คนช่างเลือก

เราคือข้าวโพด !!!

แชร์

174

174

ถ้าหากเรากินแบบอุตสาหกรรม ตัวคุณก็สร้างมาจากข้าวโพด คำกล่าวในหนังสือของ Michel Pollan ที่สืบย้อนที่มาที่ไปของอาหารนับหมื่นรายการในสหรัฐ ได้เริ่มต้นจากเกษตรอุตสาหกรรมข้าวโพดแทบทั้งหมด อาจกล่าวได้ว่าชะตาชีวิตชาวอเมริกันแขวนอยู่บนข้าวโพด และอาจเป็นไปได้ว่าไทยกำลังก้าวสู่เส้นทางเดียวกันนี้

You are what you eat? คุณเป็นสิ่งที่คุณกิน (นั่นแหละ) ประโยคนี้คงเป็นที่คุ้นเคยกันดีในบรรดาผู้ใส่ใจเรื่องอาหารการกินทั้งหลาย แต่คุณทราบหรือไม่ล่ะว่าอาหารที่คุณกินเข้าไปแต่ละอย่างนั้นล้วนแล้วแต่มี ที่มาจากข้าวโพด

Michel Pollan สืบย้อนประวัติอาหารนับสี่หมื่นห้าพันรายการ ซึ่งเป็นจำนวนของรายการอาหารโดยเฉลี่ยที่มีอยู่ซุปเปอร์มาเก็ตในประเทศสหรัฐ อเมริกา เขาพบว่าอาหารเหล่านั้นมีจุดเริ่มต้นมาจากข้าวโพด ข้าวโพดเป็นอาหารของวัวก่อนจะมาเป็นสเต็กในจานหรู เป็นอาหารของไก่ หมู ไก่งวง แกะ ปลาดุก แซลมอน ฯลฯ ผลิตภัณฑ์จากวัว ไม่วาจะเป็นน้ำนม ชีส หรือโยเกิร์ต ก็มาจากวัวที่กินข้าวโพดเป็นอาหาร แม้แต่ไข่ไก่ก็ออกมาจากไก่ที่เลี้ยงด้วยข้าวโพดเช่นกัน

ครั้นเมื่อคว้าเบียร์มาดื่ม คุณก็กำลังดื่มข้าวโพดในรูปแบบของแอลกอฮอล์ที่หมักจากกลูโคสที่มาจากข้าวโพด ถ้าอ่านส่วนผสมในฉลากของกระบวนการผลิตอาหาร คุณก็จะเห็นชื่อทางเคมีของสารต่างๆ ที่มาจากข้าวโพด? (หน้า 18)

นักเขียนและนักวิชาการประจำ Berkley Graduate School of Journalism ท่านนี้เขียนบทความจำนวนมากมายและหนังสือหลายเล่มเพื่อตั้งข้อสังเกตต่อ อาหารและวัฒนธรรมการกินในโลกยุคอุตสาหกรรม หนังสือเล่มหนึ่งที่ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางชื่อว่า The Omnivore?s Dilemma: A Natural History of Four Meals (2006) กระตุ้นเตือนให้สัตว์ประเภทที่กินไม่เลือกอย่างมนุษย์เราได้สำรวจตรวจตรา สิ่งที่เรียกว่า ?อาหาร? ที่กินเข้าไปในแต่ละมื้ออีกสักที

เขาใช้แนวการวิเคราะห์แบบการวิเคราะห์เครือข่าย (network approach) สืบสาว food chains หรือห่วงโซ่ของอาหารแต่ละชนิด ว่าต้นสายของมันมาจากที่ใด ก่อนที่จะมาวางอยู่บนโต๊ะอาหารในจานหรู แน่นอนอาหารทุกอย่างล้วนมาจากผืนดิน หรือจะพูดให้ถูกก็มาจากพลังงานแสงอาทิตย์ ก่อนจะกลายมาเป็นอาหารจำนวนไม่กี่ชนิดที่เราบริโภคกันแบบซ้ำๆ ซากๆ โปแลนวิเคราะห์ห่วงโซ่อาหารผ่านมุมมองทางนิเวศวิทยาและมานุษยวิทยาผสมผสาน กับประสบการณ์ส่วนตัวของตนเอง

โปแลนบอกว่าอาหารที่เรากินกันอยู่ทุกวันนี้ ส่วนใหญ่ผลิตขึ้นมาจากองค์ประกอบหลักเพียงสองสิ่งคือข้าวโพดและน้ำมัน ผู้ที่เขียนถึงหนังสือเล่มนี้บอกว่าหากพิจารณาดูดีๆ เราอาจพบว่าตัวเองกำลังนั่งกินปิโตรเลี่ยมรสเยี่ยมชามโตอยู่ก็ได้ เพราะแทบทุกสิ่งที่เรากินนั้นมาจากพลังงานฟอสซิล น้ำมันที่เราบริโภคมาจากจากปุ๋ยที่เราใช้บำรุงต้นพืช มาจากยาฆ่าแมลงที่กำจัดแมลงออกไปจากต้นพืช และมาจากพลังงานที่ใช้ในการขนส่งอาหารข้ามประเทศโดยทางรถไฟ ทางรถบรรทุก หรือยานพาหนะอื่นๆ และการใช้พลาสติกบรรจุหีบห่อ ?We’re addicted to oil, and we really like to eat? เรากำลังเสพติดน้ำมัน และพวกเราก็ชอบกินจริงๆ ด้วยสิ1

ในโลกปัจจุบันอะไรๆ ก็ผลิตโดยผ่านกระบวนการอุตสาหกรรม เกษตรอุตสาหกรรม ปศุสัตว์ก็ทำกันเป็นอุตสาหกรรม และการผลิตอาหารก็ผ่านกระบวนการอุตสาหกรรมด้วยเช่นกัน โปแลนพบว่าอาหารต่างๆ ของคนในเมืองที่ผ่านกระบวนการอุตสาหกรรมเหล่านี้มักใช้ข้าวโพดเป็นวัตถุดิบ ขั้นต้น หรือกล่าวง่ายๆ ก็คืออาหารอันหลากหลายที่เรารู้จักล้วนแต่มีรากมาจากพืชที่มาจากสปีชีส์ เดียวกันก็คือ Zea mays ซึ่งก็คือพืชในกลุ่มตระกูลข้าวโพดนั่นเอง

If you eat industrially, you are made of corn? ถ้าคุณกินแบบอุตสาหกรรม ตัวคุณก็สร้างขึ้นมาจากข้าวโพด ร่างกายคุณเองเป็นส่วนหนึ่งของพลังงานจากฟอสซิลซึ่งใช้ผลิตไนโตรเจนในรูปของ ปุ๋ยเคมี แทนไนโตรเจนที่เคยเกิดขึ้นในดินตามธรรมชาติจากการปลูกพืชหมุนเวียน2

โปแลนบอกว่าข้าวโพดมีอัตลักษณ์สองด้าน (dual identity) ด้านหนึ่งเป็นอาหาร และอีกด้านหนึ่งเป็นสินค้า ซึ่งทำให้เกษตรกรสามารถที่จะขยับจากระบบการผลิตเพื่อยังชีพเข้าสู่ระบบ เศรษฐกิจแบบตลาดได้ หากมองในแง่การตลาดเขาชี้ว่าข้าวโพดเป็นเครื่องมือในการสะสมทุนที่ยอดเยี่ยม เพราะผลผลิตสามารถส่งไปยังตลาดได้โดยให้ส่วนเกินในอัตราใดก็ได้ เมล็ดข้าวโพดแห้งเป็นสินค้าที่ดีเพราะขนส่งง่ายและไม่เสียหายในระหว่างการขน ส่ง

ด้วยเหตุนี้ข้าวโพดจึงกลายเป็นสินค้าการเกษตรที่สำคัญชนิดหนึ่งของโลก ในตลาดการค้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ระดับโลกประเทศสหรัฐอเมริกาครองส่วนแบ่งการ ตลาดมากที่สุดถึง 38% ของการผลิตทั่วโลก ทำให้ราคาข้าวโพดในตลาดโลกได้รับอิทธิพลจากราคากลางที่กำหนดในตลาดชิคาโก องค์การอาหารและการเกษตรหรือเอฟเอโอคาดการณ์ไว้ว่าภายในปี 2020 สหรัฐอเมริกาจะสามารถครอบงำตลาดธัญญาหารของโลกไม่ว่าจะเป็นข้าว ข้าวโพด ถั่วเหลือง และข้าวสาลี ซึ่งจะส่งมาขายยังประเทศกำลังพัฒนา

ในประเทศไทย ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นหนึ่งในแปดของสินค้าการเกษตรที่สำคัญของประเทศ ในปี 2550 ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 5,969,608 ไร่ และมีผลผลิต 3,602,124 ตัน แต่ในปีปัจจุบันจากข่าวคราวการประท้วงของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดในภาคเหนือ และภาคอีสานก็คงพอจะเดากันออกว่าปริมาณผลผลิตข้าวโพดคงมากขึ้นอย่างท่วมท้น ทั้งจากการขยายพื้นที่การผลิตในประเทศเอง และจากการรับซื้อมาจากประเทศเพื่อนบ้านตามโครงการความร่วมมือพิเศษภายใต้ ชื่อยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (2546-2555) ที่รัฐบาลไทยร่วมมือกับบรรษัทข้ามชาติยักษ์ใหญ่อย่างซีพีและรัฐบาลของประเทศ เพื่อนบ้าน ไปส่งเสริมการปลูกข้าวโพดด้วยระบบเกษตรแบบพันธะสัญญาในหลายประเทศเช่นลาว พม่า กัมพูชา โดยมีโควตาลดภาษีนำเข้าข้าวโพดเมื่อรับซื้อเข้ามายังประเทศไทย

การส่งเสริมการเพิ่มพื้นที่การผลิตข้าวโพดยังเกิดขึ้นใน บ้านเราเองด้วย เช่น ในปี 2549-2550 ซีพีร่วมมือกับหน่วยงานราชการหลายแห่งส่งเสริมการปลูกข้าวโพดหลังนา แทนการปลูกข้าวนาปรัง โดยอ้างว่าเป็นพืชที่ใช้น้ำน้อย จะช่วยให้เกษตรกรมีรายได้ในฤดูแล้งโดยไม่ต้องเสี่ยงกับการเผชิญปัญหาภัยแล้ง

การส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเหล่านี้ก็เกิดมาจากความต้อง การข้าวโพดที่สูงขึ้นในตลาดโลก เนื่องจากการขยายตัวของธุรกิจการผลิตอาหารสัตว์ และการบูมของธุรกิจการผลิตไบโอดีเซลที่ใช้วัตถุดิบจากข้าวโพดมาทำเอธิล แอลกอฮอล์ กระบวนการอุตสาหกรรมและกลไกการตลาดเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องอื่นใด นอกจากกำไรที่บรรดานักธุรกิจอุตสาหกรรมการเกษตรทั้งหลายได้ดีดลูกคิดรางแก้ว คำนวณผลตอบแทนล่วงหน้ากันไว้แล้ว

แล้วสำหรับผู้บริโภคข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทางอ้อมอย่างเราๆ ท่านๆ ล่ะ ทราบถึงเส้นสายโยงใยของห่วงโซ่อาหารและผลประโยชน์ทางธุรกิจเหล่านี้หรือไม่ ได้เคยฉุกคิดกันบ้างหรือเปล่าว่าที่กินเข้าไปนั้นที่แท้มันคือข้าวโพด

โปแลนบอกว่าวิธีที่เรากินนั้นสะท้อนถึงการที่เราเข้าไป เกี่ยวพันกับโลกธรรมชาติ การกินอาหารของพวกเราในทุกๆ วันก็คือการเปลี่ยนธรรมชาติมาเป็นวัฒนธรรม การเปลี่ยนแปลงรูปร่างของโลกให้มาเป็นร่างกายและจิตใจของเรา ?Daily, our eating turns nature into culture, transforming the body of the world into our bodies and minds? (หน้า 10) และการเกษตรแท้ที่จริงแล้วก็ใช่ใช่สิ่งอื่นใดที่มนุษย์ทำมากไปกว่าการ เปลี่ยนแปลงโลกธรรมชาติ ทั้งในแง่ภูมิทัศน์และส่วนประกอบของพืชพันธุ์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ นอกจากนั้นการกินของพวกเราก็คือเป็นการจัดความสัมพันธ์กับสปีชีส์มากมายทั้ง พืช สัตว์ และเชื้อรา ซึ่งเราเข้าไปเกี่ยวพันและชะตาชีวิตของพวกเราก็ขึ้นผูกโยงอยู่กับสิ่งเหล่า นี้อย่างแนบแน่น

คุณพอใจแค่ไหนล่ะกับความสัมพันธ์ของคุณกับโลกธรรมชาติที่เป็นอยู่ ซึ่งถูกจัดปรับผ่านกระบวนการกินของคุณ

คุณชอบไหมล่ะที่ชะตากรรมของคุณได้ถูกแขวนไว้กับสปีชีส์Zea mays


อ้างอิงจาก :

  1. จาก review หนังสือ โดย The Washington Post ใน www.amazon.com
  2. จากคอลัมน์ book review ของ TreeHugger.com เขียนโดย Lloyd Alterที่มา : http://www.localtalk2004.com/ 9 เมษายน 2552

เรื่องโดย

ทีมกินเปลี่ยนโลก

ทีมงานที่ร่วมสร้างวิถีแห่งการกิน เพื่อการเปลี่ยนแปลงโลก เรากินทุกวัน เราเปลี่ยนโลกทุกวัน