the lunchbox(2013)
แชร์
208
email-subscribers
domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init
action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /home4-ns1sg/food/domains/food4change.in.th/public_html/wp-includes/functions.php on line 6114jetpack-boost
domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init
action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /home4-ns1sg/food/domains/food4change.in.th/public_html/wp-includes/functions.php on line 6114แชร์
208
208
นานๆ ที่จะมีหนังที่เล่าเรื่องผ่านอาหารมาให้ดูสักทีนะคะ เค้าว่าดราม่าโรแมนติก แต่เราว่าเต็มไปด้วยอารมณ์คอมมาดี้เล็กๆ อมยิ้มๆ ขำนิดๆ กับ the lunchbox จากอินเดีย ฝีมือเขียนบทและกำกับของ ริเตช บาทรา เรื่องนี้ได้รับเชิญไปฉายไม่ได้เข้าชิงอะไรกับเค้า แต่ได้รางวัลขวัญใจนักวิจารณ์ กลับมาจากเทศกาลหนังเมืองคานส์ปีล่าสุด(2013)
ฉากเป็นมุมไบ อิลา (นิมรัต คาอูร์) แม่บ้านที่รู้สึกถึงความจืดชืดในความสัมพันธ์ระหว่างเธอและสามีจึงพยายามแก้ไขด้วยการปรุงอาหารที่ต้องส่งให้สามีเป็นมื้อกลางวัน หวังว่ามันจะถูกปากถูกใจและเชื่อมโยงเธอและเขาไว้ได้ ทว่าปิ่นโตของเธอกลับถูกส่งไปที่โต๊ะทำงานของ ซาจัญ (อิร์ฟาน ข่าน) หนุ่มหม้ายวัยใกล้เกษียรที่ตัดสินใจเออรี่รีไทร์ จากการติชมรสอาหารเพิ่มเป็นการแบ่งปันเรื่องราวในชีวิตของตัวเอง และกลายเป็นความผูกพันในที่สุด
The Lunchbox เล่าเรื่องความสัมพันธ์ของคน(ไม่รู้จัก)สองคนที่ชีวิตจืดชืด ที่กลับมีรสชาติ มีชีวิตชีวาขึ้นมาผ่านปิ่นโตมื้อกลางวันทีี่ส่งผิด “การขึ้นรถไฟผิดขบวนก็อาจพาเราไปยังปลายทางที่ถูกต้องได้” หนังพยายามบอกเราอย่างนั้น
ฉากซ้อนฉากที่มองไม่เห็น ภาพซ้อนมโนภาพ สิ่งที่หนังเลือกนำเสนอ มุมไบที่สื่อสารกันด้วยจดหมายในปิ่นโต ภาพซ้อนหรือภาพที่ซ่อนอยู่ของมหานครในโลกดิจิตอลรวดเร็วล้ำหน้า อาหารที่เดินทางจากผู้ปรุงถึงผู้กิน ช่วงเวลาที่ต้องรอคอย คำถามในชีวิตของแต่ละตัวละคร การมาของคำตอบของแต่ละคน ในฉากชีวิตซ้ำซาก ในทุกสิ่งทุกอย่างเปลี่ยนแปลง ในลายละเอียดปลีกย่อยหรืออาจเป็นในความผิดพลาดเล็กๆน้อยๆ
สิ่งที่สวยงามคือความไม่มากไม่น้อยเกินไป ภาพชีวิตผู้คนดูสมจริง เหงื่อไคลบนใบหน้า บ้านเรือน ผู้คน ดูไม่ได้เป็นการประดิดประดอยฉาก บทสนทนาที่คมคายแต่ไม่ได้พล่ามยาวยืด และความโรแมนติกที่อยู่บนความไม่พาฝันจนเกินไป
ดูท่าใครสักคนคงอยากจะหวนมาเขียนจดหมาย แต่เราอยากหาอาหารอินเดียกินสักมื้อ