ตอนที่ 28 จากแปลงสู่ปาก และเรื่องยุ่งยากที่ต้องแก้ด้วยการดัดจริต
แชร์
225
email-subscribers
domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init
action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /home4-ns1sg/food/domains/food4change.in.th/public_html/wp-includes/functions.php on line 6114jetpack-boost
domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init
action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /home4-ns1sg/food/domains/food4change.in.th/public_html/wp-includes/functions.php on line 6114แชร์
225
225
ในเทศกาลหนังกินแหนงแคลงใจ ในวันแรกเริ่มโหมโรงด้วยหนังสั้น “The Luckiest Nut In The World” และภาพยนตร์เรื่อง King Corn ตามด้วยการเสวนา “จากแปลง สู่ปาก” โดยมีนักจัดรายการวิทยุชื่อดังแห่งรายการเช้าทันโลก FM 97.5 “กรรณิการ์ กิจติเวชกุล” มาชวนคุยและตั้งคำถามท้าทายต่อ 2 ผู้ร่วมเสวนา นักเขียนนักวิจารณ์ปากกล้า “คำ ผกา” และ นักวิชาการจากคณะรัฐศาสตร์ จุฬา “อาจารย์พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์” ซึ่งมาช่วยสะท้อนให้เห็นทิศทางการรณรงค์เรื่องอาหารเพื่อรักษาความหลากหลายของอาหาร สิ่งแวดล้อมและผู้ผลิต เพื่อให้ผู้บริโภคมีอาหารที่ดีๆ กิน ซึ่งเป็นโจทย์ใหญ่ ยังมีอะไรให้ต้องลงแรงอีกมหามหึมาท่ามกลางปัญหาการผลิตของเกษตรกรและความซับซ้อนของโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคม
ดูหนังกันก่อน
แอนิเมชั่นที่ใช้เสียงเพลงประกอบการนำเสนอของ The Luckiest Nut In The World เล่าถึงความโชคดีสุดๆ ของถั่วลิสงอเมริกาที่มีต่อถั่วลิสงของโมแซมบิค และโบลิเวียในเวทีการค้าเสรี ถั่วอเมริกามีรัฐบาลจัดสรรลงทุนโครงสร้างปัจจัยการผลิต การขนส่ง มาตรการทางกฎหมาย และสนับสนุนผู้ผลิตถั่วอเมริกาที่คู่แข่งสหรัฐซึ่งยากจนกว่าสู้ไม่ได้ ส่วน King Corn ซึ่งเป็นหนังที่มี 2 หนุ่มเพื่อนซี้เดินทางกลับไปถิ่นอาศัยสมัยคุณทวดซึ่งเป็นยุคบุกเบิกการทำไร่ข้าวโพดอุตสาหกรรมซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยรัฐที่ให้งบอุดหนุนให้ปลูกข้าวโพดแทนการจ้างให้หยุดปลูกเพื่อควบคุมผลผลิตก่อนหน้ายุค 1970 ทั้ง 32 กลับไปแล้วเริ่มต้นทำการปลูกข้าวโพดใหม่อีกครั้งโดยตั้งคำถามกับผลผลิตที่ตัวเองปลูกว่ามันเดินทางไปเส้นไหน และเกี่ยวพันอย่างไรกับอาหารที่พวกเขากินในทุกวัน
ฟังความ : ดูหนังแล้วคิดยังไง
“มันเห็นชัดว่ารัฐมันช่วย subsidize เพื่อต้องการให้คนจนมันเข้าถึงอาหารถูกได้ ซึ่งถ้าเทียบกับเมืองไทย มันคือนโยบาย urban bias ที่นอกจากจะพัฒนาเมืองมากกว่าชนบทแล้ว ในอดีตมันยังทำหน้าที่บีบให้อาหารจากภาคการเกษตรถูกเพราะไม่อย่างนั้นมันไม่สามารถนำมาเลี้ยงคนจนที่เป็นแรงงานอยู่ในเมืองได้ แต่ก็สร้างปัญหาให้กับคนในชนบท เมื่อมี globalization มันก็ตอบไม่ได้ว่าคนจนในชนบทจะเข้าถึงอาหารราคาถูก เพราะก็ต้องผ่านโครงสร้างที่จะต้องส่งออก ก็เลยทำให้คนอยู่ภายใต้โครงสร้างอำนาจของบริษัทใหญ่ ต้องทำ Contract Farming ซึ่งผมเห็นว่าเรื่องนี้ต่างหากที่มันใหญ่ มันคนละโจทย์กับที่ King Corn นำเสนอ ซึ่งของไทยมันมีโจทย์ที่เหนือกว่า” อาจารย์พิชญ์ชี้ พร้อมย้ำถึงปัญหาการผลิตในเมืองไทยว่า
“โจทย์ที่ชัดจริงๆ ของไทยก็คือ เกษตรกรมันถูกกด เพราะว่ามันมีระบบการผลิตที่บีบให้ทุกอย่างอยู่ในเครือข่ายของมันเพื่อที่จะส่งออก เอาประโยชน์ และเพื่อที่จะควบคุมทั้งคนรวยและคนจนในเมืองแล้ว ซึ่งบริษัทอุตสาหกรรมเกษตรยักษ์ใหญ่ในประเทศไทยเป็นบริษัทที่บริจาคเงิน นั่นนี่ คุมเครือข่ายทุกอย่าง ซึ่งเป็น convergent ตัวจริงเสียงจริง มันไม่ใช่แค่บริษัทพวกนี้เอาของถูกมาให้เรากินนะ มันควบคุมครอบงำตัวเราทุกอย่างในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของโลกาภิวัตน์”
สำหรับ คำ ผกา เธอสะท้อนความเห็นจากหนังที่ดูว่า นโยบายรัฐบาลในการอุดหนุนเกษตรกรมันเข้าท่า
“เมืองไทยตอนนี้น่าจะกลับไปใช้นโยบายของอเมริกา ปี 1970 แขกยังอยากเห็นความอยู่รอดปลอดภัยของเกษตรกรมากกว่าของผู้บริโภคอย่างเราๆ ยังคิดเรื่องนโยบายจ่ายค่าชดเชยให้แก่เกษตรกร และเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย เกษตรกรมีสิทธิที่จะเข้าถึงแหล่งทุน เทคโนโลยีมาพัฒนาการผลิต ให้ประหยัดแรงงาน ทำงานเบาลง”
“มันต้องตอบปัญหาความยากจนของเกษตรกรไทยที่ยังมีอีกหลายเรื่องที่เราจะต้องพูดถึง ปัญหาการถูกผูกขาดด้วยอุตสาหกรรมการเกษตร เราไม่ควรมองข้ามว่าอุตสาหกรรมเกษตรทำให้อาหารลงไปและเข้าถึงคนจน อย่างไข่ไก่ แต่กลไกการผูกขาด การผลิตและการขายไข่ไก่ มันเป็นอีกปัญหาหนึ่งซึ่งไม่ใช่เรื่องการบริโภคอาหารโดยตรง ปัญหาสารตกค้างในไข่อุตสาหกรรมมันเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ในหนึ่งคำถามมันมีปัญหาอีกหลายชุด หรือการผลิตเมล็ดพันธุ์ที่มันผูกขาด แล้วเมล็ดพันธุ์ไม่สามารถนำไปขยายพันธุ์ต่อได้ด้วยเกษตรกรเอง ยังไม่ได้พูดปัญหาเรื่องการใช้ที่ดิน ซึ่งไปอีกไกลและอาจจะเป็นต้นตอของปัญหาความยากจนของเกษตรกรเลยก็ว่าได้”
คิดก่อนกินตอบโจทย์ใหญ่ๆ ได้…แต่ไม่ทั้งหมด
อาจารย์พิชญ์ แลกเปลี่ยนในช่วงหนึ่งว่า เราจะปฏิวัติโครงสร้างของโลกโดยผ่านการทำความเข้าใจโลกของอาหาร ซึ่ง จิตรภูมิศักดิ์ พูดไว้นานแล้ว ใน “เปิบข้าว” ขณะที่มาในยุคนี้มีอาหารบางอย่างที่เราก็กินโดยไม่ต้องคิดและนั่นคือเรื่องใหญ่เรื่องหนึ่งของสังคมสมัยใหม่ การคิดก่อนกินและเข้าสู่โหมดปฏิวัติการกินคือการปฏิบัติโลกชี้ให้เห็นโครงข่ายของการผลิตอาหาร นั้นก้าวขึ้นกว่าชุดการเคลื่อนไหวของผู้บริโภคในยุคแรกๆ ที่พูดถึง consumer right อย่างเดียวอย่างเห็นแก่ตัว แต่มันยังไม่พอ มันต้องก้าวเข้าไปสู่เรื่องความเป็นธรรมในเรื่องอื่นๆ ด้วย พร้อมทั้งให้ข้อเสนอเชิญชวนพวกเรามา “ดัดจริต” กัน
“มันควรจะมี movement ของการกินข้าวที่ดัดจริตได้ ไม่ใช่กินข้าวเพื่อสุขภาพ แต่ว่าข้าวนี่มันอร่อย เริ่มไปหาข้าวกินที่มันดูแปลก ข้าวปีไหน น้ำที่ไหนมาลงที่นี่ ก็ดัดจริตแบบชนชั้นกลางไป ประเด็นไม่ได้อยู่ที่ข้าวอินทรีย์ แต่มันอยู่ที่ว่าข้าวนั้นอร่อยยังไง พัฒนา taste ของคน แต่คุณเอา taste ไปวางบนเทคโนโลยี บนความ green แต่ไม่เคยพัฒนารสนิยมจริงๆ ต้องมีเหมือน wine tester ทุกคนก็เข้าโลตัสเพื่อซื้อของที่มันถูกตลอด หอมมะลิก็ต้องถูกที่สุด”
คำ ผพา ก็ให้ความเห็นแย้งต่อขบวนการรณรงค์เพื่อการดัดจริตจากประสบการณ์ของ นักเขียน นักทำอาหาร และคอลัมนิสต์ที่เคยดัดจริต มีรสนิยมวิไลในการกินอาหารมาก่อนว่า
“เคยพยายามจะเขียนเพื่อถ่ายทอดรสนิยมในการกิน และเคยเชื่อว่าการสร้างรสนิยมแบบนี้จะช่วยทำให้รักษาแหล่งผลิตอาหาร ความหลากหลาย ซึ่งความรู้เหล่านี้มีอยู่ในนิตยสารอาหาร แต่ถึงที่สุดแล้ว เรื่องแบบนี้มันยังไม่เท่ากับที่ว่าในเมื่อเมืองไทยมันถอยหลังมาถึงจุดที่มันไม่มีความเป็นธรรมทางการเมืองและทางเศรษฐกิจเลย มันต่อสู้เรื่องอะไรไม่ได้แล้วแม้แต่เรื่องอาหาร”
เธอยังเสนอให้ขบวนการกินเพื่อหวังการเปลี่ยนแปลงไปสู่โลกที่ดีกว่าด้วยการ ศึกษาวิจัยเพื่อตีแผ่โครงสร้างการควบคุมผูกขาดการผลิตของอุตสาหกรรมเกษตร เพราะมิเช่นนั้นแล้วการรณรงค์จะเป็นเพียงการขายข้าวที่สะท้อนได้แค่เชิงสัญญะกับกระตุ้นจิตสำนึกของผู้บริโภคเล็กน้อย แล้วก็ให้กลุ่มอิทธิพลเดิมนั้นแตกไลน์ทำ niche market เป็นอาหารออร์แกนนิค สโลว์ฟู้ดรวยกันอีก
จบเสวนาแล้ว การขบคิดเรื่องกินยังคงวนเวียนมาในหัวพวกเรา คณะทำงานได้ทุกๆ 3 มื้อในแต่ละวัน ที่ไม่ใช่ว่ามารณรงค์กันเพื่อเตะหมูเข้าปาก…
คุณล่ะเห็นความสำคัญและข้อจำกัดของการออกแบบ “ดัดจริตเรื่องกิน” ของตัวคุณเองแค่ไหน? แต่อย่างน้อย พวกเราทีมกินเปลี่ยนโลก ก็ยังดีใจที่ว่า ขบวนการกินที่พวกเราค่อยๆ ก่อร่างสร้างมาจนจะครบ 2 ปีแล้วนี้จะเริ่มเห็นทิศทางที่จะกินกันได้อย่างเข้าใจ และออกแบบดัดจริตกันไป โดยเห็นว่าเรื่องกินเป็นเรื่องใหญ่ ใหญ่จริงอะไรจริงอะ – ว่าไหม?