Do boycotts really work ?
แชร์
222
email-subscribers
domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init
action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /home4-ns1sg/food/domains/food4change.in.th/public_html/wp-includes/functions.php on line 6114jetpack-boost
domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init
action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /home4-ns1sg/food/domains/food4change.in.th/public_html/wp-includes/functions.php on line 6114แชร์
222
222
คือไอ้บอยคอตเนี่ย เป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้กันทั่วไปในการรณรงค์เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมและนโยบายปฏิบัติของเป้าหมาย ไปถึงการเปลี่ยนแปลงสังคม เป็นเครื่องมือที่ผู้บริโภคใช้เพื่อแสดงความไม่พอใจให้ผู้ประกอบการสินค้าบริการได้รับรู้ Ethical Consumer Magazine ของเกาะอังกฤษระบุว่า มี “Progressive botcotts” ดำเนินการอยู่ในเวลานี้ไม่น้อยกว่า 66 รายการทั่วโลก แต่ถ้าไปนับทั้งหมดที่ไปสะกิดดูในอินเตอร์เน็ตเนี่ย นับไม่หวาดไหวเลยแหละ
http://www.theguardian.com/vital-signs/2015/jan/06/boycotts-shopping-protests-activists-consumers
บทความนี้เค้าแบ่งการบอยคอตเนี่ยเป็นสองแบบหลัก ๆ ได้แก่ แบบชาวบ้าน กับแบบโปร มันก็ต่างกันประมาณ แบบวางแผนดิบดีมีกิจกรรมเชื่อมโยงร้อยไปบรรลุเป้าหมายที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนพฤติกรรมและนโยบายของบริษัท ซึ่งต้องเล่นกันยาว กับแบบชาวบ้านเกิดไม่พอใจบริษัทใดบริษัทหนึ่งก็ชวนกันไม่ซื้อ ไม่จ่ายทรัพย์ให้บริษัทนั้น หลายกรณีก็ส่งผลให้ยอดขายตก ชวนตกใจไประยะสั้น บริษัทอาจปรับปรุงสินค้าและบริการ แต่ส่วนใหญ่แล้วเค้าบอกว่าไม่ค่อยส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและนโยบายของบริษัทนัก คือทำป๊อบๆ แป๊บๆ มันก็ได้ผลแบบแว๊บๆ ตัวอย่างเช่น การบอยคอตไวน์ฝรั่งเศสตัวหนึ่งในสหรัฐ ทำเอายอดตก 26 % แต่ห้าหกเดือนให้หลังก็กลับมาอย่างเก่า ไม่มีผลแต่อย่างใดต่ออุตสากรรม หรือนโยบายการผลิตไวน์ในฝรั่งเศส
มาไล่ๆ ดูแคมเปญบอยคอตที่ประสบความสำเร็จ เป็นแคมเปญทีต้องเล่นกันยาว ๆ ทั้งนั้นเลย ล่าสุดเนี่ยก็ Sodastream เครื่องทำน้ำซ่า ที่ดันไปมีโรงงานอยู่ในฉนวนกาซ่า เค้าบอยคอตกันทำเอาเจ๊งใน UK แต่ดูเหมือนจะยังไม่ย้ายโรงงานนะ ก็คงต้องว่ากันต่อ
http://www.ethicalconsumer.org/boycotts/successfulboycotts.aspx
ล่าสุดปี 2012 แบบเห็นการเปลี่ยนแปลงชัด ๆ เป็นรูปธรรม ก็บริษัท Johnson & Johnson เลิกใช้สารที่มีฟอร์มาลีนในผลิตภัณฑ์สำหรับทารก อันนี้เป็นส่วนหนึ่งของแคมเปญบอยคอตเพื่อเครื่องสำอางค์ที่ปลอดภัย
ที่ดังมากหลายคนคงเคยได้ยินเมื่อทศวรรษที่แล้ว ก็ Nike เรื่องแรงงานเด็ก การเอาเปรียบซัพพลายเอ้อ ส่งผลยาวไกลให้ไนกี้ต้องทำงานหนักมากในการกอบกู้ภาพลักษณ์ และสร้างภาพลักษณ์แบรนด์ใหม่กลายเป็นแถวหน้าในการจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืนกันเลยทีเดียว
อีกตัวอย่างหนึ่งก็ Nestle’ ที่ยังยืดเยื้อทำกันต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน เรื่องเนสเล่ทำการตลาดนมผงแบบชั่วร้ายในประเทศยากจนอย่างแถบอัฟริกา แจกนมฟรีตั้งแต่ในโรงพยาบาล เอาเซลวูแมนแต่งชุดพยาบาลมาแนะนำการเลี้ยงลูกด้วย นม (ผง) เป็นต้น ก็บอยคอตกันจนเลิกพฤติกรรมแบบนี้เป็นประเทศ ๆ ไป ของบ้านเราก็ห้ามแจกนมฟรีใน รพ.ไปหลายปีแล้ว
น่าสังเกตว่าการบอยคอตที่ประสบความสำเร็จเหล่านี้เป็นการปฏิบัติการของผู้บริโภคในโลกเหนือที่ส่งผลต่อพฤติกรรมบริษัทที่ไปกระทำในโลกใต้เสียเป็นส่วนใหญ่ เงื่อนไขสำคัญของประสิทธิภาพและความสำเร็จของแคมเปญเหล่านี้ ผู้ชำนาญการท่านว่า ต้องเป็นการโจมดีแบรนด์ที่ได้ผล ทำให้บริษัทรู้สึกว่าแบรนด์กำลังเสียหาย และเป็นความเสียหายที่อาจประเมินเป็นตัวเงินได้ยาก ยิ่งกว่ายอดขายตก นอกจากนี้ก็ต้องมีทางออกให้บริษัท บทความใช้คำว่ามี carrots กับ stick คือทำดีได้แครอทเป็นรางวัล ได้ชื่อได้หน้า ทำห่วยก็ได้ไม่เรียวโดนด่าโดนประณามเลิกซื้อกันไปบ้าง ที่สำคัญคือ ต้องระบุคำถาม หรือสิ่งที่เราต้องการให้บริษัททำให้ชัดเจนเป็นรูปธรรม
ย้อนกลับมาดู ไม่เข้าไม่ซื้อ 7 11 7-11 May ของบ้านเรา ก็นับว่าเป็นมือใหม่เริ่มขับ สร้างกระแสได้ครึกครืนทีเดียวใน social network หวังว่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของการแคมเปญระยะยาวที่จะส่งผลถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหากำไรอย่างที่เรียกว่าเกือบสามานย์ในหลายกรณีของบรรษัทที่เป็นเป้าหมาย และที่จำเป็นและสำคัญอย่างที่สุดคือการส่งอิทธิพลต่อการพัฒนานโยบายและกลไกมากำกับควบคุมพฤติกรรมของบริษัททั้งหลายไม่ใช่แต่บริษัทนี้บริษัทเดียว ให้เกิดความเป็นธรรม และให้การแข่งขันเสรีมันมีในโลกความเป็นจริงบ้างไม่เป็นแค่ฟองน้ำลายของนักเศรษฐศาสตร์