ปลูกความหลากหลายให้งอกงาม

ตอนที่ 9 อยากให้มีตลาดแบบนี้ใกล้ๆ บ้าน

แชร์

55

55

นั่งรถไฟไปถึงสุรินทร์ตอนย่ำรุ่งปลายเดือนสิงหาที่ผ่านมา? แล้วเรียกสามล้อ ?ไป อบจ. ที่เขาเปิดตลาดสีเขียวทุกเช้าวันเสาร์ค่ะ? โดยไม่ต้องพูดคุยซักถามกันต่ออีก พี่สามล้อก็พาไปถึงที่ที่ว่าอย่างสะดวกสบายในเวลาอันสั้นๆ

ใกล้จะหกโมงเช้าแล้ว? ร้านค้าซึ่งเป็นแพงเล็กๆ วางเรียงรายพร้อมทำการขาย และยังมีอีกหลายเจ้าที่ทยอยเอาผลผลิตของตัวเองขึ้นมาจัดวาง

ตลาดสีเขียว จ.สุรินทร์ เปิดมากว่า 6 ปีแล้ว ก่อนหน้าจะย้ายมาอยู่นี่นั้นพวกเขาวางแผงและทำกิจกรรมส่งเสริมความรู้คู่การขายแบบตลาดยุติธรรมที่หน้าเทศบาล ซึ่งนอกจากจะมีการเสวนาในหัวข้อต่างๆ ที่ผู้บริโภคสนใจแล้ว ยังมีกิจกรรมร่วมกันกับผู้บริโภค ?ขาประจำ? เช่น ไปเยี่ยมแปลงของชาวบ้านถึงที่? หรือมีการสอนการเก็บขยะสดและหมักเพื่อทำปุ๋ยให้กับผู้บริโภค โดยที่ ?โครงการขยะยิ้ม? จะให้ถังหมักพร้อมความรู้ไปในการแยกคัดขยะสด และจะมีรถของโครงการฯ แวะเวียนไปเก็บถังขยะมาแล้วนำไปหมักเป็นปุ๋ยน้ำหมักเพื่อให้ผู้ผลิตได้เวียนกลับไปใช้ในแปลงผัก-ข้าว? หรือช่วงไหนที่ผลผลิตออกมาก็จะจัดการพาลูกค้าตลาดเขียวลงไปเก็บเกี่ยวและลองกิน และซื้อกลับมาบ้าน ไปพร้อมๆ กับการรับรู้และเข้าใจในปัญหาการผลิต และวิธีคิดที่จะแก้ปัญหาแบบพลังกลุ่ม? รวมไปถึงได้เข้าไป check ? balance ราคาและมาตรฐานสินค้าถึงฟาร์มยันก้นครัวกันเลยทีเดียว

gd_8_1

วิธีการพาลูกค้าลงทัวร์หมู่บ้านแล้วกันทำกิจกรรมนั่นนี่ที่ทำขึ้นมาได้ เพราะอาศัยความสัมพันธ์ที่สร้างกันแบบ ตัว-ต่อ-ตัว ระหว่างคนกินกับคนขาย ที่ต่างฝ่ายต่างได้ประโยชน์ร่วมกันบนหลักความเอื้อเฟื้อและถ้อยทีถ้อยอาศัย? ไม่ใช่หลักการต่อรองแบ่งปันผลประโยชน์

ความรู้จัก คุ้นเคย จนลงเอยด้วยความไว้ใจที่จะคบหาทำการค้าขายกันในตลาดสีเขียวในช่วงแรกๆ เกิดจากกลุ่มผู้ผลิตเองที่กล้ายอมออกมาจัดจำหน่ายสินค้าของตน โดยอาศัยเพื่อนๆ ผู้ผลิตด้วยกันเป็นเป็นคนควบคุมคุณภาพและราคาสินค้า? บนฐานราคาที่คุ้มค่าต่อการผลิตซึ่งไม่จริงเสมอไปว่าสินค้าอินทรีย์จะต้องให้ผู้บริโภคจ่ายแพงกว่า เพื่อให้ผู้บริโภคที่เข้ามาในตลาดสีเขียวแห่งนี้ยอมรับและจับจ่ายสินค้าได้เต็มใจว่าได้ของดี มีคุณภาพกลับไป หากว่าตลาดแห่งนั้นมีต้นทุนทางสังคมและวัฒนธรรมของชุมชนเจือจานอยู่

จากตลาดสีเขียวขนาดเล็กๆ มีผู้ผลิตมาขายไม่มากราย เมื่อ 6 ปีก่อน ปัจจุบัน ทุกๆ เช้าวันเสาร์จะมีลูกค้าราว 300 ? 500 คน เข้ามาจับจ่ายซื้อหาอาหารจากฐานของผู้ผลิตในตลาดสีเขียว 80 ราย


ผู้ผลิตหัวขบวนที่นำผลผลิตมาขายเพื่อการเปลี่ยนแปลงในตลาดสีแห่งนี้ เริ่มจากเป็นผู้ที่เปลี่ยนระบบการผลิตแล้วมีเหลือกินจึงเอามาขายในตลาด ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากหลายๆ ฝ่ายให้ผ่านช่วงการสร้างการยอมรับของผู้บริโภคในสุรินทร์ เมื่อมีกำลังซื้อเพิ่มมากขึ้นๆ เพื่อนๆ ผู้ผลิตที่รีรอ ลังเล รวมถึงยังไม่มีความพร้อมก็ขยับเขยื้อนตัวเองเข้ามาร่วมขบวนการ

กลุ่มผู้ผลิตเองก็มีความพยายามที่จะขยายการผลิตไปยังเพื่อนๆ ในหมู่บ้าน? ก็ยังมีแผนการหนุนให้เพื่อนบ้านมาร่วมกันขบวนการผลิตสีเขียวของพวกเขาด้วย


[iipkdkL-v'9]kflug-up; 0

ย้อนไปเมื่อปี 48 ก่อน? ชาวบ้านในชุมชน? 9 รายต้องการทำการเกษตรอินทรีย์ แต่มีหนี้สินเฉลี่ยคนละ 30,000 ? 50,000 บาท จนต้องเอาที่นาไปจำนองไว้? โดยนายทุนมีเงื่อนไขว่าให้เอา ?เงินก้อน? มาไถ่ถอน? ซึ่งปัญหานี้ส่งผลกระทบรุนแรงต่อการตัดสินใจเลือกการผลิตแบบอินทรีย์? และผลักให้พวกเขาแต่ต้องใช้ปุ๋ย ยา ซึ่งวิธีการผลิตแบบนี้ยากที่จะหลุดจากภาวะการติดหนี้ไปได้?? สมาชิกผู้ผลิตในตลาดสีเขียวจึงจัดทำโครงการไถ่ถอนหนี้สินโดยตั้งงบจากโครงการเกษตรยั่งยืนของเครือข่ายฯ เอง? และกิจกรรมระดมทุน ?ผ้าป่าที่ดิน? ได้เงินมา 2.5 แสนบาทมาไถ่หนี้ให้พวกเขา? แล้วเริ่มปรับเปลี่ยนมาทำการเกษตรแบบอินทรีย์แบบที่ต้องการเป็นนายของตัวเองอย่างแท้จริงในปี 49 และได้นำสินค้าดีๆ จากส่วนเกินที่บริโภคในครัวเรือนมาจำหน่าย ณ แห่งนี้

กบยัดไส้ จากนาอินทรีย์

นับแต่ปลดสภาพตัวเองจาก ?ลูกไล่? ของนายทุน มาเป็น ?นายของตัวเอง?? ตัดสินใจทำการผลิตที่รับผิดชอบต่อ ตัวเอง ลูกหลาน ผู้บริโภค ชุมชนที่เกื้อกูล? และธรรมชาติ??? วันนี้? พวกเขาทั้ง 9 ครอบครัวได้เป็นสมาชิกกลุ่มผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์ในตลาดสีเขียวสุรินทร์ที่ผู้บริโภคยอมรับได้อย่างเต็มสุข และมีศักดิ์ศรี? โดยที่แต่ละครอบครัวจะมีรายได้เฉลี่ยต่อสัปดาห์ราว? 3,000 บาท จากสินค้าแห้ง? สินค้าสด สินค้ากึ่งสำเร็จ และสินค้าพร้อมรับประทาน ภายใต้มาตรฐานการผลิตของกลุ่มพวกเขาเอง

นอกจากกลุ่มผู้ผลิตจะรวมกันตั้งเป็นสหกรณ์เกษตรอินทรีย์กองทุนข้าวสุรินทร์ เพื่อผลิตและจำหน่ายข้าวอินทรีย์ในราคาที่เป็นธรรมทั้งคนปลูกและคนกินแล้ว ยังมีผลิตภัณฑ์ต่างๆ มากมายจากระบบนาอินทรีย์ในวิถีชาวสุรินทร์ ที่ปลูกพืชผสมผสานสลับสับเวียนในนาข้าวด้วย งา และถั่ว? รวมทั้งยังมีที่หัวไร่ปลายนาและสวนครัวเพื่อปลูกผักพืชผลไม้เพื่อตอบสนองการบริโภคที่หลากหลาย ซึ่งจำหน่ายที่ ?ร้านข้าวหอม?? จ.สุรินทร์

นก? ผู้ประสานงานเครือข่ายเกษตรทางเลือก จ.สุรินทร์? พาฉันเดินดูรอบๆ บริเวณ เดินไปเล็งไปว่าจะเอาอะไรกลับบ้าน พร้อมเพิ่มพูนความรู้ประสาคนไม่ค่อยรู้มาอีกว่า นอกจากคนใต้จะกินดอกดาวเรืองกับขนมจีนแล้ว คนสุรินทร์ยังกินใบดอกดาวกระจาย ,? เทคนิคการทำสีสวยๆ ในขนมจีนด้วยดอกไม้และผักพื้นบ้าน? ผักพื้นบ้านของอีสานอย่างผักขะแยงซึ่งเป็นตัวชี้วัดการใช้-ไม่ใช่สารเคมีในนา พร้อมกับกบนายัดไส้ร้อนๆ หอมๆ แสนอร่อยและขนมจีนจานใหญ่เป็นมื้อเช้า ที่คัดเลือกมาจาก 60 พ่อค้า-แม่ค้าที่วางเรียงราย?

ฉันเก็บซับความรู้เกี่ยวกับอาหารการกิน การผลิต เพื่อที่จะให้เราสามารถเลือกตัดสินใจกินได้ของเราก็ค่อยเจริญงอกงาม มาจากบรรดาแม่ค้า พ่อค้า ที่เป็นผู้ผลิตแบบอินทรีย์ตัวจริงเสียจริงไปพร้อมๆ กับการเลือกซื้อสินค้าเอากลับมาบ้าน?

หมูกี้ชำแหละที่เลี้ยงกินดีอยู่ดีแบบไม่พึ่งหัวอาหาร

ฉันไม่มีโอกาสได้มาตลาดสีเขียวที่สุรินทร์บ่อยนัก? แต่มาทุกครั้งก็จะตุนข้าวอินทรีย์กลับไป? ที่นี่มีข้าวอินทรีย์หลายสายพันธุ์ให้เลือก? ทั้งข้าวหอมมะลิ? ข้าวหอมปกาอำปึล(อำปึล – ดอกมะขาม)? ข้าวพญาลืมแกง? รวมไปถึงข้าวที่ให้สีต่างๆ เช่น ข้าวหอมมะลิแดง? ข้าวเหลือง ข้าวหอมนิล ข้าวก่ำ (สีดำ)

ที่บ้านทะมอ และบ้านทัพไท ซึ่งเป็นแหล่งผลิตของสมาชิกตลาดสีเขียวส่วนใหญ่เป็นชุมชนชาวเขมร? อาหารการกินไม่ว่าจะเป็น ข้าว กับข้าว รวมไปถึงขนมต่างๆ จึงคล้ายๆ กับภาคกลางและภาคใต้นัก

ดูคลิ๊ปวีดีโอ? เที่ยวตลาดสีเขียว จ.สุรินทร์

กลับมาถึงบ้านพร้อมข้าวกล้องแดง? น้ำผึ้ง? ส้มโอ? ไข่เค็ม ปลาร้า กะหรี่พัพ และอีกสารพัด เท่าที่จะแบกจะขนอาหารมาได้? นี่ถ้าตลาดใกล้บ้านมีแบบนี้คงไม่ต้องกลายเป็นบ้าหอบฟางอย่างนี้? … นึกอยู่ในใจ และไม่รู้เมื่อไหร่ว่ามันจะเป็นจริง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง ของฝากจากกินเปลี่ยนโลก | เกมส์จัดกล่องอาหารเปลี่ยนโลก

เรื่องโดย

บุญตา วนานนท์

นักคิด นักเขียนที่สนใจ อาหาร เกษตร สิ่งแวดล้อม