ร้านค้าของผู้ซื้อ (The People’s Supermarket)
แชร์
583
email-subscribers
domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init
action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /home4-ns1sg/food/domains/food4change.in.th/public_html/wp-includes/functions.php on line 6114jetpack-boost
domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init
action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /home4-ns1sg/food/domains/food4change.in.th/public_html/wp-includes/functions.php on line 6114แชร์
583
583
แต่เป็นการให้อำนาจแก่สมาชิกและผู้บริโภคในการเข้าถึงอาหารที่คุณภาพสูง สะอาด ราคาถูก และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อาร์เธอร์ พอตส์ ดอว์สัน คือผู้ที่อยู่เบื้องหลังสหกรณ์ผู้บริโภคที่เรียกว่า ร้านค้าของผู้ซื้อ (The People’s Supermarket) แห่งนี้ โดยมีแนวความคิดตั้งต้นว่าอยากขายอาหารและผักผลไม้อินทรีย์คุณภาพสูง ราคาสมเหตุสมผล และมีคนในชุมชนเป็นผู้บริหารจัดการร้านค้าโดยที่กำไรจะหมุนเวียนเพื่อพัฒนาร้านต่อไป
อย่างไรก็ตาม ร้านค้าของผู้ซื้อยังต้องตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ความจำเป็นแรกคือต้องมีสินค้าหลากหลายประเภท ทั้งที่เป็นผักผลไม้ของท้องถิ่น แบรนด์ของผู้ซื้อ (The People’s brand) จำพวก ไข่ นม และขนมปัง รวมถึงสินค้าแบรนด์ทั่วไปอย่างเนสต์เล่ คอร์นเฟลกซ์ แองเจิ้ลดีไลท์หากสินค้าเหล่านั้นยังเป็นที่ต้องการสูง อย่างไรเสียจุดประสงค์หลักของร้านค้าของผู้ซื้อไม่ใช่เพียงเพื่อเป็นร้านค้าเพื่อสุขภาพ แต่เป็นซูเปอร์มาร์เก็ตที่จัดการโดยผู้ซื้อที่เป็นสมาชิกและให้ความสำคัญกับอาหารคุณภาพดี มีราคาย่อมเยา พร้อมทั้งยังสามารถเชื่อมต่อผู้บริโภคและผู้ผลิตได้ ง่ายๆคืออาหารทุกอย่างจากร้านจะมาจากเกษตรกรชาวอังกฤษ ยิ่งมาจากแหล่งผลิตอาหารท้องถิ่นได้ยิ่งดี ส่วนสินค้าแบรนด์ทั่วไปนั้นต้องเป็นของที่สดใหม่ แต่ร้านค้าของผู้ซื้อจะไม่ทำตัวเหมือนกันเหล่าซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ที่เอาแต่กดขี่ผู้ผลิตเมื่อมีโอกาส แผนการตลาดของอาร์เธอร์นั้นขึ้นอยู่กับความหวังดีและการทำธุรกิจเพื่อสังคม
และสมาชิกของสหกรณ์จะเสียค่าสมาชิกรายปี 25 ปอนด์ (1250 บาท) และต้องเข้ามาดูแลร้านอย่างน้อย 4 ชั่วโมงต่อเดือนโดยผลัดเปลี่ยนกับสมาชิกคนอื่น แม้ว่าจะมีทั้งการลงทุนและลงแรง แต่สมาชิกจะได้ลดประมาณ 10% จากการซื้ออาหารในร้านค้าของผู้ซื้อนี้ (หากคิดความประหยัดจากรายจ่ายค่าอาหารทั้งปีบวกกับคุณภาพของอาหารที่ซื้อคงคุ้มไม่น้อย)
เพียงไม่กี่เดือนหลังจากเปิดตัวเมือพฤษภาคมปีที่แล้ว (ฤดูร้อนปี 2553) ร้านค้าของผู้ซื้อได้เริ่มสร้างกำไรจากเงินลงทุนแรก 180,000 ปอนด์ (9 ล้านบาท) ซึ่งมาจากความหวังดีของเผล่าผู้ผลิตอาหารและเงินช่วยเหลือเล็กน้อยจาก Camden Council และ สมาคมกองทุนเพื่อการพัฒนา (Development Trust Association) รวมถึงยังมีการช่วยเหลือจาก Rugby School ซึ่งเป็นเจ้าของที่และได้ลดค่าเช่าที่ให้เนื่องจากเห็นว่าเป็นโครงการเพื่อชุมชน
“เราเพิ่งได้เท่าทุนช่วงต้นกุมภาฯ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ายินดีมากสำหรับธุรกิจเล็กๆ แบบนี้ อีกทั้งจำนวนของสมาชิกยังเพิ่มมากขึ้น 7% ต่อเดือน” อาร์เธอร์กล่าว
แถมยังช่วยลดขยะจากอาหารเหลือทิ้งประมาณ 210 กิโลต่ออาทิตย์ “มันไม่เหมือนการทำงานเท่าไหร่” ซูกิ จ๊อบสัน หนึ่งในสมาชิกของร้านอธิบาย “ตอนที่เป็นว่าที่ตรงนี้มีการประกาศขายก็คิดว่าคงจะกลายเป็นเทสโก โลตัสอีกแห่ง แต่ที่นี่เป็นมากกว่าร้านขายของชำและผักผลไม้ มันอาจจะกำลังเกิดขึ้นอย่างช้าๆ แต่มันจะเปลี่ยนทัศนคติของผู้ซื้อต่อเกษตรกรและแนวคิดและการปฏิบัติต่ออาหาร”
รูปแบบของร้านสามารถให้ความรู้สึกถึงการลงมือปฏิบัติอย่างแท้จริง อาร์เธอร์เองก็เป็นผู้ทาสีร้านและทำความสะอาดเกือบทั้งหมด อุปกรณ์หลายๆอย่างมาจากร้านลดราคาหรือพวกของมือสอง แม้การตกแต่งอาจดูสุกๆดิบๆ ขึ้นอยู่กับว่าสามารถหาของต่างๆและอุปกรณ์ตกแต่งได้มากน้อยแค่ไหน แต่ไม่มีอะไรในการดำเนินกิจการร้านที่เป็นแบบมือสมัครเล่นเพราะสมาชิกทุกคนให้ความสำคัญต่อการดูแลร้านเป็นอย่างดี
อาร์เธอร์ที่เพิ่งมีอายุได้ 40 นั้นอยู่ในวงการอาหารมากว่า 20 ปี เขาเริ่มทำงานเป็นพนักงานทำความสะอาดห้องครัวที่ Lord’s Cricket Ground เมื่ออายุ 15 ตามด้วยการฝึกงานเป็นพ่อครัว 3 ปีที่ Roux brothers ก่อนที่จะทำงานที่ Kensington Palce, The River Café, Petersham Nurseries Café, Cecconi, และ ร้าน Fifteen restaurant ของ เจมี่ โอลิเวอร์ (พ่อครัวที่มีรายการอาหารมากมาย) ในฐานะหัวหน้าพ่อครัวใหญ่
ในปี 2549 อาร์เธอร์ได้สร้างร้านอาหารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 2 แห่ง: Waterhouse และ Acornhouse ในเมือง ชอร์ดิช (ผู้ชนะรางวัลร้านอาหารใหม่ที่ Observer Food Award และไกล์ส คอเรน นักวิจารย์อาหารของอังกฤษ ได้บรรยายว่าเป็น “ร้านอาหารที่สำคัญที่สุดที่ได้เปิดขึ้นในลอนดอนในช่วง 200 ปีที่ผ่านมา”)
หลังจากได้เลิกการเป็นพ่อครัวแล้ว อาร์เธอร์มุ่งมั่นกับการสร้างห่วงโซ่อุปทานใหม่ที่จะเชื่อมต่อผู้บริโภคกับผู้ผลิตโดยตรง “แต่ผมยังไม่สามารถรวบรวมคนที่เข้าถึงเกษตรกรได้โดยตรง ร้านอาหารอาจเข้าถึงคนได้ประมาณ 5% ผมจึงพยายามคิดหาทางที่จะเชื่อมกับคนจำนวนมากได้”
ดังนั้น เมื่อสองปีก่อน เขาจึงวาดฝันร้านค้าเพื่อผู้ซื้อขึ้นมาจากการไป Park Slope Food Coop ที่บรู๊กลิน นิวยอร์ก ซึ่งเป็นร้านที่มีสหกรณ์ผู้บริโภคมาช้านานตั้งแต่ปี 2516 และมีสมาชิกผู้ร่วมเป็นเจ้าของร้านกว่า 14,000 คน และทำงานที่ร้านเพียงอย่างน้อยหนึ่งชั่วโมงต่อเดือน พร้อมทั้งได้รับส่วนลดมากถึง 40%
แม้ว่าปัจจุบัน ร้านค้าของผู้ซื้อนั้นจะยังมีสมาชิกเพียง 400 คน แต่ก็เป็นข้อพิสูจน์แล้วว่าสหกรณ์ผู้โภคสามารถเติบโตและคืนทุนได้อย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งสมาชิกยังได้ความตระหนักและความเชื่อมโยงในสายพานของระบบอาหาร อาร์เธอร์กล่าวต่อว่า “อาหารที่คนอังกฤษกินอยู่ทุกวันนั้น 60% มาจากการนำเข้า และ 90% เป็นผลไม้จากต่างประเทศ ซึ่งเป็นเรื่องที่บ้ามากเพราะเราก็มีอากาศที่เหมาะสำหรับการปลูกพืชอาหาร และยังมีผู้ผลิตอาหารคุณภาพอยู่มาก แต่เราไม่ให้ความสำคัญกับสิ่งนั้น ผมไม่ได้พูดว่าผลจะเปลี่ยนทุกอย่างเพียงชั่วข้ามคืน แต่หนึ่งในวิธีที่จะให้ความรู้คนก็คือการให้เขาได้รับรู้และเข้าร่วมโดยตรง ลอนดอนสามารถที่จะเชื่อมต่อกับชนบทอีกครั้งหนึ่ง”
ที่มา: รพิจันทร์ ภูริสัมบรรณ แปลและเรียบเรียง
จาก http://www.thisislondon.co.uk/lifestyle/article-23922648-arthur-potts-dawson-launches-the-peoples-supermarket.do
ข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.thepeoplessupermarket.org/