แกงจืดดอกทุเรียนยัดไส้หมูสับ
แชร์
244
email-subscribers
domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init
action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /home4-ns1sg/food/domains/food4change.in.th/public_html/wp-includes/functions.php on line 6114jetpack-boost
domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init
action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /home4-ns1sg/food/domains/food4change.in.th/public_html/wp-includes/functions.php on line 6114แชร์
244
244
เมื่อช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา มีโอกาสได้ติดตามคณะอาจารย์ปิยะศักดิ์ ชอุ่มพฤกษ์ จากภาควิชาพฤกษพันธุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ลงพื้นที่สำรวจสวนทุเรียนพื้นบ้านดั้งเดิมที่บ้านสะเนพ่อง ต.ไล่โว่ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี
พวกเราค่อนข้างโชคดีที่ทุเรียนกำลังดอกบานสะพรั่ง สิ่งที่ทีมงานต้องการเพื่อนำไปศึกษา จำแนกพันธุ์ทุเรียน เพื่อให้ได้คำตอบว่าทุเรียนที่ปลูก กิน ขาย กันอยู่เดี๋ยวนี้ มีความเป็นมาอย่างไรบ้าง ก็คือดอกทุเรียนที่สมบูรณ์และใบทุเรียน เพื่อเพิ่มเติมความรู้จากที่เราได้ทำงานกันในพื้นที่สวนละอองฟ้า นครนายกจนพิมพ์ออกมาเป็นหนังสือ “ทุเรียนสวนเรา” แล้ว
จากคำบอกเล่า ของพี่น้องกะเหรี่ยงโผล่ว บ้านสะเนพ่อง ได้ความว่า ต้นทุเรียนบางต้นเก่าแก่ชนิดที่ว่าเกิดมาก็เห็นแล้ว แต่ละต้นก็รสชาติต่างๆ กันไป บางต้นให้เนื้อทุเรียนสีแดง ชมพู เหลือง ขาว รสหวานมัน เนื้อบาง อย่างทุเรียนบ้าน กว่าจะได้กินก็ต้องรอร่วงเท่านั้น
ภาระกิจของเราก็คือแหงนคอตั้งบ่าหาช่อดอกทุเรียน สำหรับต้นที่ปลูกใหม่ไม่ใหญ่มากก็เป็นงานสบายๆ ออกดอกเต็มต้น แต่สำหรับต้นเก่าแก่ขนาดใหญ่มากๆ ช่อดอกอยู่สูงลิบ จนเราต้องอาศัยหน่วยกล้าปีน หรือที่สูงมากๆ ความหวังที่จะได้ช่อดอกทั้งช่อแทบไม่มีเลย จนต้องลดความคาดหวังมาเก็บเอาตอกที่ร่วงแล้วเท่านั้น
ระหว่างที่เราเก็บดอกทุเรียนพ่อเจ้าของสวนก็เปรยให้เราฟังว่า พี่น้องกะเหรี่ยงโผล่วฝั่งพม่านะ เค้าจะเก็บดอกทุเรียนไปกิน ทั้งส่วนที่เราเรียกว่าหม้อตาล และเกสรดอกทุเรียน ถ้าได้มากๆ ก็ตากแห้งเอาไว้กินด้วย เอาไปผัดไปแกง เราได้ยินอย่างนั้นก็ตาลุกวาว แล้วก็เริ่มต้นเก็บหม้อตาลและเกสรทุเรียนที่เร่วงเต็มพื้น และเรามั่นใจเต็มที่ว่าปลอดภัยเพราะสวนทุเรียนที่นี่ไม่ใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าหญ้าฆ่าแมลงเลย เย็นนี้เราก็เลยมีเมนูทดลองจากดอกทุเรียนกินกัน
แกงจืดดอกทุเรียนยัดไส้
วัตถดิบ : หม้อตาลดอกทุเรียน หมูสับ กระเทียม พริกไทย รากผักชี ต้นหอมผักชี เกลือ น้ำปลา
วิธีทำ
– เอาหม้อตาลดอกทุเรียนที่เก็บได้มาล้างแล้วผึ่งให้สะเด็ดน้ำ
– โขลกกระเทียม พริกไทย รากผักชี กับเลือ แล้ว นำหมูสับมาโขลกลงไป
– นำหมูสับที่ปรุงไว้ยัดลงไปในหม้อตาลตอกทุเรียน
– ตั้งน้ำให้เกือบเดือดแล้วนำหม้อตาลดอกทุเรียนยัดไส้ค่อยๆ ใส่ลงไป
– คุมไฟให้พอปุดๆ ไม่เดือดพล่านน้ำแกงจะไส ไม่ขุ่น
– ปรุงรสด้วยเกลือและน้ำปลา ตักใส่ชามโรยด้วยหอมผักชี รสอ่อนๆ ซดคล่องคอ
หม้อตาลดอกทุเรียนเมื่อสุกแล้วเนื้อจะกรุบๆ รสหวานน้อยๆ กัดเข้าไปเจอหมูสับนุ่มๆ กินเพลิน 🙂