Cook It Yourself

ปลาร้าหลน กับ BB

แชร์

76

76

และแล้ว วันนี้สายๆ ก็ได้ไปเดินตลาดสดบางบัวทองจะไปซื้อลูกเดือยมาต้มกับฟักเขียวให้กับเพื่อนที่นอนป่วยที่บ้านพี่ป้อม แต่มาถึงตลาดแล้ว มีหรือจะได้กลับไปแค่สิ่งจูงใจ ที่เรียกมา

มองหา ปลาช่อนสดๆ ในตลาดแบบนี้ยังพอหาได้ ราคาแพงกว่าปลาเลี้ยงตัวใหญ่ๆ นั่นหน่อย แต่กินอร่อยกว่ากันเยอะ

ได้ปลาแล้วจึงตามหามะพร้าวขูด กระชาย พริกหยวก และมะกรูด

มะกรูดที่บ้านเอาต้นมาปลูก 5 ปี คนขายว่าเพาะเมล็ด … ป่านนี้ยังสูงไม่พ้นเอวเลย

เอาปลาร้ากระดี่ที่ได้มาจากตลาด เขียวสุรินทร์หลนบนไฟ เนื้อ กลิ่น ของมันเจือจางเกินไป จึงเติมปลาร้าปลากระดี่ที่ได้จ ากตลาดบางบัวทองเพิ่มลงไป ดูท่าน่าพอใจแล้วปล่อยให้มันค่อยๆ เดือดบนเตาไฟอ่อนๆ ไว้เสียอย่างนั้น

คั้นกะทิดีกว่า

แยกหัว กับหาง ไว้คนละส่วน

ปอกหอมแดง ล้างผัก แล้วจัดเตรียมไว้เพื่อปรุง

เครื่องปรุง : ปลาช่อนนาหั่นชิ้น , หอมแดงบุบ 10 หัว , พริกหยวก 5 – 7 เม็ด หั่นท่อน , กระชายหั่นแว่าน , ผิวมะกรูด 1/2 ลูก ซอยหยาบ , ลูกมะกรูด 1 ลูก ผ่า 8 ส่วนที่ไม่มีปรากฎในนี้แต่ต้อง มี คือ ปลาร้าปลากระดี่ , มะขามเปียก และกะทิ

ปลาร้าที่หลนไว้เอามากรองแล้วเท ใส่ลงในหม้อหางกะทิ ตั้งไฟต้ม ใส่มะขามเปียก ผิวและผลมะกรูด กับหอมแดงลงไป

กลิ่นหอมของปลาร้า คลุกเคล้ากะทิ และเครื่องแกง ช่างเย้ายวน ชวนน้ำลายสอ

เดือดพลั่ก พลั่ก !!!

ใส่ ชิ้นปลาช่อน เรงไฟกลางๆ ไม่นานเท่าไหร่ ก็เืดือดอีกที ทันใจ

ใส่พริก กระชาย และ หัวกะทิ

เดือดครั้งนี้สักแป๊บเดียวก็ปิด เตา

น่าตาปลาร้าหลนทรงเครื่องตอนเพิ่งปิดเตาไฟ

เนื้อกับน้ำของเมนูชามนี้ ถ้าแม่ทำให้กินจะมีหน่อไม้ลวก กับมะเขือเปาะร่วมด้วยหมูสับ กับกุ้งสับ ทุกคราวไป

เตรียมปอกแตงไทลูกอวบ เนื้อเย็นแน่นวางข้ามชาม แล้วตักปลาร้าหลนลงชาม

อูย…

จะเอาไปให้ข้างบ้านช่วยกิน เลยปะหน้าด้วยพริกขี้หนูสวนเอา ไว้ ่าตาพอใช้นะเนี่ย

กลางวันวันนี้ มีแค่นี้แหละ สวรรค์ในบ้านแท้ๆ อิอิ

กินหมดจานแล้ว ล้างปาก ล้าง คาวด้วยเจ้านี่

บังเอิญวันนี้ได้มา โล ละ 100 เชียว

กั้นใจซื้อมา 50 บาท

แม่ค้าบอกว่า ล้างให้สะเด็ดน้ำแล้วใส่กล่องเก็บแช่เย็นกินได้นาน

ลูกหว้า black berry ที่มีสาร antioxidant สีม่วงแดงจนเกือบดำ อันอุดมไปด้วย anthocyanidins ซึ่งมีฤทธิ์ปกป้องเซลล์ที่ถูกทำลาย ป้องกันสมองเสื่อม และเพิ่มภูมิคุ้มกัน แบบนี้ จะมีให้เรากินไปถึงเมื่อไหร่น้อ…

กินไปก็สับสนไป

จะดีใจที่ราคามันแพง เพื่อเป็นแรงจูใจให้คนปลูกอยากจะเก็บมันไว้

หรือว่าเสียใจเพราะว่าคงจะไม่ค ่อยให้เราได้กินมันบ่อยๆ เท่าไหร่

ครั้นจะปลูกไว้รอกินเองก็จนใจ
ไม่ทีที่ว่างจะปลูกมันไว้ ก็ต้องทำใจ

ปีน้า และปีต่อๆ ไป คงจะมีมาให้กินอีกแหละ .. ในฤดูนี้

บ่าย 5 พ.ค. 53

ที่มา : http://www.facebook.com/note.php?note_id=114684455234174&comments=

เรื่องโดย

บุญตา วนานนท์

นักคิด นักเขียนที่สนใจ อาหาร เกษตร สิ่งแวดล้อม