ตอนที่ 16 ไปป่าคู้ล่าง (จบ)
แชร์
56
email-subscribers
domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init
action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /home4-ns1sg/food/domains/food4change.in.th/public_html/wp-includes/functions.php on line 6114jetpack-boost
domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init
action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /home4-ns1sg/food/domains/food4change.in.th/public_html/wp-includes/functions.php on line 6114แชร์
56
56
ในวันที่สองที่ป่าคู้ล่าง ช่วงพักหลังกินข้าวเช้า พี่เจนเซ็ตกิจกรรมสาธิตเพื่อให้สมาชิกของกลุ่มผู้ปลูกผักกับผู้มาเยือนได้มีโอกาสเรียนรู้วิธีการทำแชมพูมะกรูดและเพาะถั่วงอกแบบง่ายๆ ไว้กินเอง ซึ่งผู้ที่มานำการสาธิตก็เป็นเครือข่ายผู้ผลิตสินค้าอินทรีย์ในภาคตะวันตก กลุ่มเพื่อนผู้ผลิตที่มีการพบปะ พูดคุย และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างกันอยู่สม่ำเสมอ
ก็อย่างที่พี่เจนบอก ไอเดียเรื่องผู้ผลิตส่งผักตรงให้คนกินไม่ใช่แค่เป็นทางเลือกคนรักสุขภาพและหาแห่งผลิต หาของกินเท่านั้น หากแต่เป้าหมายที่ยังอยู่ไกลแต่เราหวังไว้ร่วมกันคือการสร้างสหกรณ์เพื่อจัดระบบความสัมพันธ์ใหม่เป็นเครือข่ายที่เกื้อกูลกันระหว่างกลุ่มผู้ผลิตกับกลุ่มผู้บริโภคอันหลากหลาย
การสาธิตเริ่มจากแชมพูมะกรูดสูตรส่วนผสมธรรมชาติล้วน ตรา “ในสวน” ของพี่แป๋งกับพี่โหน่ง จาก ราชบุรี ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติทำมือรุ่นแรกๆ ที่ผลิตออกมาจำหน่ายเมื่อกว่า 10 ปีที่แล้ว โดยสูตรแชมพูมะกรูดนี้พี่แป๋งบอกว่า ขึ้นอยู่กับลักษณะผมของแต่ละคน บางคนจะใช้แล้วดี อย่างพี่แป๋งเองใช้สระผมแล้วไม่ต้องสระบ่อยๆ ทุกวัน แต่บางคนอย่างพี่โหน่งเองซึ่งผมมันจะใช้แล้วผมลีบ
วิธีทำง่ายๆ คือ ล้างผลมะกรูดให้สะอาด นำมาผ่ากลาง แล้วนำไปใส่หม้อสเตนเลส ใส่น้ำจนท่วมแล้วต้มนานจนเปื่อย ราว 1 ชั่วโมง จากนั้นนำมาปั่นโดยเครื่องปั่นน้ำผลไม้ แล้วใช้ผ้าดิบหรือผ้าขาวบางกรองคั้นน้ำ น้ำแชมพูที่ได้จะมีเนื้อข้นนุ่ม แชมพูนี้เก็บได้นาน 4 – 5 เดือน โดยไม่มีจุลินทรีย์เข้าไปทำลายให้บูดเสียเพราะแชมพูมีความเป็นกรดฆ่าเชื้อได้อยู่แล้ว หากแต่สีอาจจะเปลี่ยนจากแต่เดิมไปเท่านั้น แต่ถ้าเก็บใส่ขวดแช่ตู้เย็นไว้จะเก็บได้นานถึง 1 ปี โดยมีสีสันสวยเหมือนแรกทำใหม่ๆ ดูสาธิตจากพี่แป๋งคลิปต์ (10 นาที) ที่นี่ http://www.youtube.com/watch?v=dMz-FpKInYI
ถัดมาเป็นการพูดคุยกับ ‘กำพล’ คนเคยทำสื่อวารสารเกษตรกรรมชาติ กับ ‘นก’ อดีตเจ้าหน้าที่มูลนิธิฟื้นฟูชีวิตและธรรมชาติ คู่สามี-ภรรยา ที่ตัดสินใจไปใช้ชีวิตเกษตรกรครบวงจรการผลิตแบบอินทรีย์ที่เริ่มตั้งแต่ปลูกเอง เก็บผลผลิตเอง และขายเองที่ “ไร่ดินดีใจ” อ.หนองขาหย่าง จ.อุทัยธานี
กำพลสาธิตวิธีการเลือกและเพาะถั่วเขียวอินทรีย์กินเองง่ายๆ ที่บ้าน 2 แบบ จากถั่วเขียว 2 สายพันธุ์ (เปลือกดำ และ เปลือกเขียว) ทางเลือกเพื่อหลีกเลี่ยงถั่วเขียวในตลาดที่อาจราดสารอ้วน โดยวิธีเพาะถั่วเขียวแบบกำพลนี้จะเป็นแบบที่กินรากด้วย เพราะที่รากมีสารอาหารและพลังชีวิตอยู่สูง ซึ่งที่ญี่ปุ่นนิยมนำรากถั่วเขียวที่คนไทยเพาะแล้วตัดทิ้งไปตากแห้งแล้วชงน้ำร้อนกินเป็นชา ซึ่งระหว่างการสาธิตเพาะถั่วงอกอินทรีย์มีพี่นีช่วยบรรยายเสริมเรื่องการกินถั่วงอกให้มีประโยชน์ต่อสุขภาพ สลับกับการบอกวิธีสังเกตการณ์เลือกซื้อถั่วเขียวอินทรีย์ แถมท้ายด้วยการทำแป้งถั่วเขียวอินทรีย์ไว้ใช้เอง ซึ่งแป้งถั่วเขียวนี้นอกจากจะช่วยทำให้ผิวสะอาดแล้ว ยังช่วยทำให้ผิวนุ่มและไม่แห้งกร้านอีกด้วย
เรื่องทั่วไปเกี่ยวกับถั่วงอกที่เรากิน กับถั่วงอกอินทรีย์ (10 นาที) http://www.youtube.com/watch?v=DmmGHDt_GKw
วิธีเพาะถั่วงอกอินทรีย์จากไร่ดินดีใจ แบบที่ 1 (2.29 นาที) http://www.youtube.com/watch?v=ZS2dZ-6xzCM
วิธีเพาะถั่วงอกอินทรีย์จากไร่ดินดีใจ แบบที่ 2 (2.34 นาที) http://www.youtube.com/watch?v=O-M-qdcwKcs
สรรพคุณและวิธีทำแป้งถั่วเขียวอินทรีย์ไร่ดินดีใจ (4.54 นาที) http://www.youtube.com/watch?v=CXXwV9jMAEk
ย้อนไปเมื่อเย็นวันแรกที่เราไปถึงบ้านป่าคู้แล้วเจอ นก – กำพล และ ขิง ลูกสาววัย 5 ขวบ แล้วอดดีใจไม่ได้ ก็ทั้งครอบครัวนี้เป็นเพื่อนในแวดวงเดียวกันมานาน เจอะเจอกันเป็นครั้งคราวตามแต่โอกาสจะเอื้ออำนวย
ไถ่ถามทุกข์สุขของผู้ผลิตอินทรีย์รายย่อยอย่างนก นกเล่าให้ฟังถึงผลผลิตข้าวหอมนิลอินทรีย์ที่ปลูกโดยวิธีทำนาโยนในปีนี้ว่าน่าดีใจ แถมยังมีคนมาจับจองไว้จนคิดว่าอยากจะเลิกแปรรูปผลิตภัณฑ์บางชนิดแล้วลงแรงจริงจังกับข้าว
นกเล่าให้ฟังว่าน้ำมันงาอินทรีย์ที่เธอและกำพลทำการบีบเย็นด้วยแรงตัวเองและจำหน่ายเองนั้นถูกผู้ผลิตและจำหน่ายรายหนึ่งขายตัดราคาและแอบอ้างว่าเป็นงาอินทรีย์ทั้งๆ ที่แท้จริงแล้วผลผลิตนั้นนำเข้าราคาถูกมาจากแหล่งที่ไม่สามารถยืนยันได้ว่าเป็นอินทรีย์ทุกขั้นตอน รวมทั้งขั้นตอนการเก็บรักษางาที่ใช้วิธีฉีดพ่นสารกำจัดมอด แมลง โดยที่ก่อนหน้านี้ผู้ผลิตรายนี้เคยโทรมาพูดคุยเรื่องการผลิตงาและการเก็บรักษาจากกำพล….
กรรมวิธีเก็บเกี่ยวถั่วเขียว ของเธอที่ไร่ดินดีใจ ที่เรานำไปกินได้อย่างโปร่งใจหรือจะใช้เอาไปปั่นละเอียดแล้วร่อนเป็นแป้งล้างหน้า ขัดตัว ตามแต่จะเลือกใช้นั้นผิวไม่ได้มันวาว หากแต่จะมีสีเข้มออกคล้ำเพราะต้องปล่อยให้ถั่วแก่จัดแล้วจึงตากแห้ง ทุบเปลือก ร่อน และเก็บในที่แห้งกันแมลง และนำออกมาตากแดดบ้าง โดยก่อนขายจะนำมาล้างเอาฝุ่นออกแล้วตากแดดให้แห้งอีกสัก 2 – 3 แดด แตกต่างไปจากการเก็บเกี่ยวถั่วเขียวส่วนใหญ่ที่มักอาศัยการฉีดพ่นยาฆ่าหญ้าเพื่อให้ใบแห้งร่วงและเก็บเมล็ดถั่วเขียวได้โดยมีผิวมันวาวสวย
ฟังเธอว่า แล้วฉันนึกว่าตัวเองโชคดีที่มีเพื่อนปลูกและซื้อผลผลิตตรงจากเพื่อนมากิน เพื่อนซึ่งเป็นผู้ผลิตรายย่อยและไม่ค่อยมีกำลังซื้อบู้ทไปวางสินค้าจำหน่ายในงานต่างๆ รวมทั้งแม้แต่การจ่ายค่าตรวจและรับรองคุณภาพมาตรฐานผลผลิตอินทรีย์ แต่ใช้วิธีการโทรสั่งซื้อและส่งสินค้าทางไปรษณีย์ หรือบางทีก็ยกลังสินค้ามาให้เมื่อมีโอกาสเจอกันตามงานต่างๆ
เสร็จจากการเสวนาระหว่างผู้ผลิตและสมาชิกรับผักในโครงการใจประสานใจที่บ้านป่าคู้ล่าง พี่เก๋ ขับรถพาตุ๊กกี้และฉัน ตามหลังท้ายรถปิ๊กอัพสีขาวเก่าๆ ไปถึงไร่ดินดีใจก่อนที่ตะวันจะลับฟ้า
นั่งนึกอยู่ในใจว่า … นอกจากความรู้ในการถามถึงขบวนการผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์อินทรีย์ที่เราต้องตั้งคำถามดีๆ เวลาจะเลือกซื้อเลือกกินแล้ว การได้ลงไปคุยและลุยดูถึงแปลง ถึงไร่-สวนแบบนี้ น่าจะเป็นสิ่งที่ทำให้เราคนกินได้รู้จักและเข้าใจของที่กินและคนที่ทำให้เรากินใช้ได้มากยิ่งขึ้น …. แต่วิธีไหนล่ะที่จะรวมพลผู้สนใจได้ผล?
ออกจากไร่ดินดีใจ ท้ายรถพี่เก๋เลยบรรทุกทั้ง แชมพู น้ำมันมะพร้าว น้ำมันงา งาอินทรีย์ 3 สี (ขาว น้ำตาล ดำ) ที่ฉันเอามาทำเป็นของขวัญปีใหม่ แบ่งใส่ขวดเล็กขวดน้อย เป็นลวดลายไว้แจกจ่ายให้กับเพื่อนๆ บางคนที่ชอบเคี้ยวงาสดอินทรีย์กินเล่น ตามคำแนะนำของพี่เละ หมออายุรเวชตำรับอินเดียที่แนะให้เรากินงาสดแทนงาคั่วบด ซึ่งนอกจากจะเสริมแคลเซียมแบบที่ไม่ต้องเสริมสารเคมีอื่นๆ พร้อมไปกับนวดกล้ามเนื้อใบหน้า และทำให้สมองผ่อนคลายไปพร้อมๆ กับการเคี้ยว
สนใจผลิตภัณฑ์ สบู่ แชมพู “ในสวน” พี่แป๋ง พี่โหน่ง โทร. 081-627-0354
แวะเข้าไปเยี่ยมเยียน “ไร่ดินดีใจ” ได้ทางเว็บไซต์ที่ http://raidindeejai.blogspot.com/