ความหลากหลายของราชาแห่งไม้ผลเมืองร้อน
แชร์
288
email-subscribers
domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init
action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /home4-ns1sg/food/domains/food4change.in.th/public_html/wp-includes/functions.php on line 6114jetpack-boost
domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init
action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /home4-ns1sg/food/domains/food4change.in.th/public_html/wp-includes/functions.php on line 6114แชร์
288
288
มีการคาดการณ์กันว่า ทุเรียนที่ปรากฏใน จ.จันทบุรี ในปัจจุบันน่าจะมีที่มาจากสายพันธุ์ทุเรียนใน ต.บางกร่าง จ.นนทบุรี แต่แม้จะเป็นทุเรียนสายพันธุ์เดียวกัน ก็ใช่ว่าจะเหมือนกัน หากปลูกอยู่ต่างพื้นที่ ระบบนิเวศย่อมต่างกัน การดูแลรักษาก็ย่อมต่างกันเช่นกัน อดิสรณ์ ฉิมน้อย แห่งศูนย์การเรียนรู้เพื่ออนุรักษ์ทุเรียนพื้นบ้านนนทบุรี สวนตาก้าน บางกร่าง นนทบุรี ได้เล่าให้เราฟังว่า สิ่งสำคัญที่สุดในการทำสวนทุเรียน คือ ดิน น้ำ ความชื้นสัมพัทธ์ และระบบนิเวศโดยรวมของพื้นที่ว่าเป็นอย่างไร ชาวสวนทุเรียนนนทบุรีนิยมปลูกต้นทุเรียนเป็นแนวในทิศตะวันตกเพื่อไม่ให้ต้านลม เมื่อลมพายุพัดมาต้นทุเรียนจะได้ไม่เสียหาย ใช้การลอกเลน (หรือสาดเลน) โดยใช้ใบทองหลางหมักในท้องร่องแทนปุ๋ยเพื่อบำรุงต้นในช่วงหน้าฝน เมื่อฝนหมดจะงดน้ำแล้วทุเรียนจะออกดอกตามธรรมชาติโดยไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมี รวมทั้งปลูกทุเรียนแบบสวนยกร่องเพื่อให้รากระบายน้ำได้ดี แก้ปัญหาโรครากโคนเน่าและโรคไฟทอปธอร่าได้ จึงทำให้ให้ทุเรียนนนท์มีคุณภาพดี และมีต้นทุนต่ำเพราะพึ่งพาธรรมชาติเป็นส่วนมาก เทคนิคหนึ่งที่สำคัญของการทำสวนทุเรียนดั้งเดิมในนนทบุรีคือการปลูกพืช 8 ชั้น โดย ชั้นที่ 1 ให้ปลูกสายบัวหรือผักบุ้งในท้องร่อง จะช่วยให้น้ำใสสะอาด ชั้นที่ 2 ให้ปลูกพืชใต้ดินติดรอบโคนทุเรียน เช่น ข่า ตะไคร้ ชั้นที่ 3 ให้ปลูกพืชบนผิวดินเป็นเทือก เช่น สับปะรด พริกขี้หนู มะเขือพวง มะเขือเปราะ ชั้นที่ 4 ให้ปลูกพืชรอง เช่น มังคุด ส้มโอ ชั้นที่ 5 ปลูกทุเรียน ชั้นที่ 6 ให้ปลูกไม้เลื้อย เช่น พลู พริกไทย ดีปลี ชั้นที่ 7 และ 8 ให้ปลูก หมาก มะพร้าว เพื่อเพิ่มอออกซิเจนแก่พืช (เนื่องจากเป็นพืชที่คายออกซิเจนได้ดี) เทคนิคการทำสวนแบบผสมผสานเช่นนี้จะทำให้ระบบนิเวศในสวนสมดุล
ทุเรียนในแต่ละพื้นที่ แต่ละสายพันธุ์มีนิสัยต่างกัน ผู้ปลูกต้องใช้ประสบการณ์และความชำนาญในการดูแล หากเป็นทุเรียนนนท์ดั้งเดิม เช่น กบตาขำ หากตัดขายตอนแก่จัด (ความแก่ 95%) เนื้อจะเละ รสขม กินไม่ได้ ควรตัดในช่วงที่ทุเรียนมีความแก่เพียง 90% จึงเหมาะสม เพราะน้ำตาลในเนื้อทุเรียนจะยังไม่แปรสภาพมาก รสจะไม่ขม หรือทุเรียนพันธุ์กบพิกุล ซึ่งกลับมาเป็นที่ต้องการมากในปัจจุบัน การดูแลต้องค่อนข้างละเอียดอ่อน หากไม่ผลัดดอกต้องช่วยผสมเพราะติดลูกยากมาก แต่หากทำอย่างเหมาะสมจะได้ทุเรียนเนื้อละเอียด สีสวย รสชาติหวานมัน ส่วนพันธุ์กบชายน้ำ มีเทคนิคการดูว่าแก่แล้ว กินได้แน่ๆ ต้องดูที่หนามจะเป็นลาย หากสุกแล้วร่องหนามจะขึ้นีแดงและมีสีเขียวเป็นเส้นใหญ่พาดผ่าน หากไม่ได้ตัดในเวลาที่สมควรอาจทำให้กินไม่อร่อยเสียดื้อๆ อีกพันธุ์หนึ่งคือกบชายน้ำ ที่เอาใจยากพอๆกัน แม้จะมีเนื้อจะละเอียด หวานมัน แต่ข้อเสียคือมีลูกปีเว้นปี หากชาวสวนไม่เข้าใจธรรมชาติจะไปเร่งให้มีลูกซึ่งเป็นไปไม่ได้ แต่ปัจจุบันเป็นพันธุ์ที่ราคาสูงมากราวหนึ่งแสนบาททีเดียว ฉะนั้นทุเรียนทุกสายพันธุ์มีนิสัยส่วนตัว มีข้อดี และมีข้อเสียต่างกันไป ไม่มีใครดีกว่าใคร แค่เลี้ยงเขาอย่างเข้าใจก็จะได้ผลผลิตดั่งต้องการ
ทุเรียนมีถิ่นกำเนิดในแถบหมู่เกาะบอร์เนียวซึ่งอยู่ระหว่างประเทศ อินโดนิเซีย มาเลเซีย และบรูไน ซึ่งจะมีความอร่อยแตกต่างจากไทยมาก บางชนิดมีลูกเล็กเท่าฝ่ามือ บางชนิดมีเนื้อสีแดง คาดว่าอยู่ที่เทคนิควิธีการในการทำสวน และการคัดเลือกสายพันธุ์ รศ.ดร.จรัสศรี นวลศรี ภาควิชาพืชศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หาดใหญ่ เล่าให้เราฟังถึงการเก็บข้อมูลทุเรียนสายพันธุ์ต่างๆได้อย่างน่าสนใจ โดยพบว่าทุเรียนในภาคใต้ของไทยก็แตกต่างกับทุเรียนแถบนนทบุรีหรือตะวันออก ทั้งขนาดของผล เมล็ด และสีของเนื้อก็แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด น่าเสียดายที่ปัจจุบันสวนทุเรียนในภาคใต้เหลือน้อยเต็มทีเนื่องจากถูกแทนที่ด้วยพืชเศรษฐกิจอย่างปาล์ม และยางพารา
ปัญหาสำคัญของทุเรียนคือโรครากโคนเน่า พบมากทางภาคใต้เนื่องจากอากาศชื้น ชาวสวนมักละเลยไปเนื่องจากเจ้าโรคร้ายนี้กว่าจะปรากฏให้เห็นด้วยตาก็พบว่าเกินเยียวยาเสียแล้ว การคัดเลือกสายพันธุ์ทุเรียนจึงจำเป็นต้องหาต้นตอที่ต้านทานต่อโรคนี้ได้ดีด้วย ในขณะที่ทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองมาเลเซียอย่างมูซานคิงกำลังได้รับความสนใจจากทั่วโลก ด้วยรสชาติหวาน หอม และออกขมนิดๆ ถูกปากชาวเอเชียจนถูกขนานนามว่าราชาแห่งทุเรียนมาเลเซีย แต่เมื่อมองกลับมาที่พันธุ์ทุเรียนพื้นเมืองของไทยก็พบสิ่งที่น่าสนใจไม่น้อยหน้า จากงานวิจัยพบเจอทุเรียนสายพันธุ์ดีในจำพวกทุเรียนป่า หรือทุเรียนพันธุ์พื้นบ้าน เช่น ทุเรียนพันธุ์นก (D.lowianus) ที่มีระบบรากแข็งแรง ทนทานโรคดี หรือ ทุเรียนพันธุ์ชาเรียน (D.mansoni) -“ชา”แปลว่า “คล้าย” ชาเรียนจึงหมายถึงพืชที่มีผลคล้ายทุเรียน- สายพันธุ์ทุเรียนป่าเหล่านี้มักไม่มีเนื้อ รสชาติไม่ดี ไม่สามารถกินหรือทำการค้าได้เลย บางพันธุ์พบว่ามีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ไขมันอิ่มตัวน้อยกว่าทุเรียนพันธุ์ชะนีหรือหมอนทองที่นิยมรับประทานเสียอีก ในขณะที่พันธุ์กำปั้น หรือ พันธุ์มะแว้ง ในจังหวัดพังงา แม้ผลจะมีขนาดเล็กมาก แต่มีรสชาติดี เมล็ดลีบ กินง่าย อาจเหมาะกับผู้บริโภคบางกลุ่มที่ไม่ต้องการรับประทานทุเรียนที่มากเกินไป การคัดเลือกสายพันธุ์ทุเรียนจึงไม่ใช่เรื่องของรสชาติ หรือขนาดผลเท่านั้น แต่จะพิจารณาคุณค่าทางโภชนาการ บางพันธุ์แม้จะไม่เหมาะนำมารับประทาน แต่มีประโยชน์ด้านอื่น เช่น ใช้เป็นพันธุ์ต้นตอแล้วค่อยเสียบยอดด้วยสายพันธุ์ดีอื่น ฉะนั้นหากเราละเลยพันธุ์ทุเรียนป่าไป เพียงเพราะรสชาติไม่อร่อย รับประทานไม่ได้ ขายไม่ออก ก็จะเป็นการมองข้ามสายพันธุ์ทุเรียนดีๆที่มีคุณค่าไป สายพันธ์ที่ทดและสร้างความหลากหลายของทุเรียนไปอย่างน่าเสียดาย
เป็นที่ทราบกันดีว่าทุเรียนมีถิ่นกำเนิดที่เกาะบอร์เนียว ในยุคการล่าอณานิคม ชาวตะวันตกที่เดินทางมาค้าขายในแถบเกาสุมาตราเริ่มมีการซื้อขายทุเรียน ทำให้ทุเรียนเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก นอกจากนี้ธรรมชาติของทุเรียนยังเป็นพืชความหลากหลายของสายพันธุ์เยอะมาก ผศ.ดร.ปิยะศักดิ์ ชอุ่มพฤกษ์ ภาควิชาพฤกษศาสตร์ จากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทำการศึกษาทุเรียนสายพันธุ์ป่าต่างๆพบว่าทุเรียนเป็นพืชผสมข้าม ทุกครั้งที่ทุเรียนออกดอก เกสรตัวเมียจะแทงออกมาด้านล่างเพื่อพร้อมผสมพันธุ์ ฉะนั้นทุเรียนจะไม่มีโอกาสผสมภายในตัวเอง ส่วนละอองเรณูของทุเรียนจะไม่สามารถปลิวออกไปเองได้ จำเป็นต้องใช้แมลงเพื่อผสมเกสร และสัตว์อื่นบางชนิด เช่น ค้างคาวเล็บกุด ทั้งหมดนี้จึงเป็นเหตุผลให้ทุเรียนเป็นพืชที่มีแต่การผสมข้ามเท่านั้นจึงทำให้มีความหลากหลายสูงมาก
ตามเอกสารทางวิชาการพบว่าในอดีตมีทุเรียนราว 30 สปีชีส์ กับ 300-400 สายพันธุ์ แต่เมื่อสภาพแวดล้อมเปลี่ยนไป หลายสายพันธุ์ไม่ปรากฏว่ามีอยู่จริงเนื่องจากสูญหายหรือไม่ก็ถูกกลืนไปกับสายพันธุ์อื่น บางสายพันธุ์กินไม่ได้แต่กลับเป็นต้นตอพันธุ์ที่ดี เช่น หลงลับแล ที่พบใน จ.อุตรดิตถ์ ความหลากหลายนี้ทำให้ทุเรียนมีโอกาสนำไปคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์ได้ดีมาก แต่เนื่องจากเป็นไม้ผล จะเห็นผลได้อาจใช้เวลานานถึง 30 ปี หรือแม้แต่สายพันธุ์เดียวกันก็ยังแบ่งได้อีกหลายกลุ่ม ยิ่งมีความหลากหลายมากเพียงใดโอกาสที่จะอยู่รอดไปได้มากเท่านั้น
หากใช้กล้องจุลทรรศน์สามมิติส่องดูที่ผิวใบทุเรียน เราจะพบว่าที่ผิวใบแต่ละชั้นมีขนปกคลุมและมีระบบการกระจายตัวของขนที่แตกต่างกันในแต่ละพันธุ์ ทำให้ทุเรียนแต่ละพันธุ์มีความอ่อนไหวต่อสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน ส่วนดอกหรือกลีบรองหม้อตาลของทุเรียนก็ยังต่างกันอีก ทำให้เราเห็นว่าบางครั้งทุเรียนแต่ละสายพันธุ์เรามองด้วยตายังแทบแยกไม่ออก แต่หากนำมาวิเคราะห์ระดับ DNA แล้วหละก็จะเห็นเอกลักษณ์ของแต่ละสายพันธุ์อย่างชัดเจน
ความแตกต่างของ กลิ่น รส และเนื้อสัมผัสของทุเรียนก็เช่นกันที่เกิดจากสารประกอบซัลเฟอร์ เอสเทอร์ และฮอร์โมนหลายชนิดร่วมบรรเลงคล้ายวงดนตรีวงใหญ่ จะพันธุ์ไหนก็ขึ้นอยู่กับว่าจะบรรเลงวงดนตรีเป็นท่วงทำนองใด ฉะนั้น แต่ละพันธุ์ก็มีความโดดเด่นที่แตกต่างกัน ความแตกต่างหลากหลายนี้คงไม่สามารถมอบคุณค่าหรือความสำคัญแก่พันธุ์ใดพันธุ์หนึ่งเป็นพิเศษได้เลย.