ตอนที่ 12 โครงการผักประสานใจ ไม่ไปไม่ได้แล้ว
แชร์
50
email-subscribers
domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init
action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /home4-ns1sg/food/domains/food4change.in.th/public_html/wp-includes/functions.php on line 6114jetpack-boost
domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init
action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /home4-ns1sg/food/domains/food4change.in.th/public_html/wp-includes/functions.php on line 6114แชร์
50
50
จดจ่อรอท่าว่าจะไปเที่ยวโครงการผักประสานใจ โครงการที่พี่น้องชาวเผล่อ* แถบรอยต่อชายแดน 3 จังหวัดสุพรรณบุรี กาญจนบุรี และอุทัยธานี? ซึ่งปลูกผักอินทรีย์และส่งให้คนกรุงเทพฯกินสดๆ ใหม่ๆแบบไม่ธรรมดาฯ ก็ยังไม่ได้ไปสักที
ระลึกได้แต่ความทรงจำเมื่อปี 36 ? 37? ครั้งเคยไปเยี่ยมพี่เจน ระวีวรรณ และพี่พยงค์ นักพัฒนาจากรั้วธรรมศาสตร์ กับลูกๆ ฝังตัวอยู่ที่นั่นซึ่งเป็นบ้านเกิดพี่ พยงค์ ครอบครัวนี้ทำงานการพัฒนาระบบนิเวศน์และอนุรักษ์พืชพันธุ์กับกลุ่มชาวบ้านในแถบนั้นมาตั้งแต่ปี 35 และยังคงทำกิจกรรมดีๆ เพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตที่คนที่กินผักอินทรีย์ในโครงการผักประสานใจ และเคยได้ไปเยี่ยมชมพูดคุยซักถามกับพี่น้องชาวเผล่อแถวนั้นมาแล้ว อย่างคุณนฤมล? จิรวราพันธ์ ตัวแทน? ?กลุ่มผู้บริโภคสนับสนุนเกษตรกร? ที่ฉันเคยพบปะเมื่อปี 49 ในเวทีสมัชชาสังคมไทย 2006 ที่มาเสนอชุดประสบการณ์ในเวทีอภิราย ?ทางเลือกการพัฒนาเศรษฐกิจระดับชุมชน? เธอเล่าให้ฟังกันดีกว่า
?ฐานะของผู้บริโภคคนหนึ่งซึ่งเป็นแม่บ้านธรรมดา เป็นคนในเมืองที่รักครอบครัว อยากหาสินค้าอินทรีย์ก็ต้องไปห้าง แต่ก็ไม่มั่นใจว่าเป็นอินทรีย์จริงหรือไม่ แถมมีราคาแพงด้วย จนกระทั่งได้พบกับ คุณระวิวรรณ ซึ่งได้ไปส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์ให้กับชาวกะเหรี่ยง ที่สุพรรณบุรี
โครงการผักใจประสานใจเป็นมากกว่าการชื้อขาย เพราะเน้นความสัมพันธ์กัน รู้จักกัน คนปลูกรู้ว่าปลูกให้ใครกิน คนกินก็รู้ว่าใครปลูก มีการเยี่ยมเยียนกันปีละ 1-2 ครั้ง นอกจากนี้ยังเป็นโครงการที่ทำให้เกิดการรับความเสี่ยงร่วมกัน โดยผู้บริโภคจะโอนเงินให้ก่อนครึ่งปีเพื่อให้เกษตรกรนำไปเป็นทุนการผลิต ถ้าปีใดผลผลิตดีผู้บริโภคก็จะได้ผักมาก แต่ถ้าเจอปัญหาการผลผลิตก็ได้น้อยตามไป มีการส่งผักตามจุดนัดหมายต่างๆ ในส่วนผู้บริโภคก็ให้ความร่วมมือเดินทางมารับผักยังจุดนัด บางคนขับรถมาไกลกว่า 25 กิโลเมตร เพื่อมารับผัก?
?โครงการนี้เป็นมากกว่าเพียงเพื่อสุขภาพ เนื่องจากผู้บริโภคได้ผักที่ปลอดภัยแก่ตนเองและครอบครัว ถือเป็นการลงทุนระยะยาวให้กับสุขภาพ ได้เป็นส่วนหนึ่งของพลังบุกเบิกเพื่อสังคมใหม่ที่พึ่งพาตนเอง รวมทั้งมีเพื่อนร่วมทางมากมาย เช่น ไข่? ข้าว? อย่างไรก็ตามสิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้นั้นผู้บริโภคเองต้องปรับเปลี่ยนมุมมองเรื่องผัก หันมากินผักตามฤดูกาล และสามารถดัดแปลงเมนูตามผักที่มีได้ ซึ่งยังคงเป็นปัญหาสำคัญในการขยายสมาชิกในปัจจุบัน? ซึ่งสิ่งที่ดำเนินโครงการมามีความมุ่งหวังให้กว้างไปถึงการรักษาพลังงานและสิ่งแวดล้อม เน้นการใช้ทรัพยากรภายใน ส่งเสริมวิถีชีวิต เกิดความเกื้อกูลกัน หนุนช่วยเกษตรอินทรีย์ในระยะผ่านนี้ และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเมืองกับชนบท ดังนั้นจะเห็นได้ว่า สังคมใหม่ประชาชนสร้างได้ โดยเริ่มต้นจากที่ตัวเรา?
จำได้ว่าบรรดาผู้คนที่นั่งฟังเธอบรรยายพร้อมสไลด์ภาพที่จัดเตรียมมาต่างมีสีหน้าประหลาดใจระคนยินดี? และทึ่งที่ ?กลุ่มผู้บริโภคสนับสนุนเกษตรกร? กลุ่มนี้มองเห็น คิดไกล และพยายามทำไปเรียนรู้ไป? แถมยังให้กำลังใจคนเมืองอย่างเราๆ ที่ยังไม่เห็นช่องทางการหากินผักดีๆ แต่หาแหล่งที่ไว้ใจได้ยากว่า
?เราก็ต้องปรับเปลี่ยนเมนูตามผักที่มีตามฤดูกาล นี่เป็นข้อจำกัดที่ทำให้ผู้บริโภคบางส่วนถอนตัวไป ? มาวันนี้ที่เคยคิดว่าตัวเองเป็นแกะดำก็มีความหวังมากขึ้น คิดว่าสังคมมีทางออก อย่าท้อแท้ ต้องมีเครือข่ายเป็นกัลยาณมิตรกัน เรื่องสังคมเป็นของเรา ทุกอย่างรอบตัวควรเป็นไปด้วยความเกื้อกูลกัน เรามาระดมสมองกันหาทางแก้ไขให้กำลังใจกัน?
ฟังคุณรสนา? โตสิตระกูล สว. กทม. อธิบายคอนเซ็ปต์โครงกรผักประสานใจ แทนพี่เจนดีกว่า ในฐานะที่มูลนิธิสุขภาพไทยเคยมีโครงการศูนย์เกษตรกรรมธรรมชาติที่หนองจอก มีนบุรีและเคยทำกิจกรรมคล้ายๆ กันนี้แต่ปิดโครงการไปเมื่อปี 47 เธอว่าโครงการแบบนี้พัฒนารูปแบบการทำงานมาจากอเมริกาที่เรียกว่า CSA: Community Supported Agriculture??
คำว่า Community นี้ใหญ่และครอบคลุมกว่า Consumer เพราะไม่ใช่เพียงแค่บริโภคอย่างที่สังคมอุตสาหกรรมเสรีนิยมกำหนดให้ผู้คนทำหน้าที่แค่บริโภคเข้าไป? แต่คำนี้พัฒนามาจากแนวคิดของญี่ปุ่น ที่เรียกว่า ?เกเก้? ซึ่งหมายถึงการที่กลุ่มผู้บริโภคเข้ามามีส่วนร่วมคิดต้นทุนการผลิต และร่วมลงทุน เป็นหุ้นส่วนการผลิต เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนผู้ผลิตที่ต้องการรักษาอาหารดีๆให้มีกินมีผลิตโดยเกษตรกรที่ทำการผลิตที่ดีๆ เอาไว้ให้มีกินไปยันรุ่นลูกรุ่นหลาน รวมทั้งผู้บริโภคกลุ่มนี้ยังสร้างสรรค์กิจกรรมดีๆ ได้ดีมากมาย อย่างสหกรณ์ ?เซกัตจึ? ที่ตั้งเมื่อ 30 ปีที่แล้ว และมีกระจยอยู่ทั่วประเทศญี่ปุ่น ซึ่งนอกจากจะรวมตัวกันซื้อสินค้าราคาถูกและกำหนดมาตรฐานได้เองแล้วยังสร้างระบบกระจายสินค้า? รวมไปถึงการนำเงินปันผลมาส่งเสริมกลุ่มสตรีที่ลาออกจางานมาเลี้ยงลูกและหารายได้เพิ่มจากโครงการ ?โอเบนโตะ? (อาหารของแม่ที่ปลอดภัยเพื่อลูก) ขายให้กับคนงานในราคาถูกแต่มีคุณภาพดี
ผักที่สมาชิกกลุ่มผู้บริโภคสนับสนุนเกษตรกรนี้กินเข้าไป จึงสร้างทั้งกำลังกายกำลังใจให้กับเกษตรกรซึ่งเมื่อเริ่มปลูกในช่วงแรกๆ จะต้องเรียนรู้และทำงานอย่างหนัก ขณะที่คนกินเองก็ต้องอดทนกินผักที่ผลิตได้ตามสภาพแวดล้อมความเป็นจริง อย่างข้อจำกัดของฤดูกาล และทักษะของคนปลูก
ภาพผักสวยๆ ที่เห็นเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นง่ายๆ แต่ด้วยน้ำพักน้ำแรง ความอดทนของกลุ่มชาวบ้านจากจุดเริ่มต้นของโครงการผักประสานใจในปี 38 ซึ่งตอนนี้มีอยู่ 10 ราย ที่ได้ใจต่อใจจากกลุ่มผู้บริโภคสนับสนุนเกษตรกร 70 คน จนผ่านปัญหาอุปสรรค์นานามามากมาย? และยังคงมุ่งมั่นที่จะพัฒนาโครงการร่วมกันต่อไป?
ยังไม่ทันได้เดินทางเลย? ฉันก็สัมผัสได้ถึงบรรยากาศดีๆ อากาศดีๆ และมิตรไมตรีของผู้คน ณ ที่แห่งนั้น? แล้วหลังจากทริปนี้คงจะมีเรื่องดีๆ มาเล่าสู่กันฟังค่ะ??
ผู้ที่สนใจติดต่อพี่เจนได้ที่ 081-9818581 ถ้าโทรไม่ติดยังมีอีกทางคืออีเมลล์นี้ thai.csa@gmail.com
ชาวเผล่อ*? คำเรียกตัวเองของพวกเขา ซึ่งพวกเรามักเรียกกะเหรี่ยงโปว์