และฤดูกาล ซึ่งเป็นช่วงเปลี่ยนผ่าน
หลังจากนี้ หากยังเดินอยู่บนแนวทาง APM แล้วมักพบว่า ไม่จำเป็นต้องใช้สมุนไพรควบคุมแมลงฉีดพ่นอีกเลย
นี่จึงเป็นคำตอบว่า
ทำไมแปลงผัก-นาข้าวเกษตรอินทรีย์จึงยังอยู่ได้อย่างดีภายใต้สภาพแวดล้อมของเพื่อนเกษตรกรรายอื่นที่มีการฉีดพ่นสารกำจัดแมลงที่แพร่ระบาดอย่างเข้มข้นนั่นเอง
แปลงผักอินทรีย์ของกลุ่มผักประสานใจ ที่บ้านป่าคู้ อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี ในช่วงปลายปี 52
การเน้นการปรับปรุงดิน จัดการแปลงผักที่ดี การปลูกพืชหมุนเวียน และเลือกปลูกผักให้เหมาะกับสภาพพื้นที่และฤดูกาล ทำให้ผักอินทรีย์ได้ผลผลิตงามๆ
กินอร่อย สบายใจ ไม่ปล่อยทิ้งปุ๋ยไนโตรเจนตกค้างในสภาพแวดล้อมจนเกิดปัญหาโลกร้อนและสรพิษปนเปื้อนในดินและแหล่งน้ำ