รู้เรื่อง”ข้าว”ก่อนเข้าปาก
แชร์
191
email-subscribers
domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init
action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /home4-ns1sg/food/domains/food4change.in.th/public_html/wp-includes/functions.php on line 6114jetpack-boost
domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init
action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /home4-ns1sg/food/domains/food4change.in.th/public_html/wp-includes/functions.php on line 6114แชร์
191
191
ทุกวันนี้ข้าวราคาแพง จนใครที่พอมีที่ทางก็อยากกลับบ้านไปทำนากันทั้งนั้น เพราะถ้าปลูกข้าวกินเองได้จะทุ่นค่าใช้จ่ายไปจำนวนมากก็เรากินข้าวกันทุกวันไม่รู้จักเบื่อหรือว่าถึงแม้จะเบื่อก็หยุดกินไม่ได้ เป็นแหล่งคาโบไฮเดรตอันสำคัญของคนทั่วทั้งโลกเลยทีเดียว
ขณะที่กระแสของการรักษาสุขภาพกระเพื่อมสุดขีด มีผลิตภัณฑ์ข้าวบรรจุถุงขายหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้อง ข้าวกล้องงอก ข้าวฮาง ข้าวอินทรีย์ ข้าวปลอดสาร ข้าวพื้นบ้านและอื่นๆ อีกมากมาย เราๆ ที่ไม่สามารถจะทำนาปลูกข้าวกินเองได้ ก็จะเป็นผู้ซื้อที่เท่าทัน รู้จักเลือกข้าวที่ดี มีประโยชน์ต่อร่างการและสนับสนุนพี่น้องชาวนาไปพร้อมๆ กัน
ขอเริ่มกันด้วยการแยกแยะข้าวด้วย “รูปแบบการผลิต” ก่อนเป็นอันดับแรก คือระหว่างข้าวปลอดสารกับข้าวอินทรีย์ แตกต่างกันอย่างไร ถ้าเลือกได้เราทุกคนอยากกินอาหารที่ไม่มีสารเคมีใดๆ เจือปน แต่เราจะรู้ได้ยังไงว่าแบบไหนล่ะจะปลอดภัยที่สุด เมื่อก่อนคนเราทำนาปีด้วยการรอคอยน้ำฝน ที่ไหนใกล้แหล่งน้ำก็อาจจะทำนาปรังอีกสักรอบ แต่เดี๋ยวนี้เวลานั่งรถผ่านทุ่งนาเราสวามารถชื่นชมทุ่งนาคละรุ่นทั้งทุ่งที่ยังไม่ได้หว่านดำ ทั้งที่งอกเป็นต้นกล้าเขียวไปจนทุ่งรวงทอง เพราะการทำนาอย่างเข้มข้นตลอดทั้งปีแบบนี้นี่เอง ทำให้ดินเสื่อมโทรม ความเข้มข้นของอัตราการใช้สารเคมีเกษตรจึงเพิ่มขึ้น
เมื่อเราได้ยินคำว่าปลอดสารก็ต้องคิดกันทั้งนั้นว่าจะต้องปราศจากสารพิษ 100% แต่ความจริงในการทำเกษตรแบบปลอดสารนั้นยังอนุญาตให้ใช้สารเคมีเกษตรทุกอย่างตามปกติ ไม่ว่าจะเป็น ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าวัชพืช สารกำจัดเชื้อรา แต่ต้องเป็นสารเคมีที่ตกค้างระยะสั้นและหยุดใช้ก่อนการเก็บเกี่ยวตามระยะเวลาที่กำหนดและเมื่อตรวจจะต้องมีสารเคมีตกค้างเกินกว่าปริมาณที่กำหนดว่าเป็นอันตรายต่อร่างกาย และเราไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าปริมาณที่ไม่เกินค่าที่กำหนดนั้นน้อยหรือมากอย่างไร
คำว่า “ปลอดสาร” จึงไม่ได้หมายความตามนั้น แต่ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่อาจจะเป็นอันตรายน้อยกว่าไม่มีการควบคุมใดๆ อาจมีเกษตรกรอีกมากมายที่กำลังพยายามลดละเลิกสารเคมีอยู่ด้วยการค่อยๆ ปรับเปลี่ยนระบบทีละน้อย
ข้าวอินทรีย์ คือ ไม่มีการใช้สารเคมีชนิดใดเลยทั้งสิ้นในกระบวนการปลูก เก็บเกี่ยว แปรรูปจนถึงการเก็บรักษา ส่วนใหญ่เกษตรกรที่ทำนาอินทรย์จะผ่านการปรับปรุงดินให้เข้าสู่ความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ ขับไล่แมลงด้วยสารสกัดธรรมชาติอย่างน้ำหมักสะเดา น้ำส้มควันไม้หรือไม่ก็ปล่อยให้ตัวห้ำตัวเบียนในธรรมชาติจัดการกันเอง บำรุงดินด้วยปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก น้ำจุลินทรีย์
การทำนาอินทรีย์ส่วนใหญ่จะใช้ข้าวพันธุ์พื้นเมือง เพราะมีความต้านทานโรคแมลงได้ดีกว่า มีหลากหลายสายพันธุ์ เลือกให้เหมาะสมกับระบบนิเวศ
แต่อย่างไรก็ตามสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติเป็นระบบเปิด ยังคงมีสารเคมีตกค้างในดิน น้ำและอากาศ แต่เมื่อไม่ได้รับโดยตรงจึงมีสารผิดตกค้างน้อยมาก ถือเป็นรูปแบบการผลิตที่ปลอดภัยที่สุด
คราวนี้เรามาดูข้าวประเภทต่างๆ ที่บรรจุถุงหรือตวงขายกันทั่วไปในท้องตลาดกันต่อ
ข้าวสองชนิดนี้มีคุณสมบัติเหมือนกัน คือยังคงมีเยื่อหุ้มเมล็ด จมูกข้าว อยู่ครบ เรียกชื่อต่างกันตามกระบวนการแปรรูป ข้าวซ้อมมือนั้นมาจากการตำเอาอย่างโบราณหรือสีมือแบบพื้นบ้าน ซึ่งทั้งสองวิธีล้วนแต่เป็นการประหยัดพลังงานใช้แรงคน ส่วนข้าวกล้องหรือ Brown Rice นั้นผ่านการสีแค่ครั้งเดียว
ข้าวกล้อง 100 กรัม จะมีโปรตีน 7.2 กรัม ไขมัน 3.4 กรัม ใยอาหาร 3.4 กรัม นอกจากนั้นจะประกอบไปด้วยเกลือแร่และวิตามิน ได้แก่ โซเดียม โปรแตสเซียม แคลเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม เหล็ก สังกะสี ทองแดง วิตามินบี 1 บี 2และไนอาซีน ดดยเฉพาะฟอสฟอรัสและแแมกนีเซียม ซึ่งเป็นส่วนสำคัญต่อการสร้างกระดูกมีสูงกว่าข้าวขัดสีประมาณ 2 เท่า
ปกติข้าวกล้องสามารถเก็บไว้ได้ประมาณ 6 เดือน แต่ก็สามารถเก็บได้ถึง 1 ปี ในระบบสุญญากาศ คนโบราณตำข้าวสารกรอกหม้อ ไม่ใช่หาเข้ากินค่ำ แต่เพราะการเก็บข้าวเปลือกดูแลง่ายกว่าและข้าวที่ตำใหม่ๆ กลิ่นหอมและมีคุณค่ามากกว่าข้าวที่สีแล้วเก็บไว้นาน เลือกซื้อข้าวกล้องที่สีใหม่ไม่เกิน 3 เดือน จะดีที่สุด เพราะข้าวกล้องมีความชื้นสูงเก็บไว้นานจะมีเชื้อราได้ง่าย ถ้าที่มีอยู่แล้วกลัวกินไม่ทันก็เก็บไว้ในตู้เย็นจะช่วยรักษาคุณภาพไว้ได้นานขึ้น
ข้าวกล้องงอก หรือ GABA rice เรียกตามชื่อสาร GABA :Gamma amino Butyric acid ซึ่งเป็นสารที่พบมากในการงอกช่วง 1-2 วันแรก เป็นสารที่มีประโยชน์ต่อระบบประสาท ช่วยลดความวิตกกังวล นอนหลับสบายขึ้น มีส่วนช่วยคบวคุมความดันโลหิต ที่สำคัญช่วยขับสารแห่งความสุข
ข้าวกล้องงอกที่ขายในท้องตลาดผ่านการผลิตหลายขั้นตอน เริ่มจากมาทำให้งอก นำมานึ่งหรือต้มจนสุกเพื่อทำลายจุลินทรีย์ แล้วนำไปอบแห้ง ก่อนจะมาบรรจุถุงขายให้เรา
ความจริงข้าวกล้องงอกทำง่ายนิดเดียว เพียงแค่เรา นำข้าวกล้อง(ยิ่งใหม่ยิ่งดี) มาแช่น้ำทิ้งไว้ 6ชั่วโมง แล้วเทน้ำทิ้งห่อไว้ด้วยผ้าสะอาดเปิดช่องระบายอากาศเล็กน้อยพรมน้ำไว้ให้ชื้นเล็กน้อย ทิ้งไว้อีก 24 ชั่วโมง แค่นี้ก็เป็นข้าวกล้องงอกแล้วไม่เชื่อลองทำดูแล้วสังเกตบริเวณจมูกข้าวจะมีหน่ออ่อนเล็กๆ กำลังแตกออกมา เป็นหลักฐานยืนยันอาการงอก ไม่ต้องเสียเงินไปซื้อแพงและใช้พลังงานซ้ำซ้อน
เป็นภูมิปัญญาของชาวภูไท สืบต่อกันมากว่า 200 ปี เมื่อข้าวที่เก็บไว้ในยุ้งฉางไม่พอกิน ข้าวที่ในนาก็ยังไม่แก่พอจะเก็บเกี่ยว จึงต้องนำข้าวเหนียวที่ยังไม่แก่จัด พักบ่มไว้ 2 คืน เพื่อให้หลุดจากรวง นำข้าวเปลือกที่ได้แช่น้ำไว้ 12 ชั่วโมง คัดเมล็ดลีบออก นำมานึ่งทั้งเปลือก เมื่อสุกแล้วเปลือกจะแตกเห็นเมล็ดข้าว ใช้เวลานั่งประมาณ 40 นาที ยกลงแล้วใช้น้ำเย็นราดให้ทั่ว พักไว้ 20 นาที แล้วราดน้ำเย็นอีกครั้ง จากนั้นนำมาตากจนแห้ง แล้วค่อยเอามาตำหรือสีเป็นข้าวกล้องหุงกินเหมือนข้าวเจ้า
เดี๋ยวนี้แม้ข้าวจะพอกินจนเหลือจนเกินแต่เพราะข้าวฮางมีคุณค่าทางอาหารสูง โดยเฉพาะสาร GABA : Gamma amino Butyric acid ช่วยลดความดันในเส้นเลือด ลดคลอเลสเตอรอล ลดความเสี่ยงของการเกิดอัลไวเมอร์ มีแมงกานิสสูง ช่วยต้านอนุมูลอิสระอันเป็นสาเหตุของโรคมะเร็ง ข้าวฮางมีค่าการเปลี่ยนเป็นน้ำตาลในเส้นเลือดต่ำจึงเหมาะกับคนที่เป็นโรคเบาหวาน การผลิตข้าวฮางทำให้ได้เมล้ดข้าวเต็มเมล็ดมีจมูกข้าวที่อุดมไปด้วยวิตามินกว่า 20 ชนิด
ยังมีรายละเอียดมากมายเกี่ยวกับการเลือกซื้อข้าว คราวหน้าจะมาเล่าต่อว่าด้วยข้าวพื้นบ้าน ข้าวปรับปรุงพันธุ์และการเลือกข้าวหอมมะลิ อย่าลืมติดตามนะคะ
อ้างอิง : หนังสือเรื่องข้าว ข้าว ที่เข้าปาก, วลัยพร อดออมพานิช และ สุนีย์ ทองชัย เรียบเรียง