อินทรีย์ อนามัย ปลอดภัย ไร้สาร ???
แชร์
219
email-subscribers
domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init
action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /home4-ns1sg/food/domains/food4change.in.th/public_html/wp-includes/functions.php on line 6114jetpack-boost
domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init
action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /home4-ns1sg/food/domains/food4change.in.th/public_html/wp-includes/functions.php on line 6114แชร์
219
219
เดี๋ยวนี้ผู้บริโภคหันมาใส่ใจสุขภาพกันมากขึ้นจริงๆ ผู้ผลิตข้าวสาร อาหารสด อาหารแห้ง ก็ต้องตามรสนิยมผู้กินให้ทัน สินค้าข้าวของต่างก็ต้องออกมารับรอง การันตีตัวเองว่าดีว่าปลอดภัย แต่เนื่องจากเห็นว่ามีความเข้าใจคลาดเคลื่อน ไม่ตรงกันอยู่มากในการเรียก จัดจำแนก ด้านความน่าเชื่อถือ ความปลอดภัย ของอาหารที่เราซื้อหามากินกันอยู่ทุกวันนี้ ก็เลยไปตามเสาะหามาเล่าสู่กันฟัง
นอกจากความสับสนที่พบตามที่ลองค้นคำว่า ผักปลอดสารพิษคืออะไร จาก Google พบว่าคนส่วนใหญ่ซึ่งน่าจะมากกว่าร้อยละ 80 เข้าใจว่าผักปลอดสารพิษคือผักอินทรีย์ หรือผักออแกนิค ทั้งที่ความจริงแล้วต่างกันอย่างสิ้นเชิง เมื่ออิงจากสำนักใดก็ตาม เช่น ศัพท์บัญญัติฯ ของสถาบันเกษตรอินทรีย์ กรมวิชาการเกษตรเอง จึงยกมาให้ดูกันทั้งกระบิ
ศัพท์บัญญัติและนิยามที่เกี่ยวกับผักสะอาดที่มีวางขายอยู่ในท้องตลาด
ผักปลอดภัยจากสารพิษ คือผักที่ระบบการผลิตมีการใช้สารเคมีในการป้องกัน ปราบปรามศัตรูพืช รวมทั้งปุ๋ยเคมีเพื่อการเจริญเติบโต ผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้ ยังมีสารพิษตกค้างไม่เกินปริมาณที่กำหนดไว้ เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 163 พ.ศ.2535
ผักอนามัย คือ ผักที่ระบบการผลิต มีการใช้สารเคมีในการป้องกันและปราบปรามศัตรูพืช รวมทั้งปุ๋ยเคมีเพื่อการเจริญเติบโต ผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้ ยังมีสารพิษตกค้างไม่เกินปริมาณที่กำหนดไว้ เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค และมีความสะอาด ผ่านกรรมวิธีทางปฏิบัติก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว ตลอดจนการขนส่ง และการบรรจุหีบห่อที่ได้คุณลักษณะตามมาตรฐาน
ผักไร้สารพิษ คือ ผักที่มีระบบการผลิตไม่มีการใช้สารเคมีใดๆทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นสารเคมีเพื่อป้องกันและปราบปรามศัตรูพืช หรือปุ๋ยเคมีทุกชนิด แต่จะใช้ปุ๋ยอินทรีย์ทั้งหมด และผลผลิตที่เก็บเกี่ยวแล้ว ต้องไม่มีสารพิษใดๆทั้งสิ้น
อาหารอินทรีย์ หมายถึง อาหารที่ได้จากผลิตผล และ/หรือ ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ที่ผลิตจากระบบการเกษตรโดยใช้วัสดุธรรมชาติ และไม่ใช้พืชที่มีการตัดต่อสารพันธุกรรม ทั้งนี้การปฏิบัติที่ไม่เพิ่มมลพิษแก่ภาวะแวดล้อม
ที่มา : สถาบันพืชอินทรีย์ กรมวิชาการเกษตร
ส่วนฟากสำนักตลาดสีเขียวก็มีการนิยามว่า เป็น เขียวอ่อน เขียวกลาง เขียวเข้ม ตามขีดความปลอดภัยมากน้อย ก็จะยกมาให้ดูอีกเช่นกัน
กินเปลี่ยนโลก แนะนำให้เลือก ผักอินทรีย์ (organic) ค่ะ (ถ้ามีโอกาสได้เลือก) เป็นผักที่ปลูกด้วย วิธีธรรมชาติ ไม่ใช้สารเคมีใด ๆ เน้นการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยพืชสด ควบคุมศัตรูพืชด้วยวิธีธรรมชาติ เช่นสารสกัดชีวภาพไล่แมลง หรือการใช้ตัวห้ำตัวเบียน คือให้แมลงศัตรูตามธรรมชาติควบคุมกันเอง ปลูกพืชที่มีกลิ่นเพื่อช่วยไล่แมลง เช่น ตะไคร้หอม ดาวเรือง ฯลฯ ปลูกพืชหลากหลายและหมุนเวียนเพื่อลดการสะสมโรคพืชในดิน หรืออาจจะกางมุ้งไม่ว่าอย่างไรก็ตามตลอดกระบวนการผลิตไม่มีการใช้สารเคมีใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งถือว่ามีความปลอดภัยต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมสูงสุด
การจัดการสิ่งแวดล้อมในระบบเกษตรอินทรีย์ (Organic Agriculture) นั้นมีความเข้มงวดเพื่อที่จะหลีกเลี่ยงสารเคมีที่ตกค้างทั้งในดิน น้ำและอากาศ ต้องเป็นพื้นที่ซึ่งเว้นจากการใช้สารเคมีอย่างน้อย 3 ปี ต้องไม่มีพื้นที่ติดกับแปลงที่ใช้สารเคมี ต้องห่างจากโรงงานอุตสาหกรรม และมีแหล่งน้ำที่สะอาด
ผักไฮโดรโปรนิกส์ คืออะไร
ผักไฮโดรโปรนิกส์ (Hydroponics) คือผักที่ปลูกโดยไมใช้ดิน เจริญเติบโตด้วยธาตุอาหารที่ละลายในน้ำด้วยอัตรส่วนที่เหมาะสมกับความเจริญเติบโตพืชผักแต่ละชนิด เพื่อแก้ปัญหาดินเสื่อมโทรมเนื่องจากการปลูกพืชซ้ำๆ และการใช้ปุ๋ยเคมี สารกำจัดวัชพืชและยาฆ่าแมลงเป็นเวลานาน และการปรับปรุงดินเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลา หรือบางคนที่ไม่มีที่ดินก็ปลูกได้
ผู้คนส่วนมากมักเข้าใจว่าผักไฮโดรโปรนิกส์ นั้นเป็นผักอินทรีย์ เนื่องจากดูสะอาด ไม่มีการใช้สารเคมีกำจัดแมลง ไม่มีปัญหาวัชพืช เป็นการปลูกผักในน้ำ แต่ความจริงสารละลายธาตุอาหารก็ทำหน้าที่เหมือนปุ๋ยเคมีนั่นเอง ดังนั้นหากจะจำแนกผักไฮโดรโปรนิกส์ ก็จะอยู่ในกลุ่มของผักปลอดสารพิษ
แต่ให้ดีที่สุด กินเปลี่ยนโลก ยังขอแนะนำว่าให้เราถามถึงที่มาให้ชัดๆ ให้รู้แหล่งที่ผลิต ว่างๆ ก็ย่องไปเยี่ยมฟาร์ม ทำความรู้จักคนปลูก คนเลี้ยง อะไรจะดีไปกว่ารู้ว่าอาหาร ที่กำลังเคี้ยวมาจากไหนใช่ไหมคะ และที่สำคัญเมื่อคนกินกับคนปลูกเป็นเพื่อนกัน สิ่งที่ตามมาก็คือเครือข่ายแห่งความเกื้อกูลกัน เครือข่ายแห่งความไว้เนื้อเชื่อใจ ไม่เอาเปรียบกัน
เรื่องราวอื่นๆ เกี่ยวกับ ข้อมูลมาตรฐาน
กฎระเบียบสินค้าเกษตรอินทรีย์ของอียู
มาตรฐาน Bioagricert S.r.l. ประเทศอิตาลี
เครื่องหมายโครงการ ‘อาหารปลอดภัย’ Food Safety
เครื่องหมาย สุขภาพดี เริ่มที่อาหารปลอดภัย Safe Food Good Health
สัญลักษณ์ผลิตภัณฑ์อินทรีย์ Organic Thailand’s Brand
มาตรฐานอาหารและผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์
Japanese Agricultural Standard & Food labeling
มกท. – มาตรฐานเกษตรอินทรีย์แห่งประเทศไทย