ตอนที่ 22 ของฝากจากเวที “ปากท้องและของกินฯ”
แชร์
208
email-subscribers
domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init
action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /home4-ns1sg/food/domains/food4change.in.th/public_html/wp-includes/functions.php on line 6114jetpack-boost
domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init
action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /home4-ns1sg/food/domains/food4change.in.th/public_html/wp-includes/functions.php on line 6114แชร์
208
208
เสียงตีฆ้องร้องป่าว ที่ทางศูนย์มานุษยวิทยาสิรินทรออกมาเชิญชวนผู้คนให้หันมาสนใจเรื่องปากท้องที่เชื่อมโยงไปถึง “จริยธรรมและการเมือง” เพื่อให้ผู้คนที่แตกต่างหลายได้เห็นแง่มุมต่างๆ จากอาหารที่เราพบพานและกินมัน โดย ดร.ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล ผู้อำนวยการศูนย์มานุษฯ ได้กล่าวในวันแถลงข่าวก่อนการจัดงานว่า อาหารไม่ได้แยกออกจากโครงสร้าง ความคิด และคุณค่า และในปัจจุบันอาหารกลายเป็นอุตสาหกรรมอาหาร มันกลายเป็นการเมืองเพราะไม่ใช่แค่จะขายแต่ทำให้เราต้องเชื่อว่ามันดี มีประโยชน์ แต่อีกทางหนึ่งก็พบมากขึ้นเรื่อยๆ ว่ามันเป็นสารพิษเคลือบน้ำตาล เพราะไม่รู้ว่าอุตสาหกรรมทำอะไรกับอาหาร และรัฐไม่มีอำนาจไปตรวจสอบได้
ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธุ์ อาจารย์อาวุโสด้านมานุษยวิทยาซึ่งเป็นโต้โผใหญ่และดารานำคลิ๊ป “อร่อยแน่..คุณเอ๊ย” สารดีเด่นในการจัดเสวนาครั้งนี้ กล่าวเพิ่มเติมว่า การเมืองในโลกโลกาภิวัตน์จะสลับซับซ้อนมาก ถ้ามองแค่อาหารในจานก็จะไม่เกิดสติปัญญา ต้องมองย้อนกลับไปยังสายพานการผลิต และถ้าเห็นมากขึ้นเราคงไม่ยอมง่ายๆ ซึ่งพอเราไม่ยอมรัฐก็ต้องไปตรวจสอบ ซึ่งนี่ถือว่าเป็นจริยธรรมการผลิต ถ้าเราเป็นผู้บริโภคที่มีสติ เราจะรู้ทันและเข้ามาต่อลอง และเลิกเป็นผู้บริโภคที่แสนดีที่เชื่อฟังการโฆษณาชวนเชื่อจากบริษัท ซึ่งการนำเรื่องอาหารมาวางบนโต๊ะแล้วเปิดวงคุยกันจะทำให้คนที่เคยกินเคยชิมมีความรู้และเข้ามาพูดคุยแลกเปลี่ยน เป็นการเลิกล้มการผูกขาดความรู้โดยนักวิชาการเพียงอย่างเดียวมาเป็นการเปิดเสรีทางความรู้ของทุกผู้คนที่เกี่ยวข้องกับอาหาร
ในวันงานวันแรก หลังการกล่าวเปิดงานและการบรรยายพิเศษเรื่อง “อาหาร บ้านเกิด และอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม : เปรียบเทียบระหว่างชาวอเมริกันเชื้อสายลาวในมลรัฐไอแลนด์และอีนูเยค เอสกิโม” โดย ศ.ดร.วรรณี แอนเดอร์สัน ที่นำเราไปพบภาพของเหตุการณ์ความเปลี่ยนแปลงของวิถีการบริโภคอาหารของผู้คนในอีนูเยคเอสกิโมจากกฎหมายรัฐมีออกมาควบคุมให้ลดจำนวนล่ากวางคาลิบูลงจากเดิม 5 ตัวเป็น 2 ตัว ต่อครัวเรือน และนำเนื้อสเต็กมาแจกจ่ายซึ่งเป็นอาหารที่ชาวเอสกิโมไม่ชอบกิน ขณะที่ชาวอเมริกันเชื้อสายลาวในมลรัฐไอร์แลนด์เองซึ่งเป็นกลุ่มผู้ลี้ภัยทางการเมืองถูกจัดสรรให้เข้ามาใช้ชีวิตและมีวิถีการบริโภคแบบถิ่นที่เข้ามาอยู่อาศัยใหม่นำเอาอาหารตามวัฒนธรรมที่พวกเขาคุ้นชิน อย่างข้าวเหนียว และปลาร้า มาสู่ประเพณีงานบุญในวัดที่พวกเขาก่อตั้ง
ซึ่งทั้ง 2 กรณีศึกษานี้ได้นำไปสู่การตั้งคำถามที่สำคัญคือ อะไรคืออาหาร และอะไรคืออาหารที่เราจะกิน ซึ่งก็พบว่า วัฒนธรรมเป็นแนวกำหนดว่าอะไรคืออาหารที่มนุษย์ในสังคมชุมชนนั้นนำมาบริโภค ซึ่งวัฒนธรรมอาหารนั้นผันแปรไปตามเงื่อนไขอื่นๆ ดังกรณีศึกษาเปรียบเทียบ ซึ่งความรู้ดังกล่าวนี้นักมานุษยวิทยาได้ลงไปทำงานเก็บศึกษาข้อมูลและจัดทำเป็นข้อเสนอต่อรัฐในการจัดการความขัดแย้งจากระดับนโยบายที่เกิดขึ้นมาภายหลังการดำรงอยู่ของชุมชนเอสกิโมไปสู่การแสวงหาทางออกร่วมกันระหว่างรัฐกับชุมชน และการเปิดพื้นที่ของอัตตลักษณ์ทางวัฒนธรรมการกินให้กับผู้ลี้ภัยทางการเมืองในไอร์แลนด์ที่ตกอยู่ในภาวการณ์พลัดพราก (displace) จากวัฒนธรรมอาหารจากถิ่นฐานบ้านเกิดของตนเอง
เวทีสำคัญในหอประชุมใหญ่ต่อจากรายการนี้ คือ “การเมืองโลกว่าด้วยอาหาร” ชื่อเรื่องดูเหมือนใหญ่โตระดับโลกแต่กลายเป็นเรื่องใกล้ตัวชวนขนลุกเมื่อข้อเท็จจริงปรากฎ
เริ่มเข้าเรื่องเศรษฐกิจการเมืองโลกเสรีนิยมใหม่ของอาหาร โดย ผศ.สุรัตน์ โหราชัยตระกูล จากภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ที่พาเราไปรู้จัก David Harvey (2005) นักเศรษฐศาสตร์คนสำคัญที่นิยามความหมาย “เสรีนิยมใหม่” ว่า
เสรีนิยม ใหม่ (Neo-liberalism) เป็น ทฤษฏีเกี่ยวกับปฏิบัติการทางเศรษฐศาสตร์การเมืองที่เสนอว่าความ เป็นอยู่ของมนุษย์สามารถพัฒนาดีที่สุดได้ด้วยการเสริมสร้างให้ผู้ประกอบ การมีทักษะและอิสรเสรีภายใต้กรอบการบริหารทางสถาบัน (Institutional framework) ที่มีความ แข็งแกร่งด้านกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ตลาดเสรี และการค้าเสรี โดยบทบาท ของรัฐคือการสร้างสรรค์และรักษากรอบการบริหารทางสถาบันที่สอด คล้องเหมาะสมกับการปฏิบัติการเหล่านั้น (แปลจากสไลด์โดยทีมงาน)
อ.สุรัตน์ ได้วิเคราะห์ว่าเสรีนิยมใหม่เป็นฐานความคิดสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกปัจจุบันซึ่งแท้จริงแล้วรัฐมีบทบาทในการเข้ามาแทรกแซงกลไกตลาดเพื่อให้บรรษัททำงานได้ง่ายขึ้นในทุกระดับตั้งแต่การเข้ามาแทรกแซงกิจการภายในรัฐ การเจรจาระดับทวิภาคี พหุภาคี จนไปถึงในระดับภูมิภาค โดยใช้ระบบกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งเป็นระบบที่ถูกคิดค้นขึ้นเพื่อคุ้มครองและผูกขาดสินค้าเทคโนโลยีเพื่อระบบการผลิตอาหารอุตสาหกรรม ที่เรารู้จักกันดีในนามของพืชดัดแปลงพันธุกรรม (GMOs)
ระบบทรัพย์สินทางปัญญา เป็น ทุนนิยมขั้นที่สูงที่สุด ว่าด้วยการเป็นเจ้าของ เมล็ดพันธุ์ ซึ่งวัตถุดิบขั้นพื้นฐานในการผลิตอาหาร ที่สร้างผลประโยชน์และกำไรสุทธิให้กับบรรษัทเจ้าของสิทธิบัตรเมล็ดพันธุ์พืช
ภาพสะเทือนใจฉันใน Food inc ตอนหนึ่งผลุบโผล่มาในห้วงนั้น Mo – นักทำความสะอาดเมล็ดพันธุ์ชาวอเมริกันที่ถูกตรวจสอบรายงานการเงินและรายชื่อเพื่อนเกษตรกรที่เขาให้บริการทั้งหมด ราวกับนักโทษอาชญากรซึ่งในที่สุดต้องยอมความเพราะไม่มีเงินจ้างทนายคุ้มครองตนเอง แพ้คคีต่อบรรษัทมอนซานโต้เจ้าของเมล็ดข้าวโพดจีเอ็มโอในที่สุด มอนซานโต้อาศัยกฎหมายสิทธิบัตรซึ่งถูกสร้างขึ้นมาภายหลังความสัมพันธ์ที่มีมาเนิ่นนานในการประกอบอาชีพและดำเนินชีวิตของ Mo และเพื่อนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดที่เคยเก็บเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดไว้ปลูกใช้เองได้มาตลอดชีวิตซึ่งได้รับคุ้มครองสิทธิเกษตรในกฎหมายเดิมทำไม่ได้อีกต่อไปเมื่อจีเอ็มโอ กฎหมายใหม่ คือกฎหมายสิทธิบัตรที่เกษตรกรเองไม่ได้รับการคุ้มครองสิทธิของตนในการปกป้องการปนเปื้อนและแพร่ระบาดยีนที่ปลิวข้ามมากับละอองเกสรข้าวโพดจากที่ไกลนับเป็นไมล์ในเวลา 24 ชั่วโมง
ฉันดูสไลด์ที่ อ.สุรัตน์นำมาอธิบายผลกระทบของจีเอ็มโอด้านการผลิต “ผลทางการศึกษาพบว่าจีเอ็มโอไม่ได้เพิ่มผลผลิตขึ้นได้จริงตามที่กล่าวอ้าง ในทางตรงกันข้าม ถั่วเหลืองจีเอ็มโอกลับมีผลผลิตลดลงถึง 20% เมื่อเทียบกับถั่วเหลืองธรรมชาติ และความล้มเหลวที่เห็นประจักษ์ชัดจากตัวเลขของเกษตรกรอินเดียนับแสนหลายจากการปลูกฝ้ายจีเอ็มโอ ซึ่งนอกจากการปลูกฝ้ายจีเอ็มโอที่ทำให้ต้องมีการใช้ยาฆ่าแมลงเพิ่มขึ้นแล้ว ยังมีการศึกษาพบว่าดินยังเสื่อมสภาพ และลดรายได้ลงจากเดินถึง 40%”
แล้วไง? สุดท้ายเราก็ยังถูกหลอกให้กินน้ำมันถั่วเหลืองทรานส์จีเอ็มโอด้วยเหตุผลทางสุขภาพ หรือแนวโน้มในอนาคตคนไทยเราอาจจะได้กินน้ำมันจากเมล็ดฝ้ายจีเอ็มโอเพราะราคาถูกกว่าและมีวัตถุดิบมากมายอยู่ในประเทศไทยแม้กฎหมายไทยยังไม่อนุญาตให้มีการปลกพืชจีเอ็มโอเชิงพาณิชย์! ขณะที่ทางเลือกอื่นที่ยังมีอยู่กลับถูกเบียดขับและไม่ได้เป็นที่รับรู้จากสื่อสารธารณะเข้าไปทุกที!?
นึกถึง Food inc. อยู่ อ.ไพลิน กิตติเสรีชัย คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มช. วิทยากรท่านต่อมาก็เอยถึงมันออกมาดังๆ ว่า ถ้าเราดู Food inc จะเข้าใจการนำเสนอที่นำทฤษฎีเชิงวิพากษ์เศรษฐกิจการเมืองระหว่างประเทศมาอภิปราย
หลังยุคล่าอาณานิคมซึ่งฟากอังกฤษเคยมีบทบาทในการควบคุมอาหารโดยเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากการค้าขายวัตถุดิบอาหาร เป็นตัวเร่งให้เกิดการผลิตเพื่อการค้าในประเทศอาณานิคมโดยผ่านพ้นไป และเข้าสู่ยุคเสรีนิยมใหม่หลังสงครามโลกฟากอเมริกาเข้ามามีบทบาทและควบคุมระบบการผลิตอาหารได้มากขึ้นทั้งการสร้างกฎกติการะหว่างประเทศและอาศัยเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์พืชจีเอ็มโอ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินของผู้คนให้หันมาบริโภคอาหารอุตสาหกรรมมากขึ้น จนพี่โรนัล แมคโดนัล กลายเป็นบุคคลที่เด็กทั่วโลกรู้จักดีเป็นอันดับ 2 รองจากซนตาคลอส เท่านั้น
อาจารย์ไพลินพาผู้คนทั้งห้องประชุมไปดูภาพการอุดหนุนการผลิตอาหารอุตสาหกรรมที่ทำให้เรารู้และเข้าใจได้ง่ายขึ้นว่า เพราะสาเหตุนี้เองที่ทำให้อาหารสำเร็จรูปทั้งหลายมีราคาถูกกว่าอาหารสด
ฉันดูสไลด์ของอาจารย์แล้วเตลิดไปนึกถึงฉากสำคัญใน Food inc. ที่ครอบครัวอเมริกันครอบครัวหนึ่งพยายามเดินหาผักผลไม้สดไปกินแทนอาหารฟาสต์ฟู้ดเพราะความห่วงกังวลในปัญหาสุขภาพจากโรคอ้วนและเบาหวาน แต่พวกเขาไม่สามารถทำได้ ภาพการบำบัดกลุ่มเด็กวัยรุ่นที่เป็นโรคอ้วนในอเมริกา ที่ทำให้ย้อนคิดกลับไปมากับเด็กๆ ในบ้านเรา ภาพเด็กเล็กที่ตายจากการท้องเสียและถ่ายเป็นเลือดหลังกินเบอร์เกอร์จนแม่ของเขาต้องกลายมาเป็นนักกิจกรรม …
ฉันถูกดึงออกจากห้วงคำนึงนั้นอีกครั้งเมื่อ อ.ไพลิน เอ่ยถึง ปีเตอร์ ชไมเซอร์ เกษตรกรผู้ปลูกคาโนลาอันโด่งดังจากการณีแพ้คดีมอนซานโต้ เพราะมีคาโนล่าจีเอ็มโอปนเปื้อนในแปลงคาโนล่าอินทรีย์ของเขา ด้วยแนวทางการพิจารณาคดีของศาลสหรัฐ ว่า “โดยทั่วไปแล้วเกษตรกรสามารถเป็นเจ้าของเมล็ดพันธุ์ที่ปลูกในผืนดินของตน ไม่ว่าจะปลิวมาตกหรือมากับละอองเกสร ยกเว้นในกรณีของเมล็ดพันธุ์ดัดแปลงพันธุกรรมอันถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการจดสิทธิบัตร….”
ฉันพอรู้ช่องทางหาแหล่งอาหารดี ปลอดภัย และขบวนการผลิตยังรักษาสิ่งแวดล้อมและเกษตรกรเคยไม่แยแสต่อการคุกคามของบรรษัทอาหารอุตสาหกรรมที่นับวันรุกคืบเข้ามากำหนดรูปแบบการกินอยู่และมีอิทธิพลอย่างมากในการออกกฎกติกาเพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ของบรรษัทที่ไม่สนใจแม้คำเรียกร้องต่ำสุดในสิทธิผู้บริโภคในการเลือกบริโภคอาหารจากการพิจารณาจากฉลาก ด้วยข้ออ้างที่ว่า ลูกค้าคนไทยไม่สนใจหรอกว่ามันจะเป็นจีเอ็มโอหรือไม่อย่างไร ขอให้อาหาร (อุตสาหกรรม) ถูกเข้าไว้เป็นใช้ได้นั้น แต่หากเล่นกันในระดับกฎหมายและนโยบายประเทศเรื่องการอนุญาตปลูกพืชจีเอ็มโอเชิงพาณิชย์ ฉันหวั่นกลัวเพื่อนที่ปลูกข้าวปลูกผักของให้ฉันกินจะตกที่นั่งลำบากอย่าง Mo และชไมเซอร์เข้าสักวัน!