ตอนที่ 25 ตลาดนัดสีเขียว รพ.ธรรมศาสตร์
แชร์
193
email-subscribers
domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init
action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /home4-ns1sg/food/domains/food4change.in.th/public_html/wp-includes/functions.php on line 6114jetpack-boost
domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init
action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /home4-ns1sg/food/domains/food4change.in.th/public_html/wp-includes/functions.php on line 6114แชร์
193
193
ตื่นแต่เช้า นั่งรถตู้ประจำทางเพียงอึดใจก็พาตัวเองมาถึง ม.ธรรมศาสตร์รังสิต แล้ว
พี่วินมอเตอร์ไซค์ พาเราวิ่งอีกปราดหนึ่งก็ถึง คณะพยาบาล หลังจากที่ฉันบอกพี่เขาว่า “ไปตรงงานเปิดตลาดนัดสีเขียว” แค่นั้น พี่เขาก็พามาถึงเชิงบันใดอาคารปิยชาติ แล้วบอกพยักเพยิดให้พอให้ฉันได้ยินว่า “มาส่งถึงที่เลย น้องเดินไปตามทางนี้เดี๋ยวก็เห็น แค่นี้เอง”
ฉันเดินมาตามนิ้วชี้ของพี่วินมอเตอร์ไซค์ ระยะทางแค่นี้ที่ว่า จริงๆก็ไม่กึง 100 ก้าว
เจ็ดโมงเช้ากว่าๆ เพิ่งมีร้านผักของเกษตรกรมาเพียง 2 เจ้า
ร้านริมปากทางเข้าเป็นร้านของกลุ่มเกษตรกรพอเพียงปลูกผักปลอดภัย ต.บึงบอน อ.หนองเสือ มีลุงบำเพ็ญ รุมพล เป็นเลขาธิการของกลุ่มซึ่งมีสมาชิก 18 คน ร่วมกันทำการปลูกผักปลอดภัย โดยได้รับการสนับสนุนจากเกษตรจังหวัดปทุมธานี
ที่ร้านแรกนี้ยังมีพี่ดำรง รื่นเพชร จาก อ.ธัญญะ มาร่วมด้วยช่วยกันนำผักมาขาย ซึ่งเป็นผลผลิตจากสมาชิกกลุ่มของตัวเองอีก 10 คน
ทั้งกลุ่มเกษตรที่บ้านธัญญะกับบ้านหนองเสือ ต่างร่วมแรงแข็งขันกันมาราว 5 ปีแล้ว หลังจากเริ่มเข้าฝึกอบรมการปลูกผักเพื่อลดละการเลิกใช้สารเคมี และแม้วันนี้ยังมีการใช้สารเคมีอยู่บ้าง แต่ก็มีระยะเวลาในการตัดเก็บที่ปลอดภัย โดยรับรองมาตรฐาน GAP จากกรมวิชาการเกษตร และมีสติ๊กเกอร์รับรองที่อุดหนุนให้โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดปทุมธานี
ถัดมาใกล้ๆ กัน เป็นร้านของลุงบุญล้อม เงินรัตน์ เจ้าเก่าขาประจำที่ขายผักปลอดภัยที่ รพ.ธรรมศาสตร์แห่งนี้ในทุกวันพฤหัสบดีรวม 14 ปีแล้ว หากแต่วันนี้เป็น เกศ – เกศรา เงินรัตน์ ลูกสาวที่จัดร้านไป ขายของไปอย่างคล่องแคล่วมาจำหน่ายแทนพ่อ
เกศเล่าว่า ที่บ้านทำเกษตรปลอดสารแบบช่วยกันในครอบครัวซึ่งมีกัน 6 คน มีที่ซึ่งเป็นบึงของญาติที่อยู่ใกล้กันก็ขอเขาทำ เก็บฝักบัวมาขาย มีเจ้าประจำมาอุดหนุน แถมบางรายยังช่วยโฆษณาสรรพคุณของฝักบัวให้ซะอีกด้วย
ฉันซื้อฝักบัวที่แลดูสดเพิ่งหักจากสายมามาดๆ กำโตมาฝากแม่ พร้อมไข่เป็ดที่เลี้ยงแบบปล่อยอีก 1 ถุง 2 อย่างก็แค่ 50 บาท นั้นดูคุ้มค่ากับของที่ได้กลับไปบ้านแล้วแหละ
หิวแล้วสิ ฉันเดินออกไปตามช่องทางเดิน ไม่ถึง 30 เมตร ก็เจอห้องอาหารของคณะพยาบาล นั่งกินข้าวเช้าอยู่พักหนึ่งแล้วก็เริ่มเก็บภาพ แม่ค้าต่างๆ เริ่มทยอยมาจัดร้านของตัวเอง แล้ว “มิ้ม” ผู้ประสานการจัดงานเปิดตัวตลาดนัดสีเขียวก็วิ่งยิ้มร่าเข้ามาทักทาย
ฟังจากที่มิ้มเล่าให้ฟัง วันนี้มีเกษตรกรในปทุมธานี และนนทบุรี ที่จะเอาสินค้าประเภทผักสด อาหาร และเครื่องดื่มมาจำหน่าย 15 ร้าน ยกเว้นร้านของเกศ ซึ่งมาจากอ่างทอง
โครงการพัฒนาระบบและกลไกตลาดในพื้นที่โรงพยาบาลต้นแบบ แห่งนี้เป็นแห่งที่ 2 ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล หลังจากเริ่มเปิดตลาดนัดครั้งแรกไปที่โรงพยาบาลปทุมธานีเมื่อวันพุธที่ 3 มีนาคม 53 ที่ผ่านมา
“พอเรามาคุยกับทางโรงพยาบาลธรรมศาสตร์แล้วรู้ว่ามีร้านของพี่เขาขายอยู่ก่อนแล้ว เราก็ลงตามไปดูที่บ้านพี่เกศ ก็เห็นว่าผ่านเกณฑ์ ได้มาตรฐาน OK เราก็คุยกัน”
โครงการนี้สนับสนุนให้เกษตรกรที่ต้องการลด ละ เลิก การผลิตที่ใช้สารเคมีได้มีที่จำหน่าย และสร้างช่องทางให้คนกินที่แสวงหาในสินค้าตรงตามเป้าหมายกาผลิตของกลุ่มเกษตรกรเหล่านี้ให้มาเจอกัน
เข้ามาด้านในใกล้เวทีเปิดงาน ฉันได้มาเจอลุงเทพ ประธานกลุ่มเกษตรปลอดสารเคมี ต.ระแหง อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี ซึ่งเปิด “ศูนย์พัฒนาถ่ายทอดการเกษตรเพื่อสิ่งแวดล้อมและนิเวศน์ที่ยั่งยืน” เรียนรู้การทำเกษตรปลอดสารเคมีให้ท่านที่สนใจไม่ว่าจะเป็นเกษตรกรหรือคนเมืองทั่วไปที่สนใจได้ไปเรียนรู้
ฉันเคยเจอลุงเทพเมื่อคราวเปิดตลาดนัดสีเขียวที่โรงพยาบาลปทุมธานี คราวนี้นอกจากจะมากับเพื่อนกลุ่มเกษตรกรผลิตผักปลอดสารที่บ้านระแหงเพื่อนำผักปลอดสารมาจำหน่ายแล้ว ยังนำ ตัวห้ำ (แมลงที่กินแมลงศัตรูพืช) และตัวเบียน (แมลงมีชีวิตเบียนเบียนและเป็นอุปสรรคต่อแมลงศัตรูพืช) มาให้คนกินได้รู้จักกันพร้อมพูดคุยให้เราฟังและเข้าใจได้ง่ายๆ เช่น แมลงช้างปีกใสที่กินแมลงจำพวกเพลี้ยเป็นอาหาร และมวนพิฆาตสีดำแดงสวยๆ ที่ถ้ามันเจอหนอนของแมลงศัตรูพืชเช่น หนอนกระทู้ผัก หนอนกระทู้หอม หนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนแก้วส้ม ฯลฯ มันต้องรีบรี่เข้าใส่หาทางเข้าไปจับกินเลยทีเดียว
ฝั่งตรงข้ามกับบู้ทของลุงเทพ เป็นบู้ทสาธิตการเพาะเห็ดกินเอง ของคุณน้อย กันธิมา ฮวดบำรุง ซึ่งกำลังบรรยาย แจกแจงปัญหา วิธีการเพาะและการแก้ไข พร้อมสาธิตวิธีการเพาะเห็ดให้กับผู้สนใจอย่างไม่เหน็ดเหนื่อยย่อท้อ ขณะที่ฉันคนฟังกลับเพลิดเพลินสนุกไปกับเธอ
พบกับกลุ่มผู้ผลิตเหล่านี้ได้ ที่โรงพยาบาลปทุมธานี ซึ่งมีนัดกันทุกเช้าวันพุธ ส่วนที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์มีตลาดนัดสีเขียวทุกวันพฤหัส และทุกวันอาทิตย์ ที่ตลาดนัดสีเขียวในโรงพยาบาลบางโพ และที่โรงพยาบาลมิชชั่น
ที่โรงพยาบาลบางโพนั้น จะเริ่มเปิดนัดครั้งแรกวันที่ 27 มิถุนายนนี้ เพิ่มอีกแหล่งนัดพบสำหรับคนรักสุขภาพและต้องการสนับสนุนเกษตรกรผู้ผลิตให้ผลิตสินค้าอาหารดีๆ โดยที่เรายังแอบหวังในใจว่าอยากให้มีอีกหลายที่ หลายแห่งให้เราได้ซื้อสินค้าตรงจากมือผู้ผลิต มีเพิ่มขึ้นๆ
สำหรับผู้ที่สนใจและอยู่ใกล้และสะดวกที่ไหน แวะไปอุดหนุนกันได้นะคะ
ยังมีคลิ๊ปวิดีโอชวนไปตลาดนัดสีเขียวโดยมิ้ม ที่ http://www.facebook.com/video/video.php?v=118585724853231
เรื่อง/ภาพ บุณย์ตา วนานนท์