ปัจจัยที่มีผลต่อการ”ปลูกผักสวนครัว”
แชร์
256
email-subscribers
domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init
action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /home4-ns1sg/food/domains/food4change.in.th/public_html/wp-includes/functions.php on line 6114jetpack-boost
domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init
action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /home4-ns1sg/food/domains/food4change.in.th/public_html/wp-includes/functions.php on line 6114แชร์
256
256
ดิน เป็นปัจจัยแรก และเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการปลูกพืชผักมากที่สุด เนื่องจากดิน เป็นที่อยู่ของรากพืช และเป็นแหล่งสารอาหารที่พืชต้องใช้ในการเจริญเติบโต ดังนั้นในการปลูกพืชผักในระบบเกษตรอินทรีย์จึงจำเป็นต้องอาศัยความอุดมสมบูรณ์ของดินเป็นหลัก ซึ่งดินสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดใหญ่ ๆ คือ
1.ดินเหนียว เป็นดินที่มีอนุภาคของเนื้อดินค่อนข้างละเอียด ดูดซับน้ำได้ดี แต่การระบายน้ำไม่ดี และมีการเกาะรวมตัวกันแน่น ดังนั้นในการแก้ไข หรือปรับปรุงดิน สามารถทำได้โดยการผสมอินทรียวัตถุต่าง ๆ เช่น ทราย หรือขี้เถ้าแกลบเข้าไป เพื่อให้ดินสามารถระบายน้ำได้ดีขึ้น และเพิ่มสารอาหารให้กับดินด้วยการผสม ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก
2.ดินทราย เป็นดินที่มีอนุภาคของเนื้อดินหยาบ ไม่เกาะตัวกัน มีการระบายน้ำที่ดีมาก ไม่สามารถอุ้มน้ำได้ และมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ดังนั้นสามารถแก้ไขได้โดย การเพิ่มอินทรียวัตถุที่มีความสามารถในการอุ้มน้ำ เช่น ขุยมะพร้าว ขี้เถ้าแกลบ นอกจากนี้ยังต้องเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินด้วยการเติมปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก
3.ดินร่วน เป็นดินที่มีส่วนผสมของดินทรายและดินเหนียวในปริมาณที่เหมาะสม มีการดูดซับน้ำได้ปานกลางเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะกับการปลูกพืชผัก
ซึ่งหากดินในพื้นที่ ที่ต้องการปลูกพืชผักมีลักษณะที่ไม่เหมาะสมต่อผักที่ต้องการปลูก เราควรมีการปรับปรุงบำรุงดินให้มีคุณลักษณะที่เหมาะสมต่อการปลูกพืชผักที่ต้องการ โดยเราสามารถใช้วัสดุธรรมชาติชนิดต่าง ๆ มาช่วยในการปรับปรุงบำรุงดินได้ โดยวัสดุที่นำมาใช้ปรับปรุงบำรุงดินนั้นควรมีคุณลักษณะที่สามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่น มีราคาถูก และมีธาตุอาหารที่ตรงความต้องการของพืช ซึ่งวัสดุที่นิยมนำมาใช้ในการปรับปรุงดินได้แก่
1. ทรายหยาบ เป็นวัสดุธรรมชาติ มีแหล่งกำเนิดจากทะเล หรือแม่น้ำ มีคุณสมบัติในการอุ้มน้ำได้ดี มีราคาถูก แต่มีข้อด้อยคือ มีความพรุนต่ำ อาจทำให้เกิดการอัดตัวแน่น ทำให้การระบายน้ำและอากาศไม่ดี มีน้ำหนักมาก
2. ดินปลูก ดินปลูกมีหลายชนิด หลายแบบให้เราได้เลือกซื้อหามาใช้ ส่วนใหญ่จะมีส่วนประกอบ 3 ส่วน คือดินร่วน ขี้เถ้าแกลบ และ ขุยมะพร้าว นอกจากนี้ยังมีดินปลูกที่ได้จากธรรมชาติ เช่น ดินใบก้ามปู ดินขุยไผ่ การเลือกซื้อควรเลือกให้เหมาะสมกับงานที่ต้องการใช้
3. แกลบสด เป็นวัสดุธรรมชาติ เป็นของเหลือจากกระบวนการสีข้าว มีคุณสมบัติ ระบายน้ำได้ดี มีความพรุนสูง ทำให้อากาศสามารถกระจายตัวได้ดี สามารถย่อยสลายตัวได้ มีน้ำหนักเบา และมีราคาถูก แต่แกลบก็มีข้อเสียในเรื่องการอุ้มน้ำได้น้อย เนื่องจากมีความพรุนสูงทำให้การรักษาความชื้นในดินไม่ค่อยดีเท่าที่ควร และหาซื้อได้ยากในเขตเมือง
4. ขี้เถ้าแกลบ เป็นของเหลือที่ได้จากการนำแกลบที่ได้จากการสีข้าว ไปเผาไหม้เพื่อให้พลังงานความร้อน มีคุณสมบัติในการอุ้มน้ำได้ดี มีความพรุนสูงทำให้สามารถระบายน้ำได้ดี มีความคงทนของโครงสร้างดี มีการสลายตัวน้อย มีน้ำหนักเบา มีราคาถูก แต่มีข้อเสียคือ ขี้เถ้าแกลบที่ได้จากการเผาไหม้เสร็จใหม่ ๆ จะมีค่าความเป็นด่างค่อนข้างสูง ดังนั้นในการนำไปใช้ควรเลือกขี้เถ้าแกลบที่ค่อนข้างเก่า หรืออาจผสมกับวัสดุชนิด อื่นๆ เพื่อปรับค่าความเป็นกรด – ด่าง ให้สมดุล
5. ขุยมะพร้าว เป็นของเหลือจากโรงงานทำเบาะหรือที่นอน มีคุณสมบัติที่อุ้มน้ำได้ดีมาก มีความพรุนสูงจึงระบายน้ำได้ดี มีน้ำหนักเบา และราคาถูก ข้อเสียคือ การที่ขุยมะพร้าวสามารถอุ้มน้ำได้ดีมาก จึงอาจก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการระบายอากาศ และการละลายของออกซิเจนในดิน และอาจก่อให้เกิดปัญหารากเน่าได้เมื่อให้น้ำมากเกินไป
6.ปุ๋ยคอก เป็นปุ๋ยที่ได้จากมูลสัตว์ต่าง ๆ เช่น หมู โค ไก่ ปุ๋ยคอก หากต้องการนำมาใช้ควรเลือกปุ๋ยคอกที่เก่า หรือผ่านกระบวนการหมักมาก่อน เพื่อกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค และกำจัดเมล็ดของหญ้าที่อาจปะปนมากับมูลสัตว์
7.ปุ๋ยหมัก เป็นปุ๋ยที่ได้จากกระบวนการหมักวัสดุอินทรีย์ต่าง ๆ เช่น ใบไม้แห้ง เศษผัก ผลไม้ เศษอาหาร ด้วยจุลินทรีย์
นอกจากนี้เราสามารถนำวัสดุเหลือใช้ในครัวเรือนนำมาใช้ปรับปรุงบำรุงดินได้ เช่น เศษอาหาร โดยเราสามารถนำเอาเศษอาหารที่เรากินเหลือในแต่ละมื้อ นำมาแยกเอากระดูกสัตว์ชิ้นใหญ่และน้ำแกงออก จากนั้นนำไปล้างน้ำให้สะอาด ตากให้แห้ง(เพื่อให้เก็บได้นานขึ้น) เก็บใส่ถุงไว้ใช้ผสมในดินที่ต้องการปรับปรุง โดยใช้ร่วมกับการใช้น้ำหมักชีวภาพ