อุหน่อไม้ ใส่เห็ดขอนขาแข็ง
แชร์
200
email-subscribers
domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init
action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /home4-ns1sg/food/domains/food4change.in.th/public_html/wp-includes/functions.php on line 6114jetpack-boost
domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init
action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /home4-ns1sg/food/domains/food4change.in.th/public_html/wp-includes/functions.php on line 6114แชร์
200
200
หน้าฝนเวียนมาแบบนี้ ขาดไม่ได้ต้องมีเมนูหน่อไม้ ถ้าอยู่บ้านนอกคงได้หน่อไม้รวกจากเขาสดๆ เอามาเผาหอมๆ ไม่ก็เป็นไผ่เลี้ยงที่ไร่ สดใหม่ รสหวานนน…
อยู่กรุงเทพฯ นอกจากตามแผงผักพื้นบ้าน มีหน่อไม้ขายกันดาดดื่น ราคาก็ย่อมด้วยว่าเป็นฤดูออกชุก ของฝากจากคนมีบ้านนอกก็มากมายทั้งแม่เพื่อนแม่เรา หน่อสด หน่อต้ม หน่อส้ม รายการต้องจัดการกันอีกหลายมื้อทีเดียว
“อุ” หรือ “อู๋” เป็นวิธีปรุงแบบหนึ่ง ที่ใส่วัตถุดิบทุกอย่างลงไปพร้อมกันมีน้ำพอขลุกขลิกหรือกะว่าเมื่อสุกแล้วแห้งพอดี ของที่จะอุในหม้อนี้ หากตักใส่ห่อใบตองแล้วนึ่งก็คือ “หมก” นี่เอง ดังนั้นบางทีก็จะเรียกอุนี้ว่า “หมกหม้อ”
วัตถุดิบ
– หน่อไม้ไผ่รวกหรือไผ่หวานแบบหน่อยาว 3 หน่อ
– เห็ดขอน 1 ขีด
– ใบย่านางแก่ๆ ประมาณ 50 ใบ
– ข้าวสารข้าวเหนียว 3 ช้อนโต๊ะ
– พริกขี้หนูเม็ดขาว แบบพริกโพน พริกน้อย 10 เม็ด
– หอมแดง 4 หัว
– ตะไคร้ 3 ต้น
– ดอกเกลือทะเล 1 ช้อนชา
– น้ำปลาแดก 3 ทัพพี
– ใบแมงลักเด็ดแล้ว 1 ชาม
– น้ำเปล่า 3-4 ถ้วยตวง
ลงมือกันเถิด…
– แช่ข้าวเหนียวไว้ก่อนเลยนะคะ คราวนี้ใช้ข้าวเหนียวข้าวกล้องพันธุ์หอมสกล เหนียวดีมากๆ
– เริ่มแรกเราต้องคั้นน้ำใบย่านางไว้ (อีสานเรียก“ยานาง”ไม่ใช่หญ้าหรือย่า เป็นยาเลยคะ:) ล้างใบย่านางให้สะอาด ใส่ในกะละมังโตๆหน่อย ที่กะว่าขยี้ๆ แล้วไม่ล้นกระเด็นเลอะเทอะ ใส่น้ำพอท่วมใบย่านาง จากนั้นเริ่มขยี้จนสีเขียวหลุดจากใบมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ น้ำย่านางที่ได้จะสีเขียวเข้มและเป็นเมือกลื่นๆ จึงจะถูกต้องนะคะ เสร็จแล้วกรองแยกกาก ใส่หม้อรอไว้
– มาจัดการกับหน่อไม้กันต่อ ถ้าได้หน่อที่เผาก่อนต้มจะหอมมากๆค่ะ เลือกหน่อที่ต้มใหม่ ดมดูให้มีกลิ่นเฝื่อนนิดๆ อย่าให้มีกลิ่นเปรี้ยวโอ่ ใช้ส้อมขูดๆ ตามแนวยาวให้เป็นเส้นฝอย หากยาวเกินไปก็ตัดสักหน่อย ไม่อย่างนั้นจะลำบากตอนกิน ข้อไหนที่แก่เกินขูดผ่านตรงข้อลำบาก เราก็ใช้วิธีเลือกหั่นตรงที่อ่อนๆเป็นเเว่น ขูดเสร็จแล้วล้างน้ำเปล่าบีบจนสะเด็ดใส่ลงไปในน้ำย่านาง
– เห็ดขอนนั้นขาจะเเข็ง ใส่ทั้งดอกจะเคี้ยวยาก ล้างให้สะอาดแล้วฉีกเป็นริ้วตามต้องการ เรียบร้อยแล้วใส่ลงในหม้อหน่อไม้
– นำข้าวเหนียวที่แช่น้ำไว้มาตำจนเกือบละเอียด เรียกว่า “ข้าวเบือ” ใส่ในอาหารอีสานหลายอย่างเพื่อเพิ่มความข้นเหนียว หรือจะใช้ข้าวโพดข้าวเหนียวดิบมาตำแบบนี้แทนก็ได้ อร่อยอีกแบบ จะได้ความหวานนิดๆ
– ตำข้าวเบือจนแหลกพอใจแล้ว ใส่เกลือ หอมแดงและพริกลงไปตำด้วย พริกจะตำแค่ครึ่งเดียว ที่เหลือจะใส่เป็นลูกโดด ตำให้ละเอียดแล้วตักใส่หม้อไว้เลย
– ตะไคร้ทุบแล้วหั่นเป็นท่อน
– เราจะใส่ทุกอย่างที่เตรียมข้างต้นลงไปพร้อมกับปรุงรสให้เสร็จสรรพ ดังนั้น ในหม้อของเราจะมีน้ำย่านาง หน่อไม้ เห็ด ข้าวเบือที่ตกรวมกับพริกแล้ว พริกเม็ดที่เหลือ ตะไคร้ แล้วขาดไม่ได้ น้ำปลาแดก ชิมดูให้อ่อนเค็มไว้ก่อน
– คลุกเคล้าทุกอย่างให้เข้ากัน แล้วยกขึ้นตั้งไฟอ่อนๆ หมั่นคนไม่ให้ติดก้นหม้อ จนกว่าจะสุก
– ระหว่างนี้เตรียมเด็ด ล้าง ใบแมงลักไว้
– เมื่อดูว่าสุกดีแล้ว สีจะเข้มขึ้นไม่เขียวสดเหมือนตอนแรก พริกเม็ดนิ่มใสเป็นอันใช้ได้ ชิมรสดูก่อนถ้าอ่อนก็เติมน้ำปลาแดก เกลือหรือน้ำปลาก็ได้ ก่อนดับไฟใส่ใบแมงลักแล้วคนให้ทั่ว
อุหน่อไม้นี้เมื่อสุกแล้วเหนียวข้นเหมาะจะกินกับข้าวเหนียว ใช้ปั้นข้าวเหนียว คุ้ย(การใช้ปั้นข้าวเหนียวกับนิ้วโป้งหยิบกับที่เป็นชิ้นขึ้นมา)กินง่าย เป็นอาหารในวัฒนธรรมข้าวเหนียว ข้าวนึ่งโดยแท้
ใครชอบแกงเปอะหน่อไม้ รับรองต้องชอบอุหม้อนี้แน่ๆ ค่ะ