ถั่วมะแฮะ พืชที่มีค่ามากกว่าบำรุงดิน
แชร์
112
email-subscribers
domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init
action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /home4-ns1sg/food/domains/food4change.in.th/public_html/wp-includes/functions.php on line 6114jetpack-boost
domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init
action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /home4-ns1sg/food/domains/food4change.in.th/public_html/wp-includes/functions.php on line 6114แชร์
112
112
หากพูดถึงประโยชน์ของพืชตระกูลถั่วทั้งหลายแล้วเราต่างรู้ดีว่าคือพืชปรับปรุงดินที่ทรงประสิทธิภาพ ในระบบเกษตรของบ้านเรามีการนำถั่วมาปลูกสลับกับพืชไร่อื่นๆ เพื่อบำรุงดินระหว่างรอบการผลิต เพราะพืชตระกูลถั่วมีความสามารถในการตรึงไนโตรเจนเมื่อปลูกและไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสดกระบวนการย่อยสลายจะค่อยๆ เติมไนโตรเจนซึ่งเป็นแร่ธาตุจำเป็นในการเจริญเติบโตของพืชคืนให้กับดินและขณะเดียวกันก็เพิ่มช่องว่างให้ดินไม่แน่นเกินไป
ถั่วที่นิยมปลูกเพื่อปรับปรุงดินโดยเฉพาะมีหลายชนิด เช่น ถั่วพร้า ถั่วขอ ถั่วมะแฮะ ฯลฯ ถั่วเหล่านี้รับประทานได้แต่ไม่เป็นที่นิยม ในความไม่นิยมนี้จึงเป็นที่น่าเสียดายที่เรามองข้ามถั่วมะแฮะแหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีน (คิดจากส่วนที่บริโภค 100 กรัม เมล็ดสดมีโปรตีน 70% และ 19.2% ในเมล็ดแห้ง) มีกรดอมิโนจำเป็นเทียบเท่ากับถั่วเหลือง นอกจากนั้นยังมี วิตามินบีสูง
และยังอุดมด้วย แคลเซียม โปแตสเซียม ฟอสฟอรัส แม็กนีเซียม วิตามินเอ และไนอาซิน เป็นถั่วไขมันต่ำ เหมาะกับผู้ที่ลดความอ้วน ช่วยลดน้ำตาลและลดโคเลสเตอรอลในเลือด
กรดอะมิโน (คิดเป็นกรัมต่อ 100 กรัมของโปรตีน) | ถั่วมะแฮะ | ถั่วเหลือง |
---|---|---|
Cystine | 3.4 | 1.2 |
Lysine | 1.5 | 6.6 |
Histidine | 3.8 | 2.5 |
Arginine | 1.2 | 7.0 |
Aspartic acid | 19.2 | 8.3 |
Threonine | 2.2 | 3.9 |
Glutamic acid | 6.4 | 18.5 |
Proline | 5 | 5.4 |
Glycine | 4.4 | 3.8 |
Alanine | 3.6 | 4.5 |
Valine | 9.8 | 5.8 |
Methionine | 8.7 | 1.1 |
Isoleucine | 7.6 | 5.8 |
Tyrosine | 5 | 3.2 |
Phenylalanine | 3.4 | 4.8 |
Leucine | 7 | 7.6 |
ที่มา : James A. Duke. 1983. Handbook of Energy Crops. unpublished
ถั่วมะแฮะ Cajanus cajan (L.) Millsp. พืชในวงศ์ LEGUMINOSAE เป็นไม้พุ่มสูงประมาณ 1.5-2 เมตร อายุ 2-3 ปี ใบรวมมี 3 ใบย่อย รูปหอกขอบเรียบ ปลายแหลม มีขน ช่อดอกยาวประมาณ 10 เซนติเมตร มีหลายสายพันธุ์ ฝักอ่อนสีเขียวสายเมื่อฝักแก่เป็นสีแดงอมม่วง เมล็ดค่อนข้างกลม ฝักสดรสฝาด เป็นไม้เขตร้อนปลูกและนิยมรับประทานกันมากในประเทศอินเดียและขยายพื้นที่ปลูก ไปยังทวีปอัฟริกาตะวันออกและแถบแคริบเบียน รับประทานเมล็ดแห้ง ต้นและใบ รักษาเส้นเอ็นพิการและใช้ขับผายลมลงเบื้องต่ำ ราก เป็นยาขับลมก้อนนิ่วที่เกิดจากไต ช่วยกระตุ้นให้ไตทำงาน
ชาวบ้านทั่วทุกภาคของไทยมักปลูกไว้ในสวนครัวตามบ้านต้นสองต้น หรือปลูกแซมในไร่นา และรักษาเมล็ดพันธุ์ด้วยการปลูกปีต่อปี เรียกชื่อต่างๆ กันไป ถั่วแฮ มะแฮะ ถั่วแระ ถั่วแม่ตาย ถั่วแรด มะแฮะต้น ถั่วแฮ่ ส่วนใหญ่กินเป็นผักสดจิ้มน้ำพริก ภาคอีสานกินกับเมี่ยงข่า ปลาร้าสับและนิยมนำมาตำเหมือนส้มตำ ยังไม่นิยมรับประทานเมล็ดแห้งมากนัก
หากมีการส่งเสริมอย่างจริงจังถั่วมะแฮะมีศักยภาพในฐานะแหล่งโปรตีนที่ทดแทนถั่วเหลืองได้ อีกทั้งมีข้อดีคือมีไขมันในปริมาณที่ต่ำกว่า สำหรับการแปรรูปเป็นเครื่องดื่มน้ำเต้าหู้ถั่วมะแฮะก็ไม่มีกลิ่นเต้าหู้อย่างถั่วเหลือง นอกจากนั้นยังสามารถนำมาเพราะเป็นถั่วงอก ผลิตเป็นแป้งถั่วมะแฮะและทำวุ้นเส้นถั่วมะแฮะได้อีกด้วย
แต่อย่างไรก็ตามหากมองในแง่ส่งเสริมการผลิตยังมีข้อจำกัดอีกหลายอย่างที่ไม่สร้างแรงจูงใจด้านการตลาด เช่น ขนาดต้นที่ใหญ่ อายุในการให้ผลผลิตช้าและให้ผลผลิตต่ำกว่าถั่วเหลืองซึ่งได้รับการปรับปรุงพันธุ์ให้อายุสั้นได้ผลผลิตจำนวนมาก แต่หากมองในมิติของความมั่งคั่งทางอาหารแล้วถั่วมะแฮะเป็นของขวัญล้ำค่าที่ธรรมชาติมอบให้มนุษย์
ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันระหว่างคนที่ส่งเสริมการบริโภคถั่วชนิดต่างๆ อย่างหลากหลาย กินอาหารที่ปลอดภัยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม สุขภาพและเป็นธรรมต่อคนในสังคม เนื่องจากความนิยมที่ขาดความเข้าใจนำไปสู่การพยายามปรับเปลี่ยนระบบซึ่งธรรมชาติได้จัดสรรไว้แล้ว อาจเกิดการดัดแปลงพันธุกรรมให้ถั่วมะแฮะให้ผลผลิตมากและใช้เวลาปลูกน้อย สามารถแข็งขันกับถั่วอื่นๆ ในท้องตลาดได้ ซึ่งผลที่ตามมาก็คือการทำลายคุณสมบัติตามธรรมชาติของมันจนเรามองข้ามความสำคัญของถั่วชนิดอื่นๆ อย่างที่เรามองข้ามถั่วมะแฮะและอาจนำไปสู่การผูกขาดเป็นเจ้าของโดยพ่อค้า นายทุนซึ่งเห็นช่องทางหาผลประโยชน์
ดังนั้นหากเราต้องการสร้างความยั่งยืน มั่งคั่งทางอาหารแล้วละก็ เราควรเรียนรู้ธรรมชาติของถั่วชนิดต่างๆ ว่าดีต่อร่างกายอย่างไร ดีต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร ที่ถูกต้องแล้วระบบนิเวศที่สมดุลย์ย่อมมีพื้นฐานมาจากชีวิตที่หลากหลายและมนุษย์ควรได้รับประทานอาหารที่หลากหลายเพียงพอ เพื่อความแข็งแรงตามธรรมชาติมิใช่หรือ
ที่มา : วารสารเกษตรกรรมธรรมชาติ