Global Food Movement

ชุมชนผู้ประกอบการแนวใหม่ใน UK

แชร์

247

247

Cambridge CropShare, based at Willow Farm in Lode, Cambridgeshire, is part of the Community Supported Agriculture network. Photograph: Cambridge CropShare 

เดอะการ์เดี้ยน สรุป 5 กิจการแนวใหม่ในประเทศสหราชอาณาจักร (อังกฤษ เวลส์ สก๊อตแลนด์ ไอร์แลนด์) ในการสร้างระบบเศรษฐกิจที่ให้ผลกำไรแก่ชุมชนและสิ่งแวดล้อม ใช้คำว่า “grassroots enterprises” หรือ “วิสาหกิจรากหญ้า” 

จากช่วงแรกที่เริ่มต้นด้วย Food assemply หรือ การเชื่อมโยงผู้ผลิตผู้บริโภคโดยตรง โดยการสั่งซื้อล่วงหน่าเป็นอาทิตย์ ถึงวันก็นนัดมารับพืชผักที่สั่งเจอหน้าเจอตากัน คนปลูกก็รับกำไรไปเต็ม ๆ ถึง 80 % แทนที่จะไปจ่ายให้ซุปเปอร์มาร์เก็ต แบบที่บ้านเราก็เริ่มมีมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มผักประสานใจ ผูกปิ่นโตข้าว ปิ่นโตใส่ใจ ตะกร้าปันผัก CSA Health me delivery หรือน้องใหม่มาแรง Fork Rice

เรื่องแบบนี้มันก็มักเริ่มต้นจะกลุ่มคน เครือข่ายของผู้คนมาริเริ่มกัน สนับสนุนกันให้เกิดสิ่งใหม่ ๆ เพราะจะหวังให้ผู้นำธุรกิจรุ่นเก่าลุกขึ้นมาเปลี่ยนมันเกือบเป็นไปไม่ได้ แล้วก็ต้องสร้างวัฒนธรรมผู้ประกอบการแบบใหม่ นิยามกันใหม่ว่า “นักลงทุน” หมายความว่าอย่างไร จนเมื่อประมาณ 4 ปีที่แล้ว มีกลุ่มที่เรียกว่า “Local entrepreneur forum” ก่อตัวขึ้น เปิดเวทีให้นักธุรกิจรุ่นใหม่ ๆ กลุ่ม ชุมชน มาเสนอไอเดียธุรกิจ แล้วให้การหนุนช่วยทั้งในรูปของเงินกู้ คำแนะนำ โกดังเก็บสินค้า ไปจนถึงอ้อมกอดกำลังใจ

มาดูกันว่า 5 แนวทางสร้างเศรษฐกิจใหม่ที่ว่านั้นมีอะไรบ้าง

1. Community ownership กิจการที่ชุมชนเป็นเจ้าของร่วมกัน ตัวอย่างเช่น โรงหนังที่เมืองบริสตอล สวนผลไม้คนเมืองที่ดันดี มีโครงการเกี่ยวกับพลังงานท้องถิ่นนับร้อย ๆ โครงการ

2. Cooperatives นี่ก็เป็นกิจการแบบชุมชนอุดหนุน แต่ใช้รูปแบบการจัดการแบบสหกรณ์คือเจ้าของเป็นคนงานหรือสมาชิกสหกรณ์ ที่ฮิตก็เช่น ร้านขนมปังทำมือ Handmade Bakery ในหลายเมือง ร้านเบียร์ สหกรณ์ปลูกผักในเมนเชสเตอร์ที่ส่งให้ผู้ซื้อ 40 รายเป็นต้น หลายกิจการก็ทำหน้าที่เหมือนเป็นสโมสรให้คนมาทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น The Moss Cider project ก็ชวนคนไปเก็บแอปเปิ้ล แล้วมาเรียนทำแอปเปิ้ลไซเดอร์ด้วยกัน

3. Repair and Share แลกของใช้กัน ช่วยกันซ่อมสรรพสิ่ง เหมือนยืมชองใช้เพื่อนบ้าน เช่น สว่านเจาะไฟฟ้า เขาว่าคนเราทั้งชีวิตเฉลี่ยใช้มันแค่ 13 นาที แล้วจะซื้อมาแช่ไว้ที่บ้านทำไม ก็เลยมีกิจการจำพวก ห้องสมุดของสรรพสิ่ง Library of Things มีสว่าน ค้อน เคียวให้ยืมใช้กัน หรือทำเป็นคาเฟ่พวกชอบซ่อม Repair Café เป็นที่ๆ ให้พวกมือใหม่ มาเรียนมาฝึกกับช่างซ่อมผู้ชำนาญการ สวนทางสังคมใช้เสียแล้วทิ้งกันจริงจัง

4. Alternative Currencies and Credit แบบนี้บ้านเราเคยมีเรียก “เบี้ยกุดชุม” แต่รัฐบาลไม่ปลื้มเลยต้องเลิก ง่ายๆ คือทำแบ๊งค์กาโม่ให้ใช้การได้จริงนั่นแหละ เป็นการแลกเปลี่ยนเวลา ทักษะฝีมือ หรือทรัพยากรสิ่งของ

5. อันสุดท้ายมันต้องไม่พลาดเรื่อง “ขยะ” การสร้างมูลค่าจากขยะ เช่น เอาเศษกาแฟไปเพาะเห็ด การจัดการ Food waste นำอาหารที่ระบุว่าหมดอายุมาปรุงขายในร้านที่เรียกชื่อ Junk Café แล้วให้คนกินจ่ายตามที่รู้สึกอยากจ่าย pay –as- you- feel

อยากทำกันบ้างไหมใครริมาเราจะเอาด้วยหมดเลย


http://www.theguardian.com/sustainable-business/2015/sep/17/economy-grassroots-projects-local-social-austerity

เรื่องโดย

ทีมกินเปลี่ยนโลก

ทีมงานที่ร่วมสร้างวิถีแห่งการกิน เพื่อการเปลี่ยนแปลงโลก เรากินทุกวัน เราเปลี่ยนโลกทุกวัน