“ม่วงแต้เน้อ” มะม่วงแท้ ๆ จากบ้านขุนแจ๋ เชียงใหม่
แชร์
711
email-subscribers
domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init
action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /home4-ns1sg/food/domains/food4change.in.th/public_html/wp-includes/functions.php on line 6114jetpack-boost
domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init
action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /home4-ns1sg/food/domains/food4change.in.th/public_html/wp-includes/functions.php on line 6114แชร์
711
711
หมู่บ้านขุนแจ๋ ตำบลแม่แวน อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่มีประชากรราว ๆ 200 หลังคาเรือน อาชีพเพาะปลูกพืชผักผลไม้เมืองหนาวและมีการปลูกมะม่วง สายพันธุ์มหาชนก สายพันธุ์น้ำดอกไม้สีทองเป็นหลัก จะปลูกเสริมด้วย สายพันธุ์ปาล์มเมอร์ อาร์ทู และ จินหวง รวม ๆ แล้วมีการปลูกมะม่วงมากกว่า 500,000 ต้น
ธนกร แสนลี่ ชื่อเล่น จีน คือคนรุ่นใหม่ในหมู่บ้านขุนแจ๋ ครอบครัวของเขาก็มีอาชีพเช่นเดียวกันกับคนในหมู่บ้าน คือปลูกผักส่งให้กับโครงการหลวงแม่ปูนหลวง (หน่วยสามลี่) และปลูกผลผลไม้เมืองหนาวชนิดต่าง ๆ ที่สำคัญก็มีการทำสวนมะม่วงควบคู่ไปด้วย บ้านขุนแจ๋ มีการปลูกมะม่วง 80 % ของหมู่บ้าน มะม่วงส่วนใหญ่จะส่งไปขายต่างประเทศ ปริมาณการส่งออก 100 ตันต่อปี สายพันุ์ของมะม่วงที่ส่งออกไปขายต่างประเทศคือ มะม่วงสายพันธุ์มหาชนก และ สายพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง เพราะเป็นที่ต้องการของตลาด
ธนกร เขาคือลูกครึ่งระหว่าง จีน-กับชาติพันธุ์ลีซอ ในหมู่บ้านมีการสอนภาษาจีนด้วยธนากร จึงสามารถสื่อสารภาษาจีนได้ ด้วยภาษานำทางทำให้เขาเคยไปขายแรงงานที่ประเทศไต้หวันกินค่าแรงเดือนละ 30,000 บาท อยู่ต่างแดนนานสองปี เขาก็ต้องกลับบ้านเกิดเพราะติดคัดเลือกทหาร และการกลับบ้านหลังปลดทหารคือจุดเริ่มต้นของการสานต่อการปลูกพืชเมืองหนาวของครอบครัวเต็มตัว ด้วยการปลูกผลไม้เมืองหนาวหลากหลายชนิดพร้อม ๆ กับการทำตลาดทางออนไลน์ และคิดต่อยอดการแปรรูปมะม่วงตกเกรดที่มีอยู่จำนวนมากในชุมชน
ธนากร เล่าว่าเขาจะใช้ต้นตอของมะม่วงแก้วขมิ้นเพราะมีรากแก้วแล้วหาอาหารได้เก่ง หลังจากนั้นประมาณ 2 ปี ผมก็จะเอาพันธุ์มะม่วงที่ตลาดต้องการสูงราคาดีมาเสียบยอด ในพื้นที่บ้านขุนแจ๋ อากาศหนาวกว่าที่อื่น จึงทำให้มะม่วงเจริญเติบโตได้ช้า หลังจากเสียบยอดได้ 3 ปี ถึงจะได้เก็บเกี่ยวผลผลิต หลังจากเก็บเกี่ยวแล้วต้องแต่งกิ่งทุกปี
ด้วยอากาศที่หนาวเย็นทำให้มะม่วงโตช้าแต่นั่นไม่ใช่ข้อเสีย เพราะการที่สภาพอากาศเย็นทำให้มะม่วงบ้านขุนแจ๋ จะออกผลผลิตช้ากว่าที่อื่น ๆ ส่งผลให้มะม่วงมีราคาสูงกว่าพื้นที่ปลูกปกติถึง 3 เท่าตัว ปีนี้มะม่วงน้ำดอกไม้สีทองบ้านขุนแจ๋ ราคาอยู่ที่ กิโลกรัมละ 120 บาท ขณะที่พื้นที่ปลูกปกติ ราคามะม่วงจะอยู่ที่ 35 บาท ต่อกิโลกรัม
แม้มะม่วง เมืองหนาวในหมู่บ้านขุนแจ๋ จะมีราคาสูงแต่ก็มีมะม่วงจำนวนมากที่ขายไม่ได้เพราะมะม่วงสุกงอมเกินไปและจะเกิดความเสียหายในระหว่างขนส่งไปขายต่อ มะม่วงใกล้สุกหรือผลไม่สวยก็ไม่สามารถนำไปขายได้ ชาวสวนก็นำไปเททิ้งข้างทาง หรือไม่ก็นำไปใช้ในการเลี้ยงสัตว์
ธนกร จึงมองว่ามะม่วงตกเกรดในแต่ระปีจะถูกทิ้งจำนวนมาก เขาคิดว่าน่าจะมีวิธีการเพิ่มมูลค่าให้กับมะม่วงประเภทนี้ ธนกร จึงหาข้อมูลวิธีนำมะม่วงสุกไปแปรรูป จากอินเตอร์เน็ต และจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ เท่าที่หาได้ กระทั่งได้ข้อสรุปและทดลองนำมะม่วงมาอบแห้ง ด้วยวิธีธรรมชาติ ภายใต้ชื่อ “มะม่วง แต้ เน้อ”
ธนากร เขามีอาชีพเป็นนายหน้าติดต่อซื้อมะม่วงในหมู่บ้านอยู่แล้วจึง เข้าถึงมะม่วงได้แทบทุกสวนที่มีอยู่ในชุมชน เขาจะขอซื้อมะม่วงที่ชาวบ้านจะคัดทิ้งในราคาถูก แล้วนำมะม่วงล้างทพำความสะอาด ก่อนจะบ่มในที่ร่ม เพื่อให้มะม่วงสุกจนงอมได้ที่เพื่อให้มะม่วงเกิดหวานเองตามธรรมชาติ จากนั้นจะนำมะม่วงมาล้างน้ำทำความสะอาดอีกรอบ นำมาปอกเปลือกให้เหลือแต่เนื้อมะม่วงสีเหลืองทอง จากนั้นนำมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ตามขนาดที่ต้องการ เรียงใส่ตะแกง แล้วเอาเข้าตู้อบโดยไม่ปรุงรสหรือใส่วสารกันบูด เมื่ออบจนได้ระยะเวลา ก็จะนำมะม่วงมาคัดชิ้นที่ไม่สวยออก จากนั้นจึงบรรจุถุง พร้อมส่งขายได้เลย
“เมื่อก่อนอบมะม่วงเสร็จผลก็ใส่ถุงตามตลาดที่หาซื้อมา ไม่มีโล่โก้ไม่มีอะไร ผมก็ส่งไปให้ลูกค้าตามสภาพ กระทั่งมีคนรู้จักชักชวนให้เข้าร่วมเรียนรู้ packaging ของไบโอไทย ที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยทางไบโอไทยจะมีนักออกแบบมืออาชีพมาออก packaging ให้ครับ ซึ่งผมก็คิดว่า packaging มีความสำคัญไม่แพ้ตัวสินค้าเพราะคนจะซื้อหรือไม่ก็อยู่ที่ บรรจุภัณฑ์ที่ต้องมีความน่าสนใจ สามารถติดต่อย้อนหลังกลับมาที่ต้นทางที่ผลิตได้ ซึ่งอนาคตผมจะคิด ออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดคุณค่าทั้งตัวสินค้าและบรรจุภัณฑ์ครับ” ธนากร
วันนี้การเพาะปลูกพืชผักผลไม้เมืองหนาว ในพื้นที่หมู่บ้านขุนแจ๋ ยังคงเป็นเกษตรเคมีซะส่วนใหญ่ ธนากร เองเขาก็ยังไม่หันมาปลูกแบบอินทรีย์ 100% แต่อยู่ในช่วงศึกษาเรียนรู้ที่จะเปลี่ยนวิถีการทำเกษตร เขามองว่าตลาดของพืชผลทางการเกษตรแบบปลอดสารเคมียังแคบ เพราะการสนับสนุนจากรัฐบาลมีน้อยเกินไป แม้ว่าปัจจุบันช่องทางการขายผลผลิตจะเปิดกว้างมากขึ้นจากโลกออนไลน์ แต่ผู้ซื้อก็ยังจำกัดอยู่เฉพาะวงแคบ ๆ การจะให้เกษตรกรหาตลาดเองเป็นเรื่องยากเพราะลำพังการเพาะปลูกก็ถือเป็นงานที่ยุ่งยากพอสมควรแล้ว แต่เขาเองก็จะพยายามเรียนรู้จากกลุ่มเพื่อนที่ทำเกษตรอินทรีย์ แล้วสามารถขายผลผลิตได้มีตลาดรองรับ เพื่อปรับเปลี่ยนพื้นที่ของตัวเองให้เป็นแปลงอินทรีย์ 100% ให้ได้ในอนาคต
ขณะเดียวกันด้วย ธนากร ที่สามารถอ่านเขียนภาษาจีนได้เขามองไปถึงอนาคต หากสินค้ามีคนสนใจจำนวนมาก ก็อาจจะยกระดับทำการส่งออกมะม่วงอบแห้งที่มีกระบวนการผลิตแบบอินทรีย์ ตั้งแต่ขั้นตอนการปลูกไปจนถึงการแปรรูป ภายใต้ชื่อ “มะม่วง แต้ เน้อ” ของตัวเองไปขายที่ประเทศจีนและอื่น ๆ พร้อมกับสร้างงานให้กับคนในชุมชนไปด้วย