ตอนที่ 7 ถึงเวลาถามหาสารพัดถั่วพื้นบ้าน
แชร์
65
แชร์
65
65
ในช่วงเทศกาลเจ? ถั่วมีบทบาทมากเพราะเป็นพืชอาหารที่ให้โปรตีนทดแทนเนื้อสัตว์? แต่เมื่อมองย้อนกลับไปแหล่งหากินของคนเมืองส่วนใหญ่ซึ่งหนีไม่พ้นห้างสรรพสินค้า? หรือกลุ่มคนที่เริ่มกลับมากินเปลี่ยนแหล่งที่มาโดยไปค้นหาจากร้านค้าสินค้าออแกนนิคและตลาดสด? ถั่วที่เราเห็นกลับมีอยู่ไม่กี่ชนิด? ที่คุ้นเคยกันก็มี ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วแดงหลวง ถั่วดำ ถั่วซีก(ถั่วเขียวกะเทาะเปือก) ถั่วลิสง และถั่วลันเตา? นอกจากนี้ก็มีเนื้อสัตว์เทียมที่ทำจากหัวบุก และถั่วเหลือง
หลายปีมาแล้วที่เราต้นทนกล้ำกลืนกินอาหารเจ อาหารมังสวิรัติ ที่มาจากโปรตีนเกษตรเหล่านี้ โดยที่ถุงข้างบรรจุโปรตีนเกษตรเหล่านี้เขียนอย่างชัดแจ้งว่า ?ผลิตจากวัตถุดิบถั่วเหลืองดัดแปรพันธุกรรม??
ฝ่ายรณรงค์ให้ผู้บริโภคหันมาสนใจคงจะต้องติดตามกันต่อไปว่าการปนเปื้อนถั่วเหลืองจีเอ็มโอในประเทศไทยกว้างไกลไปถึงไหนหนอ?? เท่าที่รู้ พืชจีเอ็มโอไม่อนุญาตให้ปลูกเพื่อการค้าในประเทศไทย? วัตถุดิบโปรตีนเกษตรจีเอ็มโอคงมาไกลจากอเมริกา ประเทศมหาอำนาจด้านถั่วเหลืองที่สามารถทุ่มตลาดจนผู้ผลิตถั่วเหลืองในไทยสู้แทบไม่ไหว และบาดเจ็บล้มตายแบบสิ้นประดาตัวไปก็มาก
หากจะยกข้ามไม่ต้องมาโต้เถียงกันเรื่องความปลอดภัยในการบริโภคไป? ผลจากการส่งเสริมให้มีการกิน แปรรูปผลิตภัณฑ์ และจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองกันอย่างกว้างขวาง โดยกล่าวอ้างถึงคุณค่าโภชนาการของถั่วเหลืองซึ่งก็มีอยู่จริง? โดยละเลยการที่จะหยิบยกถั่วชนิดอื่นๆ ที่มีอยู่ในบ้านเรา ซึ่งมีคุณค่าด้านโภชนาการและการนำมาแปรรูปผลิตภัณฑ์ได้หลากหลาย และสามารถปลูกกันได้ทั่วไปในหลายๆ สภาพพื้นที่ทางภูมินิเวศน์ที่มีความแตกต่าง? ถั่วพื้นบ้านหลายๆ อย่าง กลับกลายเป็นของหายากและไม่มีให้กิน?
ขณะที่การปลูกถั่วเหลืองเพื่อจำหน่ายของคนปลูกกลับมีปัญหามากมาย ซึ่งนอกเหนือจากเรื่องราคารับซื้อแล้ว? ปัญหาเรื่องราคาเมล็ดพันธุ์ที่พ่วงมากับสิทธิบัตรพันธุ์พืช และความไม่สามารถเก็บพันธุ์ไว้ใช้เองได้ ยังเป็นปัญหาหนึ่งที่ค้างคาใจกันอยู่
ดีที่ยังมีโอกาสได้ไปเยี่ยมเยือนเพื่อนพ้องที่มีแปลงทำนาทำสวนอินทรีย์ในหลายๆ ที่ในภาคอีสาน? เรายังได้มีถั่วแห้งพื้นบ้านอย่างถั่วพุ่มให้กิน?
เมล็ดถั่วพุ่มแห้ง? คนที่ปลูกนอกจากจะเก็บบางส่วนไว้ปลูกทำพันธุ์ต่อเองได้แล้ว? ยังใช้ทำขนม? ทั้งเป็นส่วนประกอบในข้าวต้มมัดแบบต่างๆ ตามแต่ละชุมชนแล้ว? ยังเอาไปต้มกินเล่น คั่วเคี้ยวกินเล่นเพลินๆ ใจ
ถั่วพุ่มฝักสดที่ยังอ่อนมีทั้งสีแดง สีเขียว และสีเขียวลาย ปลูกง่ายและกินอร่อย เคี้ยวมัน เพราะมีเนื้อฝักมาก? กินอร่อยไม่แพ้ถั่วฝักยาว
หนุ่มๆ สาวๆ อีสานยืนยันว่า? ตำบักถั่ว(พุ่ม) แซ่บอีหลีคักๆ กว่าถั่วฝักยาวแบบคนละชั้น
หากปล่อยให้ฝักถั่วพุ่มแก่อีกสักหน่อยโดยที่ฝักยังไม่ทันเหี่ยวแห้งคาต้นเหมือนตอนเก็บเมล็ดแห้ง? ใช้วิธีแกะเอาแต่เมล็ดสดๆ เต่งๆ นั่นแหละมาเคี้ยวกินเล่น หรือกินแนมกับข้าวคลุกกะปิ???
ถั่วที่มีคุณค่าโภชนาการดีๆ ไม่แพ้ถั่วเหลือง อย่างถั่วพู หรือถั่วมะแฮะต้น ซึ่งมีนักวิจัยศึกษาค้นคว้าในด้านโภชนาการ และการแปรรูปไว้? ยังไม่มีชาวบ้านที่ไหนกล้าทดลองผลิตออกมาเป็นเมล็ดแห้ง? ได้แต่ปลูกและเก็บกินกันไว้ในบ้านในหมู่พ้องเท่านั้น
?
ถ้าจะเสาะหาถั่วๆ? ก็ยังมีถั่วพื้นบ้านที่เป็นฝัก และเป็นผักอยู่อีกพอสมควรเชียวแหละ ถั่วบะบอย? ถั่วแปบ? ถั่วแดงหลากหลายขนาดทั้งเมล็ดเรียวและเมล็ดกลม? รวมไปถึงกระถิน สะตอ โสน เพกา แคบ้าน แคแดง? แคฝรั่ง? มะกล่ำ ฯลฯ? ซึ่งในเมนูอาหารท้องถิ่นของแต่ละที่ต่างมีลีลายักเยื้องกันไปตามสไตล์ของแต่ละแห่งที่ไป
ฉันได้แต่แก้เก้อ แก้เขินใจยามสิ้นไร้ถั่วเมล็ดแห้ง ด้วยการขวนขวายหาเหล่านี้มาปลูกไว้กินที่บ้านซึ่งมีที่ทางอย่างจำกัดจำเขี่ย ก็พอกล้อมแกล้มแก้ยากไปได้? แต่ยังแอบหวังอยู่ในใจ ว่าหากมีคนรักถั่วพื้นบ้านยังคงต้องการกิน? กินถั่วเพื่อให้บรรดาถั่วๆ ที่ปลูกและเก็บพันธุ์ไว้เองได้ ฉันและคุณ และใครต่อใคร ก็จะมีสารพัดสารพันถั่วเอาไว้ได้กินได้ใช้? โดยไม่ต้องแกล้งทำตาถั่วกล้ำกลืนกินถั่วจีเอ็มโอที่สร้างความเจ็บช้ำกระดองใจให้กับตัวเองและคนปลูกอีกต่อไป