ยำยวม
แชร์
272
email-subscribers
domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init
action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /home4-ns1sg/food/domains/food4change.in.th/public_html/wp-includes/functions.php on line 6114jetpack-boost
domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init
action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /home4-ns1sg/food/domains/food4change.in.th/public_html/wp-includes/functions.php on line 6114แชร์
272
272
ฉันชอบตลาดสดตามชนบท เพราะมีผักพื้นบ้านประจำถิ่นให้ตื่นตาตื่นใจ อยากรู้ว่ากินอย่างไร รสชาติเป็นแบบไหน หากไปต่างจังหวัดสิ่งหนึ่งที่ไม่อยากพลาดคือเดินตลาดแบบบ้านๆ ที่คนในท้องถิ่นเก็บผักบ้านผักป่าตามฤดูกาลมาขายอย่างหลากหลายอย่างละนิดละหน่อย เป็นเสน่ห์ของตลาดสดบ้านๆ เดินเพลินกันเลยทีเดียว แต่ถ้าเดินตลาดสดที่มีผักเหมือนๆกัน ผักชนิดเดียวกันทุกวันทั้งปี ช่างน่าเบื่อนึกไม่ออกว่าจะกินอะไรดี ชีวิตไร้สีสันขาดทางเลือก ไม่อยากไปเดินตลาดนั้นเพราะก็เหมือนกับตลาดอื่นๆ ฉะนั้นหากคุณได้ไปต่างจังหวัดอย่าลืมไปแวะตลาดสดบ้านตามบ้านนอกดูว่าเขากินอะไร กินอย่างไร แล้วลองมาทำกินดูนะค่ะ เป็นสีสันของชีวิตที่หาซื้อไม่ได้ตามซุปเปอร์สโตร์
เมื่อครั้งกลับบ้านที่แม่สอดฉันไปเดินกาดบ้านเหนือ (ตลาดพื้นเมืองของอำเภอแม่สอด) หวังจะเจอผักบ้านๆ ตามฤดูกาลให้ได้กินสักอย่างหนึ่ง แล้วก็สะดุดตากับผักเป็นฝักสีเขียวอ่อนแบนๆ ยาวประมาณ 1 คืบ คล้ายใบไม้ เป็นผักป่าออกฝักอ่อนให้กินเฉพาะช่วงปลาย ธ.ค – ต้น ม.ค. หากเลยช่วงนี้ฝักจะแก่กินไม่ได้ นึกชื่ออยู่นาน “ยวม” (ภาษาเหนือ) นั่นเอง บางจังหวัดเรียก งวม นวม หรือหนามโก้ง ภาษากลาง เรียก “กำลังเจ็ดช้างสาร” ชื่อสื่อความหมายดี
หลังได้ยวบแล้วอย่างลืม ซื้อ หมี่ขาว และกุ้งแห้งติดมือไปด้วย เมนูวันนี้เราจะพายำยวมแสนอร่อยให้ชิมกัน
มาเรียนรู้วิธีกินผักพื้นบ้าน “ยวม”
ยำยวม ทำได้ 2 แบบ คือ ยำแห้ง และยำน้ำ แบบแห้งจะใส่กุ้งแห้ง ยำน้ำจะใส่ปลาสดต้ม แต่ปลาธรรมชาติหากินยากปัจจุบันนิยมใช้ปลาทูแทน ฉันชอบยำแบบแห้งมากกว่า ซื้อกุ้งแห้งตัวขนาดกลาง 2 ขีด ไปถึงบ้านก็อ้อนแม่ว่าวันนี้เราทำยำยวมกินกันเถอะ ไม่รอช้าแม่จัดแจงแบ่งหน้าที่คนในครอบครัว
พ่อเตรียมวัตถุดิบ
หน้าที่หั่นซอยให้บางเฉียบไม่พ้นพ่อ ทุกเมนูที่ต้องใช้ความใจเย็นละเอียดให้การซอยให้บาง ไม่มีใครในบ้านฝีมือดีเท่าพ่อ พ่อจัดแจงเตรียมเขียงและมีดอีโต้ (เล็ก) ลับจนคมวับ เด็ดก้านฝักออก ล้างยวมให้สะอาด จับฝักเรียงแถวค่อยๆ ซอยจนบางเฉียบ จนหมด 4 มัด ได้ 1 กะละมังเล็ก แล้วโรยเกลือคั้นบีบให้น้ำฝาดของยวบออก ล้างด้วยน้ำเปล่าให้หายเค็ม บีบคั้นให้สะเด็ดน้ำมากที่สุด
แม่เตรียมพริกแกงสำหรับยำ
ส่วนประกอบ ก็มีพริกแห้ง 7-10 เม็ด กระเทียม 1 หัว ตะไคร้ซอย 1 หัว กะปิกุ้งอย่างดี 1 ช้อนชา กุ้งแห้ง 1 ขีด
ล้างน้ำให้สะอาดแช่ให้เนื้อฟู โขลกพริก กระเทียม ให้แหลก แล้วใส่กุ้งแห้งลงไปโขลกให้ละเอียดจนเนื้อฟู ใส่กะปิโขลกให้เข้ากัน คนทำหน้าที่โขลกเป็นน้องชายเนื่องจากตอนนี้แม่ปวดข้อใช้งานหนักไม่ได้อาการจะกำเริบ เมื่อได้น้ำพริกยำแล้ว ตั้งกระทะใส่น้ำมันพืชหรือน้ำมันหมูประมาณ 3-4 ช้อนโต๊ะ ตั้งไฟให้ร้อนใส่หอมแดงซอย 5-6 หัว (หัวเล็ก หัวใหญ่ 2-3 หัว) พอหอมแดงเหลือง ตักพริกแกงลงไปผัดให้หอม พักไว้ให้เย็น
ระหว่างรอพริกแกงเย็น แม่ก็ทอดหมี่ขาวจนฟูกรอบเตรียมไว้ 1 กะละมังเล็ก พอพริกแกงเย็นแล้ว ก็นำมาคลุกกับยวมที่เตียมไว้ให้เข้ากัน ตามด้วยหมี่กรอบอย่างคลุกหมี่นานจะให้หายกรอบไม่อร่อย ตักใส่จาน โรยด้วยต้นหอมผักชี ได้เมนู ยำยวมแสนอร่อย ถูกใจทุกคนในบ้าน ยำแล้วอย่ารอช้า! ให้กินทันที หากทิ้งไว้จะชืดไม่อร่อยเพราหมี่หายกรอบ กินกับข้าวสวยร้อนๆ หรือจะเป็นเมนูกินเล่นไว้รับแขกบ้านแขกในเมือง สร้างความประทับใจไม่รู้ลืม
หากแขกเมืองติดใจ แม่ท่านก็ไม่ลืมบอกสูตรให้ไปทำกิน หรือถ้าจะให้ทำง่ายประหยัดเวลา หรือเป็นของฝากติดไม้ติดมือแขกเมือง ก็ทำเป็นชุดยำยวม มีพริกแกงพร้อมยำ หมี่ขาวทอดกรอบ และหอมแดงเจียว ให้แขกนำไปยำกับยวมได้เลย
“ของกิ๋นบ้านเฮา เลือกเอาเต๊อะนาย เป๋นของพื้นเมือง เป๋นเรื่องสบาย ล้วนสะป๊ะมากมี” (จากเพลงของกิ๋นคนเมืองโดย จรัล มโนเพชร)
ปล.ส่วนหน้าที่ฉันคือ ถ่ายรูป จำสูตร เอาไว้เขียนถ่ายทอดให้ท่านผู้อ่าน แล้วที่สำคัญเป็นคนกินที่น่ารัก เติมข้าวหลายรอบให้แม่ชื่นใจ กลับบ้านทีไรแม่หมายมั้นจะขุนฉันให้อ้วนพี แต่อาหารที่ฉันชอบกินมีแต่ผักทั้งนั้นฉันไม่อ้วนหรอกแม่ แล้วคิดคุณว่าอย่างไร
“You are was you eat” / “Food for change”