ซุปหน่อไม้ กับข้าวจี่ไข่กระทะ
แชร์
127
แชร์
127
127
สวัสดีอีกครั้งนะครับผม ช่วงฤดูฝนอย่างนี้มีผลผลิตจากธรรมชาติมากมาย ซึ่งก็เป็นวัตถุดิบประจำฤดูการที่ทำให้เราได้รับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติรอบๆตัวเรา และในฤดูฝนอย่างนี้วัตถุดิบอย่างหนึ่งที่มีผลผลิตมากๆนั่นก็คือ “หน่อไม้” นั่นเอง ในช่วงที่ผ่านมาได้กลับเข้าไปที่ไร่ของตัวเองก็พบว่ามีหน่อไม้อยู่เต็มกอจึงจัดแจงเก็บหน่อไม้เหล่านั้นมาต้มกับน้ำและเกลือเพื่อนำมาฝากเพื่อนๆและญาติๆที่อยู่ในกรุงเทพและยังมีส่วนหนึ่งที่เหลือจากการแบ่งปัน นำมาใช้ในการทำเมนูวันนี้ด้วยครับ ซึ่งเมนูที่ผมจะทำในวันนี้ก็คือ“ซุปหน่อไม้”.
สิ่งที่ต้องใช้สำหรับเมนูซุปหน่อไม้
– หน่อไม้ไผ่รวกสดประมาณ 5-6 หน่อ- ใบย่านาง- ข้าวคั่ว- พริกป่น- น้ำปลาดี- มะนาว- ข่า, ตะไคร้, ใบมะกรูด, ใบหม่อน (สำหรับใช้ในการคั่วข้าวคั่วและพริกป่น)- ปลาร้าปลาตัวเล็กๆ 2-3ตัว (ท่านใดไม่ทานไม่ต้องใส่ก็ได้ครับ)- ต้นหอม, ผักชีฝรั่ง- เกลือ
วัตถุดิบครบแล้วลงมือทำกันเลยดีกว่าครับ
– เริ่มต้นจากนำหน่อไม้ไปต้มหรือเผา(ตามสะดวกครับ) พักไว้ให้เย็นนำมาปอกเปลือก แล้วขูดด้วยไม้แหลม ช้อนส้อม ให้เป็นเส้นๆ นำไปล้างน้ำและคั้นน้ำทิ้งสักหนึ่งครั้ง- คั้นน้ำใบย่านางโดยนำใบย่านางนำไปตำให้ละเอียดผสมน้ำเปล่าหนึ่งถ้วยกรองด้วยตะแกรงเอาเฉพาะน้ำจากนั้นนำน้ำใบย่านาง หน่อไม้ไปและปลาร้าที่เราเตรียมไว้นำต้มประมาณครึ่งชั่วโมงพักไว้ให้เย็น- ระหว่างที่หน่อไม้เย็นตัวเรามาทำข้าวคั่วและพริกป่นกัน โดยตั้งกระทะให้ร้อนใส่ข้าวเหนียวและสมุนไพรต่างๆลงไปซึ่งทำให้ข้าวคั่วหอมและมีรสกลมกล่อมมากขึ้น ส่วนการทำพริกป่นเราก็จะทำวิธีการเดียวกันกับการทำข้าวคั่ว หลังจากคั่วเสร็จก็นำไปปั่นหรือตำให้เป็นผงเราก็จะได้ข้าวคั่วและพริกป่นสมุนไพรไว้ใช้ทำอาหาร- เริ่มต้นปรุงโดยนำหน่อไม้ใส่ภาชนะ ใส่ข้าวคั่ว พริกป่น น้ำปลา มะนาว คลุกให้เข้ากัน จากนั้นใส่หอมและผักชีฝรั่งซอยลงไป ตักใส่จานทานข้าวเหนียวกับผักสดต่างๆ (ในภาพเป็นใบขนุน ใบมะยมและแตงไทยอ่อน)
*แถมท้าย การทำข้าวจี่ด้วยกระทะเริ่มต้นจากนำข้าวเหนียวนึ่งมาปั้นเป็นก้อนขนาดประมาณเหรียญ ๑๐ บาท ใช้มือกดให้แบนนำไปชุบไข่ที่ตีให้เข้ากันแล้วนำไปจี่ในกระทะที่ฉาบน้ำมันบางๆ จี่ให้เหลืองสวย ทานคู่กับซุปหน่อไม้อร่อยมาก.**เกร็ดเล็กๆส่งท้าย- ควรใช้ใบย่านางที่ไม่อ่อนและแก่เกินไป- ข้าวคั่วไม่ควรปล่อยให้ไหม้ควรคั่วแค่พอเหลืองและมีกลิ่นหอม- การปรุงรสซุปหน่อไม้ที่รสพอดีไม่ควรใส่พริกเผ็ดเกินไป- การปรุงรสเปรี้ยวและเค็มควรใส่ให้ทั้งสองอย่างเท่ากันอย่างเช่น ใส่น้ำมะนาวหนึ่งช้อนชาก็จะต้องใส่น้ำปลาในการปรุงเท่ากัน
**เกร็ดเล็กๆส่งท้าย- ควรใช้ใบย่านางที่ไม่อ่อนและแก่เกินไป- ข้าวคั่วไม่ควรปล่อยให้ไหม้ควรคั่วแค่พอเหลืองและมีกลิ่นหอม- การปรุงรสซุปหน่อไม้ที่รสพอดีไม่ควรใส่พริกเผ็ดเกินไป- การปรุงรสเปรี้ยวและเค็มควรใส่ให้ทั้งสองอย่างเท่ากันอย่างเช่น ใส่น้ำมะนาวหนึ่งช้อนชาก็จะต้องใส่น้ำปลาในการปรุงเท่ากัน