ปลูกความหลากหลายให้งอกงาม

ตอนที่ 12 โครงการผักประสานใจ ไม่ไปไม่ได้แล้ว

แชร์

46

46

จดจ่อรอท่าว่าจะไปเที่ยวโครงการผักประสานใจ โครงการที่พี่น้องชาวเผล่อ* แถบรอยต่อชายแดน 3 จังหวัดสุพรรณบุรี กาญจนบุรี และอุทัยธานี? ซึ่งปลูกผักอินทรีย์และส่งให้คนกรุงเทพฯกินสดๆ ใหม่ๆแบบไม่ธรรมดาฯ ก็ยังไม่ได้ไปสักที

ระลึกได้แต่ความทรงจำเมื่อปี 36 ? 37? ครั้งเคยไปเยี่ยมพี่เจน ระวีวรรณ และพี่พยงค์ นักพัฒนาจากรั้วธรรมศาสตร์ กับลูกๆ ฝังตัวอยู่ที่นั่นซึ่งเป็นบ้านเกิดพี่ พยงค์ ครอบครัวนี้ทำงานการพัฒนาระบบนิเวศน์และอนุรักษ์พืชพันธุ์กับกลุ่มชาวบ้านในแถบนั้นมาตั้งแต่ปี 35 และยังคงทำกิจกรรมดีๆ เพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตที่คนที่กินผักอินทรีย์ในโครงการผักประสานใจ และเคยได้ไปเยี่ยมชมพูดคุยซักถามกับพี่น้องชาวเผล่อแถวนั้นมาแล้ว อย่างคุณนฤมล? จิรวราพันธ์ ตัวแทน? ?กลุ่มผู้บริโภคสนับสนุนเกษตรกร? ที่ฉันเคยพบปะเมื่อปี 49 ในเวทีสมัชชาสังคมไทย 2006 ที่มาเสนอชุดประสบการณ์ในเวทีอภิราย ?ทางเลือกการพัฒนาเศรษฐกิจระดับชุมชน? เธอเล่าให้ฟังกันดีกว่า

?ฐานะของผู้บริโภคคนหนึ่งซึ่งเป็นแม่บ้านธรรมดา เป็นคนในเมืองที่รักครอบครัว อยากหาสินค้าอินทรีย์ก็ต้องไปห้าง แต่ก็ไม่มั่นใจว่าเป็นอินทรีย์จริงหรือไม่ แถมมีราคาแพงด้วย จนกระทั่งได้พบกับ คุณระวิวรรณ ซึ่งได้ไปส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์ให้กับชาวกะเหรี่ยง ที่สุพรรณบุรี

csa_trip01

โครงการผักใจประสานใจเป็นมากกว่าการชื้อขาย เพราะเน้นความสัมพันธ์กัน รู้จักกัน คนปลูกรู้ว่าปลูกให้ใครกิน คนกินก็รู้ว่าใครปลูก มีการเยี่ยมเยียนกันปีละ 1-2 ครั้ง นอกจากนี้ยังเป็นโครงการที่ทำให้เกิดการรับความเสี่ยงร่วมกัน โดยผู้บริโภคจะโอนเงินให้ก่อนครึ่งปีเพื่อให้เกษตรกรนำไปเป็นทุนการผลิต ถ้าปีใดผลผลิตดีผู้บริโภคก็จะได้ผักมาก แต่ถ้าเจอปัญหาการผลผลิตก็ได้น้อยตามไป มีการส่งผักตามจุดนัดหมายต่างๆ ในส่วนผู้บริโภคก็ให้ความร่วมมือเดินทางมารับผักยังจุดนัด บางคนขับรถมาไกลกว่า 25 กิโลเมตร เพื่อมารับผัก?

csa_trip02csa_trip04

?โครงการนี้เป็นมากกว่าเพียงเพื่อสุขภาพ เนื่องจากผู้บริโภคได้ผักที่ปลอดภัยแก่ตนเองและครอบครัว ถือเป็นการลงทุนระยะยาวให้กับสุขภาพ ได้เป็นส่วนหนึ่งของพลังบุกเบิกเพื่อสังคมใหม่ที่พึ่งพาตนเอง รวมทั้งมีเพื่อนร่วมทางมากมาย เช่น ไข่? ข้าว? อย่างไรก็ตามสิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้นั้นผู้บริโภคเองต้องปรับเปลี่ยนมุมมองเรื่องผัก หันมากินผักตามฤดูกาล และสามารถดัดแปลงเมนูตามผักที่มีได้ ซึ่งยังคงเป็นปัญหาสำคัญในการขยายสมาชิกในปัจจุบัน? ซึ่งสิ่งที่ดำเนินโครงการมามีความมุ่งหวังให้กว้างไปถึงการรักษาพลังงานและสิ่งแวดล้อม เน้นการใช้ทรัพยากรภายใน ส่งเสริมวิถีชีวิต เกิดความเกื้อกูลกัน หนุนช่วยเกษตรอินทรีย์ในระยะผ่านนี้ และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเมืองกับชนบท ดังนั้นจะเห็นได้ว่า สังคมใหม่ประชาชนสร้างได้ โดยเริ่มต้นจากที่ตัวเรา?

จำได้ว่าบรรดาผู้คนที่นั่งฟังเธอบรรยายพร้อมสไลด์ภาพที่จัดเตรียมมาต่างมีสีหน้าประหลาดใจระคนยินดี? และทึ่งที่ ?กลุ่มผู้บริโภคสนับสนุนเกษตรกร? กลุ่มนี้มองเห็น คิดไกล และพยายามทำไปเรียนรู้ไป? แถมยังให้กำลังใจคนเมืองอย่างเราๆ ที่ยังไม่เห็นช่องทางการหากินผักดีๆ แต่หาแหล่งที่ไว้ใจได้ยากว่า

?เราก็ต้องปรับเปลี่ยนเมนูตามผักที่มีตามฤดูกาล นี่เป็นข้อจำกัดที่ทำให้ผู้บริโภคบางส่วนถอนตัวไป ? มาวันนี้ที่เคยคิดว่าตัวเองเป็นแกะดำก็มีความหวังมากขึ้น คิดว่าสังคมมีทางออก อย่าท้อแท้ ต้องมีเครือข่ายเป็นกัลยาณมิตรกัน เรื่องสังคมเป็นของเรา ทุกอย่างรอบตัวควรเป็นไปด้วยความเกื้อกูลกัน เรามาระดมสมองกันหาทางแก้ไขให้กำลังใจกัน?

csa_trip06

ฟังคุณรสนา? โตสิตระกูล สว. กทม. อธิบายคอนเซ็ปต์โครงกรผักประสานใจ แทนพี่เจนดีกว่า ในฐานะที่มูลนิธิสุขภาพไทยเคยมีโครงการศูนย์เกษตรกรรมธรรมชาติที่หนองจอก มีนบุรีและเคยทำกิจกรรมคล้ายๆ กันนี้แต่ปิดโครงการไปเมื่อปี 47 เธอว่าโครงการแบบนี้พัฒนารูปแบบการทำงานมาจากอเมริกาที่เรียกว่า CSA: Community Supported Agriculture??

คำว่า Community นี้ใหญ่และครอบคลุมกว่า Consumer เพราะไม่ใช่เพียงแค่บริโภคอย่างที่สังคมอุตสาหกรรมเสรีนิยมกำหนดให้ผู้คนทำหน้าที่แค่บริโภคเข้าไป? แต่คำนี้พัฒนามาจากแนวคิดของญี่ปุ่น ที่เรียกว่า ?เกเก้? ซึ่งหมายถึงการที่กลุ่มผู้บริโภคเข้ามามีส่วนร่วมคิดต้นทุนการผลิต และร่วมลงทุน เป็นหุ้นส่วนการผลิต เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนผู้ผลิตที่ต้องการรักษาอาหารดีๆให้มีกินมีผลิตโดยเกษตรกรที่ทำการผลิตที่ดีๆ เอาไว้ให้มีกินไปยันรุ่นลูกรุ่นหลาน รวมทั้งผู้บริโภคกลุ่มนี้ยังสร้างสรรค์กิจกรรมดีๆ ได้ดีมากมาย อย่างสหกรณ์ ?เซกัตจึ? ที่ตั้งเมื่อ 30 ปีที่แล้ว และมีกระจยอยู่ทั่วประเทศญี่ปุ่น ซึ่งนอกจากจะรวมตัวกันซื้อสินค้าราคาถูกและกำหนดมาตรฐานได้เองแล้วยังสร้างระบบกระจายสินค้า? รวมไปถึงการนำเงินปันผลมาส่งเสริมกลุ่มสตรีที่ลาออกจางานมาเลี้ยงลูกและหารายได้เพิ่มจากโครงการ ?โอเบนโตะ? (อาหารของแม่ที่ปลอดภัยเพื่อลูก) ขายให้กับคนงานในราคาถูกแต่มีคุณภาพดี
csa_trip05
ผักที่สมาชิกกลุ่มผู้บริโภคสนับสนุนเกษตรกรนี้กินเข้าไป จึงสร้างทั้งกำลังกายกำลังใจให้กับเกษตรกรซึ่งเมื่อเริ่มปลูกในช่วงแรกๆ จะต้องเรียนรู้และทำงานอย่างหนัก ขณะที่คนกินเองก็ต้องอดทนกินผักที่ผลิตได้ตามสภาพแวดล้อมความเป็นจริง อย่างข้อจำกัดของฤดูกาล และทักษะของคนปลูก


ภาพผักสวยๆ ที่เห็นเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นง่ายๆ แต่ด้วยน้ำพักน้ำแรง ความอดทนของกลุ่มชาวบ้านจากจุดเริ่มต้นของโครงการผักประสานใจในปี 38 ซึ่งตอนนี้มีอยู่ 10 ราย ที่ได้ใจต่อใจจากกลุ่มผู้บริโภคสนับสนุนเกษตรกร 70 คน จนผ่านปัญหาอุปสรรค์นานามามากมาย? และยังคงมุ่งมั่นที่จะพัฒนาโครงการร่วมกันต่อไป?

ยังไม่ทันได้เดินทางเลย? ฉันก็สัมผัสได้ถึงบรรยากาศดีๆ อากาศดีๆ และมิตรไมตรีของผู้คน ณ ที่แห่งนั้น? แล้วหลังจากทริปนี้คงจะมีเรื่องดีๆ มาเล่าสู่กันฟังค่ะ??

ผู้ที่สนใจติดต่อพี่เจนได้ที่ 081-9818581 ถ้าโทรไม่ติดยังมีอีกทางคืออีเมลล์นี้ thai.csa@gmail.com

ชาวเผล่อ*? คำเรียกตัวเองของพวกเขา ซึ่งพวกเรามักเรียกกะเหรี่ยงโปว์

เรื่องโดย

บุญตา วนานนท์

นักคิด นักเขียนที่สนใจ อาหาร เกษตร สิ่งแวดล้อม