ไก่เอ๋ยไก่ มีกี่ประเภทให้รอแล่น้อ
แชร์
1867
แชร์
1867
1867
J-Kai อยากจะพาเหล่านักกิน นักแล่ มาทำความรู้จักกับไก่ที่เรากินกันในทุกวันนี้ ไม่ว่าจะวางขายในห้าง รถพุ่มพวง ตามท้องตลาด หรือตามสองข้างทาง อยากชวนคิด ชวนคุย ว่าเราพอจะจำแนกแยกแยะกันได้กี่ประเภท กี่จำพวก อะไรบ้าง แต่ละแบบมีความเป็นมาอย่างไร สังเกตยังไง ก่อนที่จะเลือกหยิบไปปรุงอาหาร
เนื้อไก่ที่เรากินกัน จำแนกได้ 3 ประเภทใหญ่ๆ ตามนี้เลยค่ะ
ไก่แบบไหน ลักษณะอย่างไร ที่มาที่ไปยังไง ตาม J-Kai มาเลยค่ะ
กว่า 90% ของไก่ที่เรากินกันทุกวัน เป็นไก่ประเภทนี้ เป็นไก่สายพันธุ์ที่พัฒนามาจากต่างประเทศ เช่น พันธุ์อาเบอร์เอเคอร์ พันธุ์คอป พันธุ์รอส ลักษณะของไก่พวกนี้คือ ขนสีขาว ๆ น่ารัก เป็นสายพันธุ์ที่พัฒนามาให้โตเร็วสุด ๆ ตอนนี้แค่ 35 วันก็ได้สองกิโลกว่าแล้ว ส่วนใหญ่ก็เลี้ยง 40-45 วัน ได้น้ำหนักเฉลี่ย 2.5 กก.พร้อมกิน เลี้ยงในโรงเรือนขนาดใหญ่หมื่นกว่าตัวขึ้นไปต่อโรง อยู่กันแน่นทีเดียว การเลี้ยงแบบนี้จะผูกกับบริษัทขนาดใหญ่ ซึ่งให้บริการทั้งพันธุ์ไก่ อาหาร วัคซีน ยารักษาโรค พร้อมจับไปเชือดแปรรูปขายเสร็จสรรพ อาหารที่บริษัทจัดมาก็จะเป็นสูตรหนึ่ง สูตรสอง สูตรสาม เปลี่ยนไปตามอายุไก่
ที่น่าสนใจคือ คำว่าอัตราแลกเนื้อ เกณฑ์ที่ไก่เจริญเติบโตดีคือ อัตราแลกเนื้อที่ 1.64-1.66 แปลว่า ให้อาหารไก่ไป 1.64 กก. ไก่ต้องได้น้ำหนัก 1 กก. แล้วในอาหารไก่มีอะไรบ้างนี่น่าจะเป็นความลับทางการค้า แต่คร่าว ๆ คือมีข้าวโพดอยู่ประมาณไม่ต่ำกว่า 50 % ไก่หนักหนึ่งกิโลกรัม เราก็กินข้าวโพดไปราวแปดขีดไหม ส่วนเรื่องว่ายังมีการใช้ยาปฏิชีวนะกันอยู่หรือไม่ เราก็ต้องตาดูหูฟัง ตรวจสอบกันเนือง ๆ แม้ว่าหลายยี่ห้อจะระบุว่าไม่ใช้ยาปฏิชีวนะในการเลี้ยงไก่แล้ว ไก่เนื้อแบบนี้ ตัวจะขาวอกโตๆ น่องโตๆ แต่โดยมากก็จะวางขายแบบแยกชิ้นส่วนแล้ว เป็น อก สะโพก น่อง ปีก ถ้าแต่ละส่วนมาเยอะๆ นี่ ไก่เนื้ออุสาหกรรมแน่นอน
ก็คือไก่พันธุ์พื้นเมือง มีอยู่ 4 พันธุ์ใหญ่ๆ คือ ไก่อูหรือไก่ชน ไก่แจ้ ไก่ตะเภา และไก่ลูกผสมหรือไก่กลายพันธุ์ ผสมสองสามสายพันธุ์แล้วแต่เกษตรกรจะชอบจะรักพันธุ์ไหน ไก่พันธุ์พื้นบ้านท้องถิ่นเหล่านี้โครงสร้างใหญ่ แม่พันธุ์ให้ลูกดก แข็งแรง หากินเก่ง เนื้อแน่น แก่มาก็เหนียว ถ้าจะให้ไม่เหนียวต้องอายุไม่เกินห้าเดือน ถ้าถึงหกเดือนคนเลี้ยงแนะนำให้กินคั่วแห้งจะอร่อยเด็ด ไก่แบบนี้ในท้องตลาดจะมีสองสามแบบ
ไก่บ้านเลี้ยงแบบไก่เนื้อจับขาย คนเลี้ยงก็จะบำรุงอาหารให้เพียงพอ เช่น อาหารข้น : ข้าวโพดบด ผสมถั่วเหลือง ข้าว เปลือกไข่ ปลาป่น ผสมกับอาหารหยาบ เช่น หญ้าอิสราเอล หยวกหมัก เป็นต้น ผสมกับปล่อยไก่ให้คุ้ยเขี่ยหาอาหารเอง ได้ออกกำลังกายไม่แออัด ไก่พวกนี้จะเลี้ยงกันประมาณ 120 วัน ก็จับขายได้ น้ำหนักเฉลี่ยประมาณตัวละ 1.2 -1.5 กก.
ไก่บ้านเลี้ยงปล่อยกึ่งธรรมชาติ คือ ปล่อยให้ไก่หาอาหารเองเป็นหลัก หว่านรำ หว่านข้าวเปลือก เศษอาหารไปตามเรื่อง ไก่พวกนี้ก็จะโตช้าหน่อย กว่าจะมีน้ำหนักพอได้กินอาจเกินห้าเดือน เนื้อน้อยกว่าและอาจเหนียวหน่อย ๆ ถึงตอนนี้หลายคนอาจมีคำถามว่า แล้วจะดูยังไงไก่หนุ่มไก่สาวไก่แก่ เกจิท่านว่า ไก่หนุ่มหนังจะตึงสด ไก่แก่นี่หน้าจะแก่ เฮ้อ ยากนะ ถึงกับดูไก่หน้าแก่ได้เนี่ย ให้ดูหน้า ดูหนัง ดูตีนไก่ หนังหนา ตีนแข็งด้าน ก็ลองฝึก ๆ ดูกันไป
ไก่บ้านโดยมากเลี้ยงกันแบบรายย่อย มักจะวางขายตามตลาดสด ตลาดนัด โดยเฉพาะแผงอาหารพื้นบ้าน อย่างร้านผักลาว มักจะมีไก่บ้านเป็นตัวๆ ขาย มาทั้งตัว หัวถึงขา หนังจะคล้ำๆ หน่อย มีจุดขนอ่อนสีดำๆบ้างเพราะไก่บ้านขนสีเข้ม
ไก่แบบนี้มักจะมาทำเนียนๆว่าเป็นไก่บ้าน วางขายในตลาดสด ตลาดนัด ตัวจะโต หนังหนาวาว ๆ เหลืองหน่อย คือแม่ไก่ไข่อายุเกินสิบแปดเดือนถึงสองปี ที่ไม่ค่อยจะไข่แล้ว ปลดประจำการมาเชือดขาย ไก่ไข่ปลดละวางนี้จัดว่าเหนียวมาก เหนียวกว่าไก่บ้านซะอีก เหมาะสำหรับคนฟันแข็งแรง หรือเมนูที่ต้มตุ๋นนานๆ
บางทีก็มาในรูปแบบไก่บ้านต้มน้ำปลา ตามสองข้างทาง เวลานั่งรถไป ตจว. ลองสังเกตุดูกันได้
สิ่งที่แตกต่างมากๆ ระหว่างไก่บ้าน กับไข่ไข่ปลดระวาง นอกจากขนาดแล้ว ก็เห็นจะเป็นราคา แบบว่าตัวโตๆ อวบๆ เนื้อเยอะๆ แต่ราคาย่อมๆเบาๆละก็ ใช่พี่เขาเลย
รู้อย่างนี้แล้ว แอคทีฟคอสซูมเมอร์แบบพวกเราตัดสินใจเลือกไก่แบบที่เหมาะสมกันเลยยยยย